ซินโนโลยี (Synology) เล็งเห็นศักยภาพตลาด NAS ในประเทศไทย พร้อมประกาศการลงทุนต่อเนื่อง ตั้งเป้ายอดขายที่สูงขึ้นในปี 2018 สูงขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์
Synology ประกาศการลงทุน NAS ต่อเนื่อง ตั้งเป้าเฉลี่ยปีละ 20 เปอร์เซ็นต์
ซินโนโลยี หนึ่งในผู้นำด้านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย (Network Attached Storage หรือ NAS) ของโลก แถลงข่าวเปิดตัวระบบปฏิบัติการ DSM (DiskStation Manager) เวอร์ชั่นภาษาไทย รวมถึงเว็บไซต์ภาษาไทยที่จะเปิดตัวตามมาเร็วๆ นี้
เพื่อให้เข้าถึง และเหมาะสมกับผู้ใช้งานคนไทยได้ดียิ่งขึ้น ทีมงานระดับคุณภาพของซินโนโลยียังได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ไทยในการพัฒนาการระบบการบริการเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานในประเทศ
โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับเทรนด์สำคัญของเทคโนโลยียุคใหม่ ได้แก่ AI (Artificial Intelligence), HCI (Hyper-Converged Infrastructure) และ 5G เพื่อตอบโจทย์ในการใช้งานในปัจจุบัน พร้อมตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตทางรายได้ในประเทศไทยในปี 2018 สูงขึ้นอีก 50%
ซินโนโลยีก่อตั้งบริษัทในปี 2000 สร้างอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย โซลูชั่น IP Surveillance และอุปกรณ์เครือข่ายที่ปฏิวัติการเก็บข้อมูล Surveillance และการจัดการเครือข่ายในระบบคลาวด์ โดยในปัจจุบันซินโนโลยีจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์แล้วกว่า 5.5 ล้านชิ้น และวางจำหน่ายแล้วใน 100 ประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ NAS จากซินโนโลยียังได้รับรางวัล Reader’s Choice Award จากนิตยสาร PC ติดต่อกันนานถึง 8 ปี ยอดขายซินโนโลยีในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 20% ตั้งแต่วางจำหน่ายในปี 2015 ตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดประเทศไทย
ซินโนโลยี เชื่อมั่นว่าการเปิดตัวของระบบปฏิบัติการ DSM เวอร์ชั่นภาษาไทยล่าสุดนี้ รวมถึงเว็บไซต์ภาษาไทยที่จะเปิดตัวภายในไตรมาศ 3 ของปีนี้ และทีมการขาย และการตลาดในพื้นที่จะสามารถส่งผลให้บริษัทสามารถขยายตลาด และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากยิ่งขึ้นได้
ไมค์ เฉิน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของซินโนโลยี กล่าวว่า เราเล็งเห็นศักยภาพของตลาดประเทศไทยที่ต้องการโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์ของเราตอบโจทย์ ทั้งในส่วนของการใช้งานในบ้าน รวมถึงภาคธุรกิจและองค์กร
โดยการลงทุนของเราในครั้งนี้ต้องการส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงสินค้าและการบริการที่ดีที่สุดจากเราเพื่อสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทยในการพัฒนาธุรกิจ SME อย่างมีประสิทธิภาพ ซินโนโลยี ได้มุ่งมั่นพัฒนาอุปกรณ์เครือข่ายที่ปฏิวัติการเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยและปรับเปลี่ยนวิถีการจัดการข้อมูล
และเน็ตเวิร์คของผู้ใช้งานทั่วไทย เพื่อเป็นแรกผลักดันให้ประเทศไทยเร่งเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริงอุุปกรณ์เครือข่ายจากซินโนโลยีที่ปฏิวัติการเก็บข้อมูล ถูกขับเคลื่อนด้วย 3 เทรนด์สำคัญของเทคโนโลยียุคใหม่ คือ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI): กลไกที่จะช่วยให้เกิดการประมวลผลได้อย่างลึกซึ้ง ทั้งในระบบการอ่านค่าจากภาพหรือระบบการแยกแยะแบบอัตโนมัติ โดยได้ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีการเรียนรู้ขั้นสูง
และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดพัฒนาโซลูชั่น video surveillance อีกทั้งยังสามารถนำกลไก AI นี้มาช่วยในระบบสนับสนุนเพื่อพัฒนาด้านการบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Hyper-Converged Infrastructure (HCI): ซินโนโลยีได้สร้างและพัฒนา NAS โดยยึดระบบ Hyper-Converged Infrastructure คือการรวมเอาเซิร์ฟเวอร์, Storage และ Storage Network เข้าเอาไว้ด้วยกัน และยังได้ปล่อย Virtual Machine Manager Pro (VMM Pro) ล่าสุด
เพื่อช่วยให้ระบบบริการจัดการ Virtual เป็นไปได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งส่งผลดีแก่ธุรกิจขนาดเล็กได้เป็นอย่างมาก
5G: เป็นการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงบนคลื่น Bandwidth จำเพาะที่จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการแชร์หรือสตรีมข้อมูลมัลติมีเดียที่มีความละเอียดสูงให้ใช้งานได้ดีขึ้น ซึ่งต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องที่เพิ่มมากขึ้น โดยซินโนโลยีสามารถตอบโจทย์การใช้งานในส่วนนี้ให้กับผู้บริโภคที่ใช้งานบนอุปกรณ์มือถือได้อีกด้วย
ด้าน ทิม ไตรติลานันท์ ผู้จัดการฝ่ายการขาย กล่าวว่า บริษัทซินโนโลยีในปีนี้ ซินโนโลยีจะเปิดตัว Synology Replacement Service (SRS) ในประเทศไทย โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความยากลำบากในด้านการบริการเปลี่ยนอะไหล่และอุปกรณ์ให้กับลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งบริการนี้จะทำการจัดส่งอะไหล่ใหม่และจัดเก็บอะไหล่ที่เสียโดยไม่คิดค่าบริการอย่างสะดวกและรวดเร็วฉับไว ซึ่งบริการ Synology Replacement Service นี้จะเปิดให้บริการในประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2561 นี้เป็นต้นไป
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่