Intelligent Health Care Technology

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรโลกจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากอันเป็นผลมาจากพฤติกรรมมีลูกน้อยลงประกอบกับการที่เรามีอายุเฉลี่ยยืนขึ้น ทำให้เริ่มมีความต้องการนำเอาเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาประยุกต์ใช้เพื่อดูแลสุขภาพของคนสูงวัย ได้รอบด้านมากขึ้น เพื่อก้าวสู่ยุตที่เรียกว่า Intelligent Health Care Technology นั่นเอง

Intelligent Health Care Technology อนาคตสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้สูงวัยในเอเชียตะวันออก

ทอมมี่ เหลียง ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออก และญี่ปุ่น กล่าวว่า ในเอเชีย เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ก็ส่งผลให้เกิดความต้องการจากผู้ให้บริการเฮลธ์แคร์ในภูมิภาคพุ่งสูง

ในแง่ของบริการด้านการดูแลรักษาทางแพทย์คุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จากรายงานของธนาคารโลกเผยว่า ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีผู้มีอายุสูงวัยเร็วกว่าภูมิภาคใดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้ที่อายุเกิน 65 ปี คิดเป็น 36 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก (211 ล้านคน)

Intelligent Health Care Technology
ทอมมี่ เหลียง ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออก และญี่ปุ่น

โดยประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ถูกพิจารณาว่ามี ผู้สูงอายุที่ชรามาก ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรสูงอายุเติบโตเร็วมาก ยังได้แก่ ประเทศจีน อินโดนีเซีย ไทย และเวียตนาม โดยต่อไปในอนาคตก็จะมีเรื่องของโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดความต้องการหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งปกติก็จะถูกจำกัดด้วยงบประมาณและการขาดแคลนทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่สูงวัยมากขึ้น จำเป็นต้องมีการมุ่งเน้นหาทางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันต้องปรับปรุงเรื่องของความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ป่วยควบคู่กันไป

ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเข้ากับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ ทั้งนี้ระเบียบวาระการประชุมเรื่อง ยุทธศาสตร์ระดับโลกเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์เพื่อการดูแลสุขภาพ : คนทำงานในปี 2030 (Global Strategy on Human Resources for Health: Workforce 2030)

ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและเสริมสร้างระบบสุขภาพแห่งชาติในยุค บิ๊กดาต้า (Big Data) ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลในปัจจุบัน ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยมากกว่าอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ทั่วไปถึง 3 เท่า

จึงนับเป็นการเพิ่มภาระด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการออกแบบสิ่งก่อสร้างแห่งใหม่ หรือ การขยายโรงพยาบาลก็ตาม สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานดูแลสุขภาพและโรงพยาบาล ต่างต้องเผชิญกับภาวะแรงกดดันที่ต้องดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้วยทรัพยากรที่น้อยลง นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการพิจารณาการลงทุนในเทคโนโลยีโซลูชันด้านเฮลธ์แคร์อย่างรอบคอบ เพื่อมอบคุณภาพการดูแล ความปลอดภัยของคนไข้ การรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาล ตลอดจนผลลัพธ์จากการทำงานของพนักงานในโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น

สร้างอนาคต กับโรงพยาบาลที่พร้อม

Intelligent Health Care Technology
Look at how much we improved this year

โรงพยาบาลที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีที่สุด จะต้องรองรับการนำอุปกรณ์ทันสมัยที่ซับซ้อนมาใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระบบบิวด์-อิน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ และความล้มเหลวทางเทคนิค

อีกทั้งต้องจัดให้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยในการรักษาพร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ในการทำงาน ซึ่งคำตอบก็คือระบบโครงสร้างดิจิทัลของเฮลธ์แคร์ ที่เรียกว่า อีโคสตรัคเจอร์สำหรับเฮลธ์แคร์ (EcoStruxure for Healthcare) ซึ่งใช้เทคโนโลยีล่าสุด ได้แก่

  1. การเชื่อมต่อและความฉลาดแบบฝังตัว
  2. การควบคุมแบบอัจฉริยะ การบริหารจัดการ และระบบอัตโนมัติ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด
  3. การบริการดิจิทัลบนคลาวด์ ทั้งนี้ EcoStruxure for Healthcare จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นระบบประสาทส่วนกลางของโรงพยาบาล โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT) ใน 3 ระดับ ได้แก่ การเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ควบคุมและการมอนิเตอร์ รวมไปถึงแอปพลิเคชั่นและการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อสร้างประสิทธิภาพได้ตลอดทั่วทั้งองค์กร เป็นการสร้าง ความพร้อมสำหรับอนาคต ให้โรงพยาบาล

การรวมโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะและการเพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสารระหว่างระบบงานดั้งเดิมที่แตกต่างกัน นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมให้ผลตอบแทนจากการลงทุน จากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT)

เช่น เซ็นเซอร์อุณหภูมิ มิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ควบคุมอาคารในระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ระบบระบุพื้นที่แบบเรียลไทม์และอื่น ๆ โดยอุปกรณ์ที่ให้ความสามารถด้าน IoT เหล่านี้ ให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ระบบควบคุมและสมองกลแบบฝังตัว ให้ความสามารถในการมอนิเตอร์และควบคุมการทำงานผ่านคลาวด์ ตลอดจนการวิเคราะห์ขั้นสูง

ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ โดยข้อมูลที่รวบรวมผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น พร้อมปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น โซลูชันที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางคลินิกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแชร์สถานะการใช้ห้องผู้ป่วยและห้องผ่าตัด

ด้วย ระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System หรือ BMS) ซึ่งจะตั้งค่าห้องเพื่อให้สามารถกำหนดค่าการทำงานล่วงหน้าสำหรับระบบปรับสภาวะอากาศที่เหมาะสม (HVAC) รวมไปถึงแสงสว่างระหว่างที่ห้องว่าง เพื่อการประหยัดพลังงานในช่วงที่ห้องไม่มีการใช้งาน

ทั้งนี้ ระบบบริหารจัดการอาคารจะจัดการระบบต่างๆ ให้กลับสู่การทำงานตามปกติ เมื่อได้รับการแจ้งเตือนว่าผู้ป่วยจะกลับมา หรือในเวลาที่ห้องถูกกำหนดให้รักษาสภาพแวดล้อมในระดับที่เหมาะสมสำหรับการรักษาและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ

ในประเทศสิงคโปร์ มีตัวอย่างที่น่าสนใจถึงวิธีการทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีอัจฉริยะสามารถให้บริการด้านสุขภาพเติบโตและสนองความต้องการของผู้ป่วย เห็นได้จากการนำโซลูชั่นการจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center Infrastructure Management หรือ DCIM) ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

มาใช้ในระบบนวัตกรรมดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Healthcare Innovation Systems หรือ IHIS) ซึ่งโซลูชันดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนวัตกรรมดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ เป็นไพร์เวทคลาวด์ด้านสุขภาพ หรือ H-Cloud

ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ไซโลไอทีรุ่นเก่าและเป็นแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นรองรับการเกิดภัยพิบัติ สำหรับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 6 ระบบสุขภาพในภูมิภาคของประเทศสิงค์โปร์ ทั้งนี้การประเมินที่จัดทำขึ้นอย่างอิสระโดย PwC ชี้ให้เห็นว่าระบบคลาวด์ด้านสุขภาพ

จะช่วยประหยัดเงินได้หลายล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสิบปีข้างหน้า กลุ่มโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะลดค่าใช้จ่ายลงได้เกือบ 55 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับค่าใช้จ่ายตามปกติทั่วไปภายในปี 2568

ปรับปรุงการดูแลผู้สูงอายุ และให้ประสบการณ์ที่ดีขึ้น

Intelligent Health Care Technology

  1. การเข้าถึงไฟฟ้า หรือ ไฟฟ้าดับ หมายถึงความแตกต่างระหว่าง ความเป็น และความตาย และมีต้นทุนเฉลี่ยมากว่า 1 ล้านเหรียญ สำหรับโรงพยาบาล 200 เตียง
  2. อุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และการติดเชื้อในโรงพยาบาล ยังคงคร่าชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่ามีผู้ป่วยติดที่เชื้อในโรงพยาบาลในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 7–46%

ข่าวดีก็คือถ้ามีการป้องกันที่เหมาะสม จะสามารถลดอุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและการติดเชื้อในโรงพยาบาล ตลอดจนความผิดพลาดทางการแพทย์และพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยได้

การทดสอบระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟฉุกเฉินแบบอัตโนมัติ ช่วยลดผลกระทบจากความผิดพลาดของมนุษย์ โรงพยาบาลสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วยและลดความเสี่ยงทางการเงินจากความผิดพลาด และการฟ้องร้องจากการเสียชีวิต

นอกจากนี้ระบบอัตโนมัติยังช่วยให้แน่ใจว่าถึงการดำเนินการที่สอดคล้องตามกฎระเบียบ รวมถึงการออกรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับ และกฎระเบียบ

เพื่อลดความจำเป็นในการดูแลบุคลากร และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการดำเนินงาน โรงพยาบาลสามารถใส่ความเป็นอัจฉริยะเข้าไปในระบบระบายอากาศ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนไข้ รวมถึงเรื่องการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม ระบบอัจฉริยะดังกล่าวจะสามารถมอนิเตอร์ และดูแลได้โดยอัตโนมัติ

ทั้งเรื่องความชื้น การระบายอากาศ ความดันอากาศ รวมไปถึงการกรองอากาศแบบ HEPA (High-efficiency particulate absorption) ในแบบเรียลไทม์ พร้อมมั่นใจถึงการควบคุมระบบเหล่านี้ได้ตามข้อกำหนดด้านการออกแบบ

สำหรับผู้ให้บริการเฮลธ์แคร์แล้ว การมอบประสบการณ์การมีส่วนร่วมของคนไข้ ในเชิงบวก และการให้บริการคุณภาพสูงนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ตัวอย่างเช่น รายได้ประจำปีของโรงพยาบาล 120 ล้านเหรียญ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย และทำให้เห็นถึงรายได้ประจำปีที่เพิ่มขึ้นมา จากประมาณ 2.2 ล้านเหรียญ เป็น 5.4 ล้านเหรียญ

ความปลอดภัยของผู้ป่วย เริ่มที่รากฐานเป็นอย่างแรก ทั้งรากฐานทางกายภาพของระบบอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล เมื่อคนเราเริ่มชรา และประสบปัญหาโรคเรื้อรังมากมายมายรุมเร้า จำเป็นต้องอาศัยกระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลรักษาทั้งในโรงพยาบาล คลินิก รวมถึงที่บ้าน

 

Intelligent Health Care Technology
Doctors examining x-rays in video conference

ในงานปฏิบัติการส่วนหน้า ต้องทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเฮลธ์แคร์ ทำงานได้ดีขึ้นและฉลาดมากขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานสามารถปลดล็อคอุปสรรคในเรื่องของเงินทุน

โดยช่วยให้โรงพยาบาลมีกำไรมากขึ้น หรือเพื่อนำไปใช้สนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ป่วยให้ครบทุกองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลอย่างมากในการลดต้นทุน และช่วยปรับปรุงในเรื่องของการยึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลาง (patient-centric) ได้อย่างจริงจัง

โดย 54% ของผู้บริหารด้านเฮลธ์แคร์ได้จัดอันดับในเรื่องประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญสามอันดับแรก เช่นเดียวกับความพร้อมของโซลูชั่นอัตโนมัติ ที่ให้ศักยภาพด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเฮลธ์แคร์อัจฉริยะ

ซึ่งโรงพยาบาลที่พร้อมสำหรับอนาคต อาจกลายเป็นความจริงที่แพร่หลายภายในไม่ช้า แทนที่จะเป็นแค่แนวคิดเชิงทดลอง การนำระบบโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชั่นอันชาญฉลาดมาใช้ จะช่วยให้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกมีรากฐานที่มั่นคงในการปฏิรูปอนาคตด้านสุขภาพและการดูแลทางสังคมให้กับผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เชื่อว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะคือคำตอบ และเป็นโซลูชันที่ทำให้องค์กรด้านเฮลธ์แคร์สามารถประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่วันนี้

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่