ปัจจุบัน AI ได้ช่วยผลักดันให้ความคิดในการเตรียมตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และอาจช่วยเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกให้เติบโตได้เกือบ 23 ล้านล้านเหรียญ ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยังมีคือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคขวางกั้นการเจริญเติบโต
AI สร้างวัฏจักรเศรษฐกิจใหม่ และนิยามแห่งการเชื่อมโยงสื่อสาร
ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้ช่วยผลักดันให้นานาประเทศปรับเปลี่ยนกรอบความคิดในการเตรียมตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และอาจช่วยเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกให้เติบโตได้เกือบเท่าตัวหรือประมาณ 23 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2568
จากมูลค่าราว 12.9 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.1 ของจีดีพีทั่วโลก อย่างไรก็ตาม รายงานวิจัยชิ้นใหม่ของหัวเว่ยได้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI อาจเป็นอุปสรรคขวางกั้นการเจริญเติบโตครั้งนี้
รายงาน Global Connectivity Index 2018 (GCI) ซึ่งเผยแพร่มาเป็นปีที่ 5 นี้ พบว่าหลากหลายอุตสาหกรรมได้นำ AI มาผสมผสานกับเทคโนโลยีสำคัญต่าง ๆ ทั้งบรอดแบนด์, ดาต้าเซ็นเตอร์, คลาวด์, บิ๊กดาต้า และ IoT เพื่อปรับเปลี่ยนการเชื่อมโยงสื่อสารให้มีความอัจฉริยะ (Intelligent Connectivity)
และเอื้อให้นวัตกรรมต่าง ๆ ผลักดันให้เกิดคลื่นแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจลูกใหม่ ปัจจุบัน เศรษฐกิจดิจิทัลได้รับแรงขับเคลื่อนจากอินเทอร์เน็ตที่ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็มีอุตสาหกรรมจำนวนมากขึ้นที่อาศัยการเชื่อมโยงสื่อสารอัจฉริยะแบบใหม่ช่วยสร้างรูปแบบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ
และบริการใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้กราฟคะแนน GCI เติบโตเพิ่มขึ้นอีก พร้อมทั้งเปิดวัฏจักรใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย
นอกจากนี้รายงาน Global Connectivity Index 2018 ยังพบด้วยว่า การจะใช้เทคโนโลยี เอไอ ในสเกลใหญ่ให้ได้ประสิทธิภาพดีนั้น ประเทศทั้งหลายต้องมีความพร้อมในองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ศักยภาพในการประมวลผล ดาต้าที่เป็นหมวดหมู่ และอัลกอริธึ่ม
ปัจจุบันประเทศในกลุ่ม Frontrunner หรือประเทศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดใน 3 กลุ่มประเทศตามรายงาน GCI นั้น พัฒนาแซงหน้าประเทศในกลุ่ม Adopter และกลุ่ม Starter ในทั้งสามองค์ประกอบ เนื่องจากประเทศกลุ่มนี้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีที่ล้ำหน้ามากกว่า
ทว่าปัญหาความท้าทายสำคัญของทั้งสามกลุ่มประเทศในรายงาน GCI ก็คือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา เอไอ ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จำต้องคิดทบทวนเรื่องระบบการศึกษาเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสถานที่ทำงานในอนาคตที่จะถูกกำหนดโดย เอไอ
และเริ่มสร้างระบบนิเวศ เอไอ แบบเปิดที่แข็งแกร่งและสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถด้าน เอไอ ระดับสูงไว้ ซึ่งรายงาน GCI ในปีนี้ ได้ขยายขอบเขตการวิจัยจาก 50 ประเทศเป็น 79 ประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองที่มีการขยายขอบเขตการวิจัยนับจากครั้งแรกที่เริ่มต้นศึกษาในปี พ.ศ. 2558
โดยประเทศที่เพิ่งเข้ามาใหม่ในปีนี้ได้รับการแบ่งกลุ่มตามระดับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจซึ่งอิงจากคะแนน GCI แบ่งออกเป็นกลุ่ม Frontrunner 20 ประเทศ กลุ่ม Adopter 37 ประเทศ และกลุ่ม Starter 22 ประเทศ โดยผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่า เมื่อคะแนน GCI ของประเทศหนึ่งเพิ่มขึ้นถึง 35 คะแนน
และจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนด้านไอซีทีเติบโตขึ้นหลายเท่าตัว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ฟิลิปปินส์ ซึ่งในระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2560 ที่ฟิลิปปินส์มีการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหลัก ๆ ครอบคลุมประชากรเพิ่มมากขึ้น
ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ คะแนน GCI ของฟิลิปปินส์ได้ขยับขึ้นจาก 34 คะแนน เป็น 35 คะแนน และทำให้ประเทศฟิลิปปินส์ขยับข้ามจากกลุ่มประเทศ Starter ไปอยู่ในกลุ่ม Adopter ได้เป็นผลสำเร็จ
โดยปีนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่ทุกประเทศในรายงานนี้มีคะแนน GCI ดีขึ้น ทว่าการเติบโตของหลาย ๆ ประเทศในกราฟ GCI กลับไม่เท่าเทียมกัน ในปี พ.ศ. 2560 รายงาน GCI ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งเรียกแนวโน้มนี้ว่า ปรากฏการณ์แมทธิว
โดยประเทศในกลุ่ม Frontrunner เห็นว่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศอย่างต่อเนื่อง และทำให้ประเทศในกลุ่มนี้กลายเป็นผู้นำที่ยากจะต่อกรได้ และในปี พ.ศ. 2561 ความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัลในลักษณะของปรากฏการณ์แมทธิวก็ยังเห็นได้ชัดมากขึ้นด้วย
โดยเมื่อ เอไอ ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติจริงได้ ส่งผลให้ประเทศในสามกลุ่มข้างต้นมีโอกาสใหม่ ๆ ด้านเศรษฐกิจรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะงักงันในบางประเทศในกลุ่ม Frontrunner หรือปัญหาทรัพยากรอันจำกัดของประเทศในกลุ่ม Starter ก็ตาม
เทคโนโลยี เอไอ กำลังสร้างนิยามใหม่ที่จะระบุว่า “การเชื่อมโยงสื่อสาร” (Connectivity) ควรมีลักษณะเช่นไร และหันเหความสนใจมาที่การเชื่อมโยงสื่อสารอัจฉริยะมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทุกประเทศไขประตูไปสู่การเติบโตใหม่ๆ ได้
“ตอนนี้เรากำลังรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดที่เริ่มขึ้นจากเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์“
มร. เควิน จาง ประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดองค์กร ของหัวเว่ย กล่าวว่า รายงานการวิจัย GCI บ่งชี้ว่า ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าและเล็งเห็นโอกาสการเติบโตจากการพัฒนาไอซีที ได้ใช้การเชื่อมโยงสื่อสารอัจฉริยะเพื่อเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ
ในขณะเดียวกันประเทศที่กำลังพัฒนาก็กำลังมองหาวิถีทางที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อเร่งรัดแผนการเติบโตเชิงกลยุทธ์ของตนเองไปพร้อมกัน
โดยภายในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ตีพิมพ์รายงาน GCI หลายเล่ม ได้แก่ รายงาน GCI 2018 (Tap Into New Growth with Intelligent Connectivity), รายงาน Digital Spillover (Measuring the true impact of the Digital Economy) และรายงาน ICT Sustainable Development Goals Benchmark
*สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Global Connectivity Index 2018 ได้ที่ http://www.huawei.com/
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่