ในยุคปัจจุบันปัญหา เรื่องของการว่างงาน เริ่มเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บริษัทฯ และองค์กรต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนจากการสรรหา “คน” ที่มีความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวเปลี่ยนเป็นการหา “คน” ที่สามารถเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดกระบวนการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น

“ดิจิทัล” มาแต่ “ทักษะ” ไม่พร้อม…

อย่างที่ทราบกันดีว่าวันนี้เรื่องของการใช้เทคโนโลยี เข้ามาแทนที่ “คน” (Human) เริ่มเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากขึ้น เนื่องจากมีความแม่นยำกว่า และมีความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยกว่าการใช้แรงงานคน ที่มักจะก่อให้เกิดความผิดพลาด จากความประมาท ไม่ละเอียดรอบคอบ ฯลฯ อีกหลายเหตุผล ที่ทำให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ไม่ต้องการใช้บริการทักษะของ “คน”

อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างจะถูกเปลี่ยนเพียงแค่ชั่วข้ามคืน เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะสามารถทดแทนความสามารถของ คน ได้ หลากหลาย แต่บางทักษะเทคโนโลยี ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้ อาทิ ทักษะที่ต้องอาศัยจินตนาการในการคิด และสร้างสรรค์ เป็นต้น

แต่ที่น่ากังวล คือ ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานต่ำมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันกลับกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเข้าขั้น “ร้ายแรง” โดยจากการเปิดเผยจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ในเดือน ม.ค.2561 มี 37.79 ล้านคน

พบว่า มีงานทำ 37.07 ล้านคน และว่างงาน 474,600 คน เมื่อเทียบเดือนม.ค.2560 ที่มีคนว่างงาน 449,000 คน หรือเพิ่มขึ้น 26,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ธ.ค.2560 มีผู้ว่างงานอยู่ที่ 363,900 คน เท่ากับว่าเพียง 1 เดือนมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 110,700 คน

ตัวเลขนี้สะท้อนแนวโน้มเรื่องของความต้องการแรงงานในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต แม้ดูเหมือนว่าวันนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่จะมีทักษะในด้านการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ รวมไปถึงโซเชียลมีเดีย ฯลฯ อีกมากมาย แต่ทักษะเหล่านั้นเป็นเพียงทักษะของการใช้งานในเรื่องส่วนตัว หรือเพื่อความชื่นชอบส่วนตัวเพียงเท่านั้น หาใช่ “ทักษะทางด้านดิจิทัล” (Digital Skill) ที่จะช่วยให้ยกระดับการทำธุรกิจ หรือเพิ่มมูลค่าในการแข่งขันได้

เพราะทักษะทางด้านดิจิทัลไม่ใช่แค่การใช้อุปกรณ์ หรือซอฟต์แวร์ และมันมีองค์ประกอบหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น การ รับ-ส่ง จดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันจนชินว่า อีเมล (E-mail) ที่หลายคนยังใช้ส่ง ไฟส์เอกสาร หรือส่งรูป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทักษะการใช้อีเมล มีอะไรมากกว่าแค่เครื่องมือ เพราะไม่ใช่แค่ส่งแต่ต้องเข้าใจพฤติกรรม ที่เปลี่ยนไป เช่น วิธีการส่งที่เหมาะสม การ cc, bcc หรือการแนบไฟล์ต่าง ๆ ที่วันนี้ยังมีหลายคนที่ใช่อย่างไม่ถูกวิธีอยู่มาก

เนื่องจากจริง ๆ แล้วทักษะดิจิทัลมันมีเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญมากกว่าการใช้เครื่องมืออีกมาก ทุกวันนี้การที่นโยบาย Digital Economy ไปไม่ถึงไหน ส่วนหนึ่งก็ติดที่ทักษะด้านที่เข้าใจกันแบบผิวเผิน แต่เมื่อนำไปใช้จริงกับไม่สามารถใช้เครื่องมือไม่คล่องแล้วยัง รวมถึงการขาด “กระบวนคิดในเชิงดิจิทัล” (Digital Mindset) อีกด้วย

เพราะในปัจจุบันยังคงมีความคุ้นเคยในการใช้กระบวนการทำงานแบบเก่า ๆ อยู่ เช่น การใช้กระดาษพิมพ์เอกสารในการนำส่งงาน ในขณะที่ ตัวต้นฉบับเองก็อยู่ในรูปแบบไฟส์ดิจิทัลอยู่แล้ว และเมื่อมองไปที่นโยบาลรัฐบาลที่ชูเรื่อง “นวัตกรรม” (Innovation) ที่สามารถแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้ แต่ คน กลับไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างที่ควรเป็นกลายเป็นปัญหาที่สะสม ที่หาทางออกไม่ได้ในทันที

ทุกวันนี้องค์กรธุรกิจยุคใหม่ ส่วนใหญ่ กำลังอยู่ในช่วงของการปรับปรุงกระบวนงาน และแสวงหานวัตกรรม ที่จะสามารถแก้ปัญหา และลดอุปสรรค ในการดำเนินงานแบบเดิม ๆ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ก้าวไปในทิศทางเดียวกันกับโลกยุคปัจจุบันได้ ด้วยการเพิ่ม ความเชื่อมโยง คล่องตัว สะดวก การทำงานได้ไม่จำกัดเวลา หรือสถานที่ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วนั่นเอง

ดังนั้นวันนี้ หากเราต้องการที่ก้าวสู่ยุคดิจิทัล และเป็นที่ต้องการขององค์กร สิ่งที่ต้องทำคือการปรับตัวให้มีความรู้ ความสามารถ โดยยกระดับทักษะในการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ทันสมัยรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงต้องอัพเดตความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการยกระดับใช้ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูล และป้อนคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้การเป็นคนที่สามารถทำงานในองค์กรยุคดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดอยู่เสมอ

ทำไมจำเป็นต้องเพิ่มทักษะ และความสามารถใหม่ (Re-skill)

มาถึงตรงนี้คงมีหลายคำถามว่า แล้วทำไมจึงจำเป็นต้อง เพิ่มหรือเรียนรู้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ คำตอบของคำถาม หากเราต้องการที่จะสามารถแข่งขันได้อย่างหยั่งยืน และทัดเทียมกับนานาประเทศ การเพิ่มและพัฒนาทักษะ นั่นคือเรื่องสำคัญ

เพราะไม่ได้หมายความถึงแค่เพียงทำให้ ประเทศแข็งแกร่ง และเนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุคของการนำ ระบบคลาวด์ (Cloud) โมบาย (Mobile) โซเชียล มีเดีย (Social Media) บิ๊ก ดาต้า (Big Data) และประสบการณ์ด้านดิจิทัล (Digital experience) มารวมกัน และสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ทันทีทันใด

และแม้ว่าเรากำลังก้าวสู้โลกของการใช้ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence : AI) แต่ปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เหล่านั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันทีทีทันใด แต่อย่างไรก็เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นแรงฉุดที่รวดเร็วที่ช่วยให้บริษัทฯ ต่าง ๆ ต้องการหาวิธีทำงานที่เร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับบริษัทได้สะดวกมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของแผนกทรัพยากรบุคคล (Human Resources : HR) ในการแสวงหาคนที่มีทักษะพร้อม หรือไม่ก็ให้พนักงานทุกคนพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้เครื่องมือและกระบวนการใหม่ๆ เหล่านี้ได้

เพียงเท่านี้น่าจะสามารถสะท้อนภาพได้ว่าการที่มีทักษะย่อมหมายถึงโอกาสในชีวิตแต่บุคคลเลยทีเดียว เพราะยิ่งมีทักษะมากเท่าใด ย่อมหมายการที่ก้าวสู่การแรงงานที่เป็น แรงงานที่มีนวัตกรรม (Innovation Workforce) และ มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Workforce) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั่วโลก

ทักษะ ไอที ยิ่งมี ยิ่งไปไกล

การก้าวสู่การเป็น “คน” ที่มคุณภาพ และเป็นที่ต้องการสังคมในยุคของดิจิทัล นี้ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนา ทักษะทางด้านไอที อย่างน้อย 6 ด้าน ด้วยกัน

ทักษะแรก คือ การยกระดับความสามารถใน “การใช้เครื่องมือที่มีอยู่เทคโนโลยี” (Tools & Technologies) ต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถตามทันเทคโนโลยีได้ทันทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่อย่างน้อยสิ่งที่ต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเอง โดยอย่างน้อยต้องให้มีทักษะในด้านของความเข้าใจในพื้นฐานว่าเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น

ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) ว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร ความสามารถของเทคโนโลยี และข้อจำกัดคืออะไรอย่างไร และมีความสามารถการทำงานร่วมกันกับเครื่องมือทางเทคโนโลยีอื่น ๆ (Collaboration Tools) ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วในยุคปัจจุบันกับเทคโนโลยีที่เราเรียกว่า “อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์” (Internet of Things) หรือ ไอโอที นั่นเอง

ทักษะที่สอง คือ “การค้นหา และใช้งาน” (Find & Use) ทักษะของการค้นหา และนำไปใช้งานนี้ ไม่ใช่แค่เพียงการเข้าค้นข้อมูลจาก “กูเกิล” (Google) หรือ “เสิร์ชเอนจิน” (Search Engine) ต่าง ๆ ได้เพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงทักษะความสามารถในการที่จะนำไปวิเคราะห์ และตัดสินใจ นำข้อมูล ที่มีอยู่มากมาย ในโลกอินเตอร์เน็ตมาใช้งานได้อย่างมีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ โดยเข้าใจถึงลิขสิทธิ์ของข้อมูล และการนำไปใช้ อีกด้วย

ทักษะที่สาม คือ “การสอน และเรียนรู้” (Teach & Learn) ทักษะในด้านนี้ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถรู้ หรือเชี่ยวชาญเทคโนโลยีไปได้ทุกอย่าง จึงต้องจำเป็นต้องมีการแบ่งปันองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ กล่าวก็คือทั้งผู้เรียน และผู้สอน จำเป็นต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกต้องอยู่แล้วในระดับหนึ่ง

ซึ่งรวมไปถึงการใช้เครื่องมือในการนำเสนอ (Presentation Tools) ได้เป็นอย่างดี เพราะหากขาดความเข้าใจที่ดีแล้ว ก็นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แล้วยังอาจสร้างการเรียนรู้แบบผิด ๆ ไปเลยก็ได้ แต่แน่นอนว่าเราสามารถใช้หลักในการเปรียบเทียบ และประเมิน ทดลอง ผิดถูก จนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ซึ่งทักษะนี้ถือเป็นทักษะที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โดยเราสามารถเรียนรู้ได้จากหลากหลายช่องทาง เนื่องจากทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้ความรู้อยู่มาก ในรูปแบบ ออนไลน์ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบของ วีดีโอ (Vdo) ที่มีบอกทั้งวิธีการทำการตลาด (Marketing) หรือแม้แต่ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Science) ก็ยังมีให้เห็น ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง หรือลงทุนไปเรียนในต่างประเทศ

ทักษะที่สี่ คือ “การสื่อสาร และความร่วมมือ” (Communication and Collaborate) ทุกวันนี้เราคงยากที่ปฏิเสธการอยู่ในโลกของดิจิทัลได้ยาก เนื่องจากเทคโนโลยี ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งชีวิต และสร้างในเกิดสังคมใหม่ๆ ที่แบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ มากขึ้น และยิ่งเทคโนโลยีทำให้ทุกคนเชื่อมต่อกัน สื่อสารกันได้ง่ายขึ้น มากเท่าไร ย่อมหมายรูปแบบการทำงานย่อมเปลี่ยนแปลงแยกย่อย เป็นกลุ่มก้อน ที่มีความต้องการ ทัศนคติที่แตกต่างกันไปมากเท่านั้น

ดังนั้น คน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มในเรื่องทักษะในการทำงานแบบใหม่ ด้วยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล (E-mail) วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) วิกิ (Wiki) แมสเสจจิง (Messaging) และเครื่องมือทางเทคโนโลยี (Colloboration Tools) ในการการแชร์ข้อมูล เพื่อที่จะให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ทักษะที่ห้า คือ “สร้าง และนวัตกรรม” (Create and Innovate) วันนี้จากความก้าวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นที่ทำให้สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อการทำงานได้ดีมากขึ้น ทั้งในรูปของ ข้อความ รูปภาพ ซอฟต์แวร์ หรือบริการต่าง ๆ แต่ก่อนที่จะสามารถสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆได้นั่น เราอย่างยิ่งที่ต้องมีต้องมีทักษะในการสร้างเนื้อหาออกมาในรูปแบบของดิจิทัลได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

“ดิจิทัล อิมเมจ” (Digital Images) “กราฟฟิก ดีไซน์” (Graphics Design) ซึ่งยังอาจหมายถึงการเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) ด้วย เพราะเป็นทักษะที่สามารถหยิบเอาสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งจากภายใน องค์กร และภายนอก มาสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆได้ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นที่รู้จัก ก็คือ บริการแชร์ห้องพัก แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) และบริการแชร์รถยนต์อย่าง อูเบอร์ (Uber) ที่ไม่ได้ลงทุน แต่สามารถใช้สิ่งที่มีอยู่มาสร้างจนเกิดเป็นธุรกิจที่คนใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นต้น

ทักษะสุดท้าย คือ “อัตลักษณ์ และสุขภาวะ” (Identity & Wellbeing) ทักษะนี้ หากแปลความหมายตรงตัวอาจะเข้าใจไปได้ว่าคือเรื่องการแสดงตัวตน และเรื่องของการมีสุขภาพจิตใจที่ดี แต่ในความจริงแล้วมันหมายถึงการเข้าสู่โลกยุคดิจิทัล อย่างมีความปลอดภัย มากกว่า เพราะยิ่งเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากเท่าใด ย่อมหมายถึงการที่เราจะได้พบเจอกับความเสี่ยงต่อการใช้งาน

ซึ่งจากภัยคุกคามต่าง ๆ ทางด้านดิจิทัลมากขึ้น ด้วยนั่นเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เราจำเป็นต้องยกระดับทักษะ และความตะหนักรู้เท่าทัน ในเรื่องปกป้องข้อมูลตัวเอง และข้อมูลขององค์กร ตลอดจนการระมัดระวังในการเก็บ หรือตั้งรหัส ที่แสดงตัวตน ผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ และยังรวมไปถึงต้องมีความรับผิดชอบในการดูแล และป้องกันข้อมูลของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับเรา หรือบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน เพราะหากไม่มีทักษะในด้านนี้ ผลของความเสียหายรุนแรงมาก จนถึงขั้นที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบได้เลยทีเดียว

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะไม่ใช่ความฝันที่ไกลเกินจริง หากเราเริ่มที่จะยกระดับทักษะของตนเอง เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ได้รับทราบข้อมูลเชิงลึก และข้อมูล ที่ช่วยให้เข้าใจกระบวนการในสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งหากเราสามารถมีทักษะที่ดีมากเพียงก็ย่อมที่จะส่งผลให้เกิดความสามารถที่ดีที่สุดมาใช้งานได้

ทั้งนี้ ELEADER ได้จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ Digital Skill Transformation เพื่อให้นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปเข้าใจในโลกที่เปลี่ยนไป fh;p Digital Disruption กำลังเปลี่ยนโลกด้วยความเร็วสูง บางอาชีพเตรียมสูญพันธุ์ ขณะที่อาชีพใหม่ส่วนใหญ่ต้องอาศัยทักษะด้านดิจิทัล…เยาวชนไทยต้องปรับตัวให้ทัน พบกับงานสัมมนาที่ชี้ถึงแนวทางการศึกษาในอนาคต ต้องเรียนสาขาอะไร? ต้องมีทักษะอะไรบ้าง ค้นหาคำตอบได้ในงาน Digital skill & Future Job

สารถเข้าดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Commartthailand.com