ฮิตาชิ (Hitachi) เผยโฉมแพลตฟอร์ม และศูนย์ “Lumada” ประกาศพร้อมเดินหน้าสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ยุคของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things : IoT) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน…
Hitachi Lumada IoT for Industrial
โตชิอากิ ฮิกะชิฮาระ ประธาน และเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮิตาชิ จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นคลาดสำคัญ และถือเป็นพื้นที่สำคัญอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยถือเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในโครงการระเบียงเศรษฐกิจของภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
และอย่างทีทราบกันดีว่าวันนี้เรื่องของเทคโนโลยี อินเทอร์เทอร์เน็ต ออฟธิงค์ (IoT) นั้นมีการเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย และเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
วันนี้ ฮิตาชิ จึงได้เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์ม “ลูมาดา” (Lumada) ซึ่งเป็นโซลูชั่นทางด้าน IoT ที่พัฒนามาจาก ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ได้
และช่วยทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ครอบคลุมทั้ง การผลิต พลังงาน การขนส่ง และโลจิสติกส์ ขณะที่ในส่วนของ ศูนย์ ลูมาดา ประจำภูมิภาคเอเซียตะวันออกฉียงใต้ นั้นเราเชื่อมั่นว่าจะสามารถสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืนได้
ซึ่งแนวทางที่เราจะใช้คือการใช้การร่วมกันสร้างสรรค์กับหุ้นส่วน ร่วมไปถึงช่วยยกระดับทักษะฝีมือของบุคลากรด้วยทั้งหมดเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเรา
หลังจากที่เราได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจของภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Office : EECO) ในด้านการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของโครงการ EEC
ด้าน โคะสุเกาะ โฮริรุจิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด กล่าวว่า ฮิตาชิจะใช้ IoT Lumada แพลตฟอร์ม ทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งหมายความรวมไปถึงการใช้กรณีศึกษา ที่ได้เคยนำเทคโนโลยี “ลูมาดา” ไปปรับใช้แล้ว ในประเทศญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีทางด้าน IoT กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย
เช่น การใช้ IoT ในสายการผลิต เพื่อทำให้เห็นกระบวนการในภาพรวม และวางแผนในการยกระดับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจก้าวสู่ประสิทธิภาพทางธุรกิจที่ดีขึ้น โดยลูกค้าสามารถเข้าเรียนรู้วิธีในการใช้เทคโนโลยี IoT ยกระดับการผลิตได้จากห้อง Co-Creation Room ซึ่งอยู่ภายในศูนย์ลูมาดา
นอกจากนี้ เรายังมีแผนที่ขยายศูนย์ลูมาดา นี้ไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อาเซียน ในอนาคต อีกด้วย เพื่อนำเสนอโซลูชั่น ที่ตรงกับความต้องการ และใช้งานได้จริง เหมาะสมกับธุรกิจในประเทศต่าง ๆ
ด้าน โยชิโตะ โคดะมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า วันนี้ ฮิตาชิ ได้สานต่อการสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการจัดตั้งศูนย์ ลูมาดา ขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา
โดยศูนย์ลูมาดา คือ อินเทอร์เทอร์เน็ต ออฟธิงค์ (IoT) แพลตฟอ์ม ของ ฮิตาชิ มุ่งหวังให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ผ่านการเชื่อมต่อ และวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การการสร้างสรรค์ ผ่านการใช้เทคโนโลยี (Co-creating Digital Solutions)
อาทิ การใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data Analytics), ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปของแต่ล่ะธุรกิจ
เราเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และชุดเครื่องมือทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากศูนย์ลูมาดา จะช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถคาดการณ์ในรูปแบบการพยากรณ์ และแก้ไขปรับปรุง (Predictive and Corrective Maintenance) โดยเป้าหมายของเราหลังจากนี้คือการเข้าไปนำเสนอแก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเชิงปฏิบัติการ เช่น การตรวจสอบจากระยะไกล เป็นต้น
SCG ประเดิมใช้ Lumada หวังยกระดับการบริการจัดการพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน
จุน อาเบะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม และกระจายสินค้า บริษัท ฮิตาชิ จำกัด กล่าวว่า วันนี้นอกจากการเผยโฉม ลูมาดา แพลตฟอร์ม แล้ว เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่แจ้งว่า ฮิตาชิ จำกัด, ฮิตาชิ เอเซีย และ เอสซีจี ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG-CBM) ได้ตกลงลงนามบันทึกข้อตกลงควาเข้าใจ (MOU) ในการยกระดับการใช้พลังงานภายในโรงงานของ SCG-CBM และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ด้วยการใช้ IoT ลูมาดา แพลตฟอร์ม ของฮิตาชิ
โดยปัจจุบันโรงปูนซีเมนต์ของทาง SCG-CBM ที่ อำเภอทุ่งสอง ได้ใช้โซลูชั่น Factory Simulator ซึ่งอยู่บน ลูมาดา แพลตฟอร์ม ไปวิเคราะห์ฐานข้อมูล ด้านกำลังการผลิต และการควบคุมคุณภาพ และปรับเปลี่ยนกระบวนของแผนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดทั้งโรงงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากเดิมลดลงมาก
และปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาระบบขนส่งของรถขนปูนซีเมนต์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ และสินค้าคงคลังลง โดยทั้งหมดเป็นเพียงโครงการเริ่มที่ทางฮิตาชิกับ SCG-CBM ได้เริ่มดำเนินการ ซึ่งแน่อนอนว่าในอนาคต ฮิตาชิ จำกัด, ฮิตาชิ เอเซีย และ SCG-CBM จะสร้างบริการใหม่ ๆ ด้วยการผสมผสานนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจาก ลูมาดา แพลตฟอร์ม อย่างต่อเนื่อง
ด้าน ชนะ ภูมี รองประธาน บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง หรือ SCG-CBM กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการนำเทคโนโลยีจากเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง ฮิตาชิ มาร่วมกันพัฒนาต่อยอดในรูปแบบของ การสร้างคุณค่าร่วมกัน (Co-Creating) เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเราขยายความร่วมมือนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาองค์กรของเราสู่ Industry 4.0
ขณะที่ โยชิดะ โคดะมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผมรู้สึกยินดีที่กลุ่ม ฮิตาชิ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วย SCG-CBM ยกระดับ Value Chain ด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล ซึ่งเราเชื่อว่า ศูนย์ ลูมาดา จะช่วยให้กลุ่ม ฮิตาชิ สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมไทย และอุตสาหกรรมในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ได้เป็นอย่างดี
โดยในวันนี้เราได้จัดแสดงนวัตกรรมอัจริยะ รวมไปถึง IoT แพลตฟอร์ม “ลูมาดา” (Lumada) ในงาน Hitachi Social Innovation Forum ครั้งที่ 3 หรือ HSIF ภายใต้แนวคิด IIIuminating Thailand 4.0 โดยภายในงานจะเป็นการโชว์โซลูชั่นจากศูนย์ลูมาดา ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี
ซึ่งครอบคลุมในเรื่องของ โรงงานอัจริยะ (Smart factory) ระบบการผลิต (Manufacturing Intelligence) ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) นวัตกรรมการดูแลสุขภาพ (Smart Health) การพัฒนาเมือง (Smart City) และเครื่องใช้ภายในบ้าน (Smart Home Energy)
Photo Gallery Hitachi Social Innovation Forum ครั้งที่ 3
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความ ทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่