หลังจากที่สหภาพยุโรป (European Union : EU) ได้ออกกฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General Data Protection Regulation : GDPR) มาทำให้เกิดความสงสัยเป็นวงกว้างว่ากฏระเบียบดังกล่าวนั้นจะส่งผลอย่างไร ต่อการเลือกใช้เทคโนโลยี ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IoT, Data Analytics, AI หรือแม้แต่ Blockchain ที่กำลังเป็นที่สนใจกันอยู่ในปัจจุบัน สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้
ทุกวันนี้เทคโนโลยีได้ขยายพื้นที่ของการปฏิสัมพันธ์ ทำให้ทุกคนสามารถแบ่งปันข้อความ ภาพ ไฟล์ และแม้กระทั่งข้อมูลต่อนาทีในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ หรือที่ไหนก็ตาม ซึ่งถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีประโยชน์ แต่ในแง่หนึ่งก็อาจจะเปิดโอกาสให้มีคนเข้าถึงข้อมูลของคุณ และเอาไปใช้ในทางที่ผิดได้
เหตุใด กฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR) จึงสำคัญ และจำเป็นต่ออนาคตของเทคโนโลยี?
ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยี และคิดค้นเครื่องมือ ใหม่ๆ เพื่อเอาชนะต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความอดอยาก หรือแม้แต่สงคราม ซึ่งในบางครั้ง เทคโนโลยีบางอย่างก็นำพามนุษย์ไปสู่ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ไม่อาจกลับไปแก้ไขได้
แต่หลาย ๆ สิ่งทีเกิดขึ้น ก็เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้มนุษย์เติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยภาพรวมแล้ว มนุษย์ได้สร้าง และวางรากฐานที่ช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดบทกฎหมายทางด้านสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน สิทธิในทรัพย์สิน อันเป็นสิ่งที่จำเป็นในระบบประชาธิปไตย และยังรวมไปถึงการวางระบบการศึกษา
รวมถึงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จนกลายมาเป็นรากฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน อย่างไรก็ดีรากฐานเหล่านี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบตั่งแต่เริ่ม มันแค่ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาชีวิต และความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีการสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้น เพื่อตอบโจทย์คนสังคมในยุคใหม่
และวันนี้เรากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ เพื่อสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้นในเรื่องของความยั่งยืนด้านพลังงาน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในฐานะสาธารณูปโภครูปแบบหนึ่ง แต่ปัญหาใหญ่ที่ต้องคำนึงถึงคือ รากฐานในรูปแบบใหม่นี้ สามารถทำลาย ซึ่งกัน และกันได้ หากมีการแข่งขันเพื่อสร้างเติบโตปรับเปลี่ยนที่เร็วเกินไป
IT A Powerful Vulnerability
ทุกวันนี้ IT หรือเทคโนโลยี ได้เข้ามาปฏิวัติทุกอย่างไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งการปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) การใช้ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงต์ (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และบล็อกเชน (Blockchain)
โดยมีส่วนในการพัฒนาธุรกิจคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนมีต้นทุนทางสังคม (Social Cost) ทั้งสิ้น เราต้องยินยอมเสียอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการไม่ว่าจะเป็นปริมาณ คาร์บอนไดออกไซต์ ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ถ่านหิน เพราะมีการใช้พลังงานมากขึ้น
และรวมไปถึงเรื่องของ การสูญเสียความเป็นส่วนตัว ที่วันนี้กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคุกคามด้านเสรีภาพ และเรื่องที่น่าเศร้ากว่านั้นคือการสร้างศูนย์ข้อมูลที่เราหวังใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจ กลับกลายเป็นการสร้างช่องทางใหม่ให้นักโจรกรรมทางไซเบอร์ ในประเทศต่าง ๆ สามารถโจมตีทางไซเบอร์กันได้มากขึ้น
Defending Digital Consumers’ Personal Data
จากปัญหาที่กล่าวไป ทำให้เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการสร้าง กฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation) เป็นความพยายามอย่างจริงจัง ด้วยความหวังที่จะสร้างกฎ และบังคับ ใช้ระเบียบต่าง ๆ ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
เพราะไม่อยากให้การวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนั้นต้องเสียต้นทุนทางสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งกฎนี้มีผลบังคับใช้ตั่งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา และถึงแม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็เริ่มใช้โดยการมอบอำนาจให้อำนาจแก่พลเมืองของสหภาพยุโรป มีสิทธิในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตน
ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลข้อมูล จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบของ “จีดีพีอาร์“ อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ว่าระเบียบนี้จะเป็นการเพิ่มความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม
A Digitized World Powered by Data Centers
ระเบียบ GDPR ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการวางรากฐาน การเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล และก้าวสู่โลกที่ต้องเชี่ยมต่อกันมากขึ้น (IoT) หรือออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ก็จำเป็นต้องทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองจากการโจรกรรมข้อมูล และสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ต้องทำ
เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ระบบ และเทคโนโลยีองค์กรสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งหากปราศจากความไว้วางใจดังกล่าว อาจจะก่อให้เกิดปัญหาที่ขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และรูปแบบการนำไปใช้ในชีวิตจริง และจะสร้างปัญหาอื่น ๆ ให้ เกิดขึ้นตามมาอีกมาก
และหากไม่มีข้อบังคับของ จีดีพีอาร์ วันนี้อาจจะได้เห็นการทำลายสิทธิมนุษชนกันต่อไป โดยใช้เพียงคำกล่าวอ้างว่าต้องการพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่คงไม่สามารถยอมให้เกิดขึ้นได้อีกต่อไป
และถึงแม้ว่าปัจจุบัน จีดีพีอาร์ จะยังไม่สมบูรณ์ แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีการปรับปรุง และแก้ไขให้ดีขึ้น เนื่องจาก เริ่มมี กรณีของการฟ้องร้องด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวในเรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดแล้ว หากอยากจะปฎิวัติโลกด้วยเทคโนโลยี IoT , AI หรือระบบออโตเมชันต่าง ๆ ให้เกิดผลลัพธิ์ที่น่าพึงพอใจจริง ๆ
สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ พลเมืองอย่างเราจะต้องแน่ใจว่าจะไม่มีการสูญเสียต้นทุนทางสังคม หรือค่าใช้จ่ายในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลหากเราไม่ยินดี อีกต่อไป
บทความโดย
Patrick Donovan ที่มา : https://blog.schneider-electric.com/datacenter/2018/04/25/general-data-protection-regulation-necessary-key-tech-future/
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที และพิพัฒน์ เพิ่มผัน (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่