รถยนต์ไร้คนขับ

ปัจจุบันถึงแม้จะมีบริษัทยักใหญ่ด้านเทคโนโลยี และวิศวกรชั้นนำระดับโลกได้ระดมความคิดเพื่อสร้างรถยนต์ไร้คนขับ โดยหลายบริษัทอ้างว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะสมบูรณ์และพร้อมใช้งานไม่เกินปี 2020 แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่เราได้ อาจจะเป็นแค่รถยนต์ไร้คนขับที่ยังต้องพึ่งพาการควบคุมจากมนุษย์

เมื่อไม่นานมานี้ Baidu ได้ประกาศว่า บริษัทได้เริ่มผลิตรถมินิบัสแบบไร้คนขับด้วยจำนวน 100 คันแรกเป็นผลสำเร็จ และเตรียมนำมาให้บริการ แต่คุณอาจจะไม่เห็นรถเหล่านี้บนถนนในเขตชานเมืองหรือแม้แต่ทางหลวง นั่นเป็นเพราะรถโดยมินิบัสเหล่าไร้คนขับเหล่านี้ ถูกจำกัดไว้เฉพาะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ โดยเริ่มจากการให้บริการรถรับส่งไปรอบ ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และพื้นที่ที่อาจเป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่ จุดท่องเที่ยวธุรกิจและสนามบิน ซึ่งเห็นได้ชัด พวกเขายังจำกัดพื้นที่ในการให้บริการ  เพราะอะไร ?

ผลสำรวจจากการที่ได้สำรวจผู้ขับรถยนต์ พวกเขาต้องตัดสินใจมากว่า 160 ครั้งทุก ๆ 1.6  กิโลเมตร เพื่อดูกระจกหลัง ทำการเปลี่ยนเลน หรือคาดการณ์ทิศทางของรถยนต์คันหน้า แต่รถยนต์ไร้คนขับถูกโปรแกรมมาให้หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางโดยใช้เซนเซอร์รอบตัวรถเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นอย่างไรหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือ เหตุการณ์ที่หน่วยประมวลของตัวรถไม่เคยเจอมาก่อน ?

ในบางกรณีเทคโนโลยีก็อาจจะทำงานได้ดี เช่นเดียวกับเมื่อ Tesla X ที่ขับเคลื่อนในโหมดอิสระ ซึ่งคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถึงกระนั้นแล้วก็ยังมีความผิดพลาด เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน (ตามคลิป)

เช่นเดียวกับรถยนต์ไร้คนขับของ Uber ที่ยังมีข้อบกพร่อง เกิดเป็นเหตุการณ์น่าสลดที่คร่าชีวิตหญิงสาวในรัฐแอริโซนาขณะกำลังข้ามถนน โดยรถยนต์คันดังกล่าวก็มีผู้ควบคุมเป็นมนุษย์อยู่หลังพวงมาลัย แต่ทำไมยังเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ได้ ?

ในปัจจุบัน เยอรมันนี ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ กำลังทบทวนตัวบทกฎหมาย และจัดการความท้าทายเกี่ยวกับการนำรถยนต์ไร้คนขับมาใช้งานจริงในเมืองหลวง โดยหนึ่งในแนวทางที่เป็นประเด็นหลักคือ รถยนต์ไร้คนขับจะต้องเป็นอันตรายต่อคนน้อยที่สุดและรักษาชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะอาจจะหมายถึงการชนเสาไฟฟ้า หรือการชนสุนัขที่กำลังวิ่งข้ามถนน

ทั้งนี้ ได้มีการกำนด Level ของการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับออกมาว่า รถยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น จะอยู่ในระดับใด

โดยปัจจุบันการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับที่ก้าวล้ำที่สุด สามารถทำได้แค่ใน Level 4 นั่นหมายถึงการเอามาใช้จริงบนถนนหลาง  โดยยานพาหนะจะสู่โหมดการขับขี่ด้วยตนเองได้ในบางสภาวะเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการควบคุมการขับขี่อยู่

ความท้าทายของตลาดรถยนต์ไร้คนขับ

มีความท้าทายเกิดขึ้นเสมอในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เช่น ระบบจะรู้ได้ยังไง ? หากมีตำรวจกำลังส่งสัญญาณให้เราจอดผ่านเสียงไซเรน หรือเทคนิคพิเศษในการซอกแซกผ่านถนนที่วุ่นวายเพื่อให้เราไปเร็วขึั้น รวมทั้งต้องการคาดการณ์ทิสทางของคนขี่จักรยานและการเดินเท้าอีก เหล่านี้จะต้องมีความสามารถขั้นสูงด้าน AI  เข้ามาช่วย

แต่ความท้าทายก็เกิดขึ้นไหม ไม่มีทางที่รถยนต์ไร้คนขับจะสามารถเข้าถึงในตลาดแบบ Mass ได้ นั่นเพราะราคาที่สูงมาก ๆ  รถยนต์ธรรมดาที่ต้องการจะใส่ระบบ Self-driving เข้าไปจะต้องเพิ่มเงินอีก 100,000 เหรียญสหรัฐ ฯ หรือประมาณ 32 ล้านบาท เพื่อทำให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้ (แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ 100 % นะ ) แน่นอนว่าผู้บิรโภคทั่วไป ไม่เต็มในที่จะจ่ายแน่นอน

จะเห็นได้ว่าการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับจริง ๆ (Level 5) ยังเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลนัก เพราะที่เราเห็นในปัจจุบันยังต้องใช้มนุษย์เพื่อควบคุมในบางสถานการณ์ และระบบยังต้องเก็บข้อมูลอีกมาก เพื่อคาดคะเนสิ่งที่ต่าง ๆ ทั้งเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิด หรือ พฤติกรรมของผู้ใช้ถนนในแต่ละเมือง ซึ่งก็มีข้อแตกต่างกันออกไปอีก….

Credit : abacus