กลุ่ม ปตท. โดย บริษัท พีทีที ดิจิทัล และ RISE นำสตาร์ทอัพ 15 ทีม จากทั่วโลก เข้า Bootcamp ในโครงการ D-NEXT by PTT Digital X RISE ในไทย 3 เดือน ยันหลังจบโครงการ นักพัฒนา ต้องได้รายได้ ไม่ใช้แค่เพียงนำเสนอโครงการ….
หลังจากกลุ่มปตท.เปิดตัว Accelerator Program ภายใต้ชื่อโครงการ D-NEXT by PTT Digital x RISE ดำเนินการโดยบริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด (PTT Digital) ผู้ให้บริการด้านดิจิทัลในกลุ่ม ปตท. ร่วมกับ RISE สถาบันเร่งสปีด นวัตกรรมองค์กร
และสตาร์ทอัพระดับภูมิภาค ล่าสุด ได้เปิดตัวเหล่าสตาร์ทอัพที่คัดเลือกหวังเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับสู่การเป็นธุรกิจดิจิทัลชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
D-NEXT by PTT Digital X RISE
นายแพทย์ ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้ก่อตั้ง RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร และสตาร์ทอัพ กล่าวว่า เรา ได้เดินหน้าจัดตั้งโครงการ D-NEXT ขึ้นมา เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพ จากทั่วโลก เข้ามาสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่องค์กรไทย โดยตลอดระยะเวลา 2 เดือน
เราได้ออกไปโรดโชว์ ใน 5 ประเทศ ซึ่งจากการออกไปเฟ้นหา และนำเสนอ แต่หลังจากที่เราเปิดตัวโครงการกลับมีนักพัฒนาที่สนใจเข้ามาร่วมสมัครกว่า 300 ทีม จาก 22 ประเทศ ซึ่งเราได้คัดเลือกนักพัฒนาด้วยหลักเกณฑ์ 3 ด้าน ได้แก่
1.โซลูชั่นนั้นเหมาะกับประเทศไทยแค่ไหน มีการพัฒนาต่อเนื่องหรือไม่ 2.เคยมีการนำโซลูชั่นทำตลาดในประเทศใดมาแล้วหรือไม่ และ 3.มีทีมงานที่พร้อมหรือไม่ ไม่ใช่ว่าทำแล้วหายไป ซึ่งร่วมไปถึงความเชี่ยวชาญเป็นรายบุคคล ว่ามีความสามารถ และความเชี่ชาญในด้านเทคโนโลยีที่นำเสนอมาหรือไม่
ซึ่งจากการคัดเลือกเราได้มา 15 ทีม จาก 7 ประเทศ (ไทย, สหรัฐ, ฟิลิปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาหลี และสิงค์โปร์) ซึ่งเราจะนำทั้งหมดเข้ามาอบรมในประเทศไทยในลักษณะ Bootcamp เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
โดยแต่ละทีมมาจากหลายๆ อุตสาหกรรม อาทิ Cleantech, Energy Optimization, Predictive Maintenance ไปจนถึง Industrial IOT, Data Analytics, Lifestyle, HRTech, Saas, CRM, Fintech, Blockchain, Cyber Security, Artificial Intelligence และ Edtech
ซึ่งเมื่ออบรมแล้วจะมาดูว่าแนวคิด นั้นจะสามารถเข้าไปต่อยอด กับกลุ่มธุรกิจของ ปตท. ในส่วนใดได้บ้าง ซึ่งอาจจะจบในแง่มุมของการร่วมทุน ได้หากโซลูชั่นนั้นตอบโจทย์ความต้องการได้ ซึ่งการจัด Bootcamp ของเราแตกต่างจากสิ่งที่ผู้ทำโครงการพัฒนาสตาร์ทอัพที่เฟ้นหา และให้เงินลงทุน
แต่เราจะทำให้นักพัฒนาได้เงินหลังจากเข้าร่วมโครงการ โดยการทำ Bootcamp ของเราจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ด้วยกัน ได้แก่ ระยะแรก เรียนรู้ตลาดไทย ระยะสอง พาเข้าไปเจอลูกค้า และร่วมมือกับ ปตท ระยะสาม ทดสอบ และลงมือใช้จริง ทำงานร่วมกับลูกค้าจริง และระยะสี่ คือการทำสัญญา และเริ่มต้นทำธุรกิจในไทย
โดยจากการที่ทางภาครัฐให้ความสนับสนุนในเรื่องของสิทธิพิเศษทางภาษี (Smart Visa) ทำให้เหล่านักพัฒนาทั่วโลกเริ่มสนใจตลาดไทยมากขึ้น ซึ่งหลังจากอบรม นวัตกรรมไหนที่ได้รับคัดเลือก จะได้รับการสนับสนุน จาก ปตท. และเหล่าพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ของไทย
ร่วมไปถึงพาทเนอร์ระดับโลก อาทิ กูเกิล คลาวด์, อะแมซอน เว็บเซอร์วิส, ร่วมถึงแกร็บที่จะเข้ามาอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งเรายังมีพาทเนอร์อีกหลายๆรายที่เข้ามาร่วมสนับสนุนทำให้เกิดนวัฒกรรม โดยพาทเนอร์ที่มีนั้นมีทั้งในรูปของหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่สนับสนุน และภาคเอกชนที่ต้องการช่วยผลักดัน
สำหรับเราแล้วการพัฒนาสตาร์ทฮัพ ไม่ใช่การพัฒนา เฉพาะ รายใหม่ หรือรายใหญ่ แต่ต้องพัฒนาทุกส่วน การที่มีโครงการพัฒนาสตาร์ทอัพเยอะ อย่างเช่นที่หลายองค์กรพยายามทำ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับเรานั้น เราต้องการต้องการผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถสร้างผลกระทบ และผลักดันประเทศได้
เพราะจะช่วยให้ประเทศพัฒนาได้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สนับสนุน รายใหม่ เพียงแต่ในการโครงการนี้เราต้องการสร้างแรงขับเคลื่อน มากกว่า การรอให้เกิด เราไม่สามารถรอให้นักพัฒนาหน้าใหม่เติบโตมาทันต่อความต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กร
ทั้งนี้เพื่อก้าวสู่การเป็นธุรกิจดิจิทัลชั้นนำในอนาคต ในโครงการฯ จะมีการจัดให้สตาร์ทอัพได้พูดคุยร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแต่ละผลงาน เพื่อเป็นการพัฒนาของสตาร์ทอัพให้พร้อมในทุกด้านสู่เป้าหมายการต่อยอดธุรกิจในประเทศไทย ต่อไป
ซึ่งเมื่อจบโปรแกรม Bootcamp แล้ว จะมี Demo Day ในเดือนกรกฎาคม 2561 เพื่อเป็นการเปิดตัวสตาร์ทอัพทั้ง 15 ทีมสู่สาธารณะ และให้ VCs และผู้ที่สนใจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้ชื่นชมผลงานนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจ ต่อไป
15 ทีม ที่จะเข้า Boot Camp
เทคโนโลยีควบคุมและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ที่กลุ่มงานด้านอสังหาหาริมทรัพย์ใช้งานมากที่สุดและรองลงมาเป็นกลุ่มงานด้านพลังงาน โดยระบบจะสามารถบันทึกและวิเคราะห์ค่าสถิติการลดใช้พลังงานได้ถึง 40% ซึ่งทาง BBP จะคิดค่าบริการจากสัดส่วนที่ลูกค้าสามารถประหยัดพลังงานได้
แพลตฟอร์ม ที่ช่วยแก้ไขปัญหาการศึกษาทั้งในประเทศไทย และในกลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มเขียนโปรแกรมครั้งแรกในเดือนมกราคม 2561 โดยทำงานเป็นตัวกลางระหว่างคุณครูและนักเรียน รวมถึงเป็นสื่อศูนย์กลางการกระจายเผยแพร่วิชาการ และเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมการจัดการที่ได้รับรางวัลด้านการจัดการบำบัดน้ำและของเสีย โดยเป็นโซลูชันสำหรับการกำจัดและการบำบัดสารปนเปื้อนอินทรีย์จากอุตสาหกรรมน้ำมันและน้ำเสียซึ่งจะผสานรวมเข้ากับกระบวนการบำบัดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนอกจากนี้ยังใช้วัสดุเหลือใช้จากชีวมวล (Biomass) เพื่อผลิตเทคโนโลยีคาร์บอนแอร์โรเจล (Fiber Aerogel) ที่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีด้าน IoT และ Machine Learning มุ่งเน้นการลดปัญหาการใช้งานที่ซับซ้อน โดยได้ร่วมมือ
กับสถาบันพลังงาน (NTU) เพื่อพัฒนาระบบที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรมอาทิเช่นเรื่องระบบการจัดการพลังงานภายในอาคาร อุตสาหกรรมการผลิต ศูนย์ข้อมูล และ Smart Cities เพื่อนำไปสู่การบริหารผลการปฏิบัติงานของสินทรัพย์ในองค์กร (Asset Management Performance) ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อบ่งชี้พลังงานที่สูญเสียไปได้ภายในไม่กี่วินาที และยังช่วยให้การใช้อุปกรณ์พลังงานมีปริมาณและความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆได้แบบเรียลไทม์
ระบบวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้ผ่านระบบการจดจำใบหน้าและการวิเคราะห์อารมณ์ โดยสามารถดึงข้อมูลทำการวิเคราะห์เชิงลึกได้แบบเรียลไทม์ เพื่อการโฆษณาที่ตรงกลุ่มในกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมด้านทองคำ ที่ทำให้การซื้อขายทองคำเป็นเรื่องง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม HelloGold เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถซื้อขายและแลกเปลี่ยนทองคำด้วยระบบการเก็บรักษาที่ปลอดภัยโดยใช้ระบบ Blockchain
ซอฟต์แวร์แป้นพิมพ์อัจฉริยะเหมาะสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือ สามารถทำธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมทางการค้า ผ่านการสื่อสารทางแชทหรือ Social Media โดยใช้งานผ่านแป้นพิมพ์นี้
ระบบโซลูชันรักษาความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบริการภาครัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันทางการเงินและหน่วยงานต่างๆ
โซลูชันด้านเทคโนโลยี ที่มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางด้าน AI &IIoT ซึ่งดูแลภาคอุตสาหกรรมโดยให้บริการระบบการจัดการเครื่องจักร ผ่านระบบAIในการวิเคราะห์และสามารถหาข้อผิดพลาดได้ก่อนเครื่องจักรจะมีปัญหา
เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการขายและบริการการจัดการ Lead (ลูกค้า) ที่สามารถแจ้งสถานะปัจจุบันของลูกค้าได้อัตโนมัติผ่านระบบออนไลน์ผู้ขายโดยตรงผ่านการสื่อสารบนสมาร์ทโฟนและสามารถส่งข้อมูลของลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการบริการไปให้ผู้ดูแลอื่นได้หลังจาก 45 วินาที
แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ plug-play ที่สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างชาญฉลาดโดยใช้ระบบ AI ในการบริหารข้อมูลในองค์กร
แพลตฟอร์มการการจัดการผ่านสมาร์ทโฟนที่ออกแบบมาเพื่อการบำรุงรักษาและการทดสอบมาตรฐานอุปกรณ์
ภายในโรงงาน
โซลูชันที่อำนวยความสะดวกในการจัดการแรงงาน และระบบการรักษาความปลอดภัย ที่ไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ในออฟฟิศหรือนอกสถานที่ ก็สามารถจัดการงานต่างๆได้จากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟน
แพลตฟอร์มด้านไลฟ์สไตล์ที่สามารถเชื่อมโยงผู้คนได้ โดยจะทำให้สมาชิกได้รับสิทธิ์พิเศษต่างๆ อาทิ ตั๋วภาพยนตร์ การเข้าไปใช้บริการในสถานที่ต่างๆ ในระดับพรีเมี่ยมทั้งในประเทศไทย และเวียดนาม
แอปพลิเคชันที่รวมการเล่นเกมกับการรับรางวัลแบบเรียลไทม์โดยสามารถสร้างความสนุกสนานในการทำงานช่วยกระตุ้นและสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้พนักงาน
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่