TRIS เดินเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารสู่รูปแบบ Unified Communications เต็มรูปแบบ แต่เต็มไปด้วยความปลอดภัยผ่าน Nutanix Enterprise Cloud OS หวังรวมความสามารถ เสียง ภาพ และข้อมูล เป็นระบบเดียว
TRIS เสริมแกร่งสู่การทำงานที่รวดเร็ว เสถียร และเชื่อถือได้
ดร. ไวฑูรย์ โภคาชัยพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด. กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ทริสได้ปรับโฉมสำนักงานใหม่ นโยบาย และเป้าหมายหนึ่งของเราคือการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้เรามุ่งสู่การเปลี่ยนระบบไอทีจากระบบดั้งเดิมทั้งหมดให้เป็นระบบดิจิทัลที่ทันสมัย
ความท้าทายหนึ่งคือเราต้องสร้างห้องดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ในพื้นที่ที่จำกัด บุคลากรจะต้องไม่กังวลกับการทำงานของระบบไอที มุ่งใช้เวลาสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของบริษัทได้มากขึ้น
และจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านทางไอทีให้สมบูรณ์ให้น้อยที่สุดคือภายในหนึ่งเดือน บุคลากรทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารได้ทุกช่องทาง ณ สำนักงานแห่งใหม่ และให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องไม่มีการหยุดชะงัก
ด้าน ศักดา พงศ์เจริญยง กรรมการผู้จัดการ ทริส เรทติ้ง กล่าวว่า ทริส เรทติ้ง ให้ความสำคัญในการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยสนับสนุนกระบวนการจัดอันดับเครดิต ช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆ ทำให้นักวิเคราะห์สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำ Unified Communications ทริส และทริสเรทติ้ง พิจารณาใช้ระบบ Skype Phone โดยเปลี่ยนการโทรแบบอนาล็อกทั้งหมดเป็นระบบ Session Initial Protocol (SIP) ผ่านระบบไร้สายความเร็วสูง ผสานรวมการสื่อสารทุกประเภทเข้ามาไว้บนระบบเดียว
เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และลดข้อจำกัดด้านการสื่อสารของพนักงาน เพื่อสร้างความแตกต่างในการให้บริการที่เป็นเลิศให้ลูกค้า
อรรณพ ดำรงพาณิชกิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัล โซลูชั่น บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด. กล่าวว่า เรื่องของการเปลี่ยนแปลงบริษัทฯ เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยระบบดิจิทัล ทุกวันนี้เชื่อว่าทุกองค์กรตระหนักว่าต้องเปลี่ยน และแน่นอนว่าเราเลยจุดที่เพิ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว
เชื่อว่าหลายๆที่ เปลี่ยนแล้ว แต่ปัญหาที่เจอคือ ระบบ หรือโซลูชั่นที่ใช้อยู่คือการใช้แบบไม่เต็มประสิทธิภาพกับที่องค์กรจ่ายไป อีกทั้งแบบ ลงทุนเอง และแบบเช่าใช้ จากผู้ให้บริการที่มีอยู่ในตลาด อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความล่าช้าจากในกรณี ปรับเปลี่ยนระบบ
ซึ่งฝ่ายไอทีขององค์กรต้องเจอระบบของหลาย ๆ ผู้ให้บริการ ที่ไม่เหมือนกัน และอาจกระทบต่อการทำงานได้ และหากเรามองเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจวันนี้ ความล่าช้า คือการทำให้ธุรกิจเสี่ยงต่อการแข่งขัน ซึ่งไม่ส่งผลดี ดังนั้นเราจึงเดินหน้ายกเครื่องระบบเดิม ของ บริษัท ทริส และบริษัท ทริส เรทติ้ง ใหม่ทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
และสร้างความรวดเร็วในการบริการลูกค้า ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขยาย ได้ตามต้องการ รองรับโซลูชั่นที่หลากหลาย ลดข้อผิดพลาด รวมถึงใช้งานง่าย แต่ต้องไม่ส่งต่อการใช้งานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนน้อยที่สุด ซึ่งเรามีลูกค้าที่ใช้บริการจากเราทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
อีกทั้งเรามีความต้องการย้ายสำนักงานของเราไปที่ใหม่ ทำให้เรามีโจทย์ว่าการยกเครื่องระบบให้สมบูรณ์ต้องไม่เกิน 1 เดือน โดยจากความท้าทายดังกล่าวเราได้ดูหลายเทคโนโลยีจากหลายผู้ให้บริการ ที่ตอบโจทย์ของเราได้
เราได้ทำการยกระบบการสื่อสาร (Unified Communictaions) ด้วยการใช้กับ Skype Phone เปลี่ยนการติดต่อสื่อสารที่เคยเป็นระบบอนาล็อกที่เคยต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ เวลา และงบประมาณในการปรับจูน ไปเป็นระบบการส่งข้อมูลเสียงหรือวิดีโอบนเครือข่าย IP (Session Initiation Protocol : SIP) บนระบบ Credit Rating Process ของเรา
ทำให้สื่อสารทั้งภาพเสียง รวมถึงข้อมูล ไว้บนระบบเดียว ผ่านระบบไร้สายความเร็วสูง ทำให้พนักงานสามารถสร้างความแตกต่างในการบริการลูกค้า และเมื่อใช้คู่กับโซลูชั่น เอ็นเตอร์ไพรส์ คลาวด์ (Enterprise Cloud) จากนูทานิคซ์ ที่เป็นระบบที่จะเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไปเป็นแบบ ไฮเปอร์ คอนเวิร์จ
ที่รวมเอาความสามารถในการบริการ เชิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และเวอร์ชวลไลเซชั่น ไว้ด้วยกันบนระบบ Credit Rating Process ของเรา ทำให้เราสามารถประหยัดพื้นที่วางตู้แร็คจากเดิมที่ใช้ 2 ตู้แร็คเหลือเพียงบล็อกเดียว (2U) โดยใช้เวลาติดตั้ง 10 เซิร์ฟเวอร์ ในเวลา 15 นาที อีกทั้ง ทำให้เราไม่ต้องใช้ฝ่ายไอทีดูแล เดต้า เซ็นเตอร์ และประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของระบบลงกว่า 40%
ระบบที่จะช่วยให้ลูกค้าใช้งานง่ายขึ้น
ด้าน ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการ นูทานิคซ์ ประเทศไทย กล่าวว่า ระบบของเราช่วยให้ลูกค้าใช้งานง่ายขึ้นเนื่องจากติดตั้งระบบเวอร์ชวล ไลเซชั่น ที่เรียกว่า นูทานิคซ์ ไฮเปอร์ ไวเซอร์ (Acropolis Hypervisor : AHV) ที่ไม่ต้องซื้อไลเซนส์ ไฮเปอร์ ไวเซอร์
ซึ่ง ทริส ได้ใช้เพื่อรองรับการใช้งาน Microsoft Cloud และSkype และเนื่องจากความสามารถในการทำงานบน Linux KVM ทำให้สามารถรองรับเวิร์กโหลดได้หลากหลาย และปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถดูแลจัดการแอพพลิเคชั่นทั้ง Private และ Public Cloud แบบรวมศูนย์ ซึ่งเราเรียกว่าระบบการดูแลแบบ “ปริซึม” (Prism)
ล่าสุด การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก กล่าวว่าวันนี้แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีความต้องการใช้เทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ กระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ
ดิจิทัลไลเซชั่น (Digitalization) ให้เร็วที่สุด โดยเทคโนโลยีที่ต้องให้ความสำคัญ ยังคงเป็น Cloud, Mobile, Social Media และBig Data ขณะที่ผู้บริหาร (CIO) และฝ่าย ไอที (IT) เองต้องเปลี่ยนแนวคิดจาก จาก “Designed to Last ” ไปสู่ “Designed to Change”
เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมๆ ที่มีความซับซ้อน และเป็นอุปสรรคกับการสร้างสรรค์บริการใหม่ขององค์กรหมดลง และสามารถดูแลได้แบบรวมศูนย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานบนอุปกรณ์แบบใดก็ตาม ซึ่งแนวโน้มนี้กำลังได้รับการคาดหวังว่าจะช่วยธุรกิจต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าการทยอยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม ๆ
ข้อมูล เกี่ยวกับ TRIS Corporation Limited (Our Achievements)
- เป็นที่ปรึกษาประเมินผลระบบการบริหารจัดการที่สำคัญ เช่น บทบาทคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ การกำกับดูแลที่ดี ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน ตลอดจนระบบบริหารสารสนเทศ ให้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจ กว่า 50 แห่ง เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานระบบการบริหารจัดการของเงินทุนหมุนเวียนของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาต กองทุนประกันสังคม เป็นต้น
- เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management Consulting) หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) เป็นต้น
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่