โตไปไม่โกง…!! วลีเด็ดที่ได้ยินจนชินชา แต่ก็ยังมีคนโกงแล้วจะเป็นอย่างไรหากว่าเราสามารถใช้ “บล็อกเชน” (Blockchain) ในการตรวจสอบการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งในบ้านเรา…
เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้อ่านข่าวประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวเรื่องของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ดูแล้วน่าเป็นห่วง ทั้งกระแสต่อต้านผู้ที่กุมอำนาจอยู่ในปัจจุบัน และกระแสของขั้วอำนาจเก่าที่พยายามจะกลับเข้ามามีบทบาท
โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่มีประเด็นกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อดคิดไม่ได้ว่าหากมีการเลือกตั้งแล้วจะมั่นใจได้อย่างไรถึงจะไม่มีการโกงกันเกินขึ้นในขั้นตอนของการลงคะแนน เพราะการเลือกตั้งในนิยามความหมายคือการเลือกตัวแทน เพื่อเข้าไปเป็นกระบอกเสียง และพัฒนาความเป็นอยู่
และพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ไม่ใช่เลือกเพื่อให้ตัวแทนเข้าไปโกงกินงบประมาณ แน่นอนว่าปัญหานี้คงตอบยากว่ามั่นใจได้อย่างไรว่าตัวแทนที่เลือกไปจะไม่โกง คำตอบของคำถามคือ “ไม่มั่นใจ” แม้ซักเปอร์เซ็นต์เดียว
แต่ถึงจะไม่มั่นใจอย่างไร แต่อย่างน้อยเชื่อว่าหลาย ๆ คน มีสิ่งหนึ่งที่ต้องการคือ ขอให้คนที่ต้องการให้เป็นตัวแทน นั้นเป็นบุคคลที่มาจากคะแนนเสียงที่ถูกต้อง เป็นไปตามความเป็นจริงของการเลือกจากประชาชน ไม่มีการโกงบัตรเลือกตั้ง อย่างเช่นในอดีตที่ผ่านมา
ส่วนเรื่องที่ตัวแทนเข้าไปแล้วจะโกงหรือไม่นั้นก็ต้องว่ากันไปในเรื่องของการตรวจสอบ ติดตาม โครงการต่าง ๆ ถ้าหากพูดถึงการเลือกตั้ง เรื่องแรกที่เรามักจะนึกถึงเรื่องของการทำประชามติ (Referendum) กันใช่มั้ยครับ เพราะเป็นกระบวนการแรกที่ทำเพื่อนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ
และนโยบายที่สำคัญของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ
และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในแต่ล่ะครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น บัตรสำหรับกรอก หีบใส่บัตร สายรัดบัตร
ซึ่งดูจะเป็นวิธีการที่ยังนิยมใช้ในหลาย ๆ ประเทศ (รวมประเทศไทยด้วย) ซึ่งไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่เปลี่ยนวิธีที่แสนจะยุ่งยาก และดูไม่โปร่งใสในตรวจสอบย้อนหลัง แต่ปัญหาแบบนี้กับไม่เกิดขึ้นในประเทศเล็ก ๆ ในฝั่งยุโรปอย่าง สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia) หรือ “เอสโตเนีย” (Estonia)
ที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการด้วยการให้ประชาชนภายในประเทศ สามารถเลือกตั้งผ่านระบบออนไลน์ที่ชื่อ “i-voting” โดยใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด (Smart Card) หรือโมบาย ไอดี (Mobile ID) ในมือถือเข้าใช้งานได้จากที่บ้าน หรือจากอุปกรณ์ต่าง ๆ
ผ่านโปรแกรมลงคะแนนเลือกตั้งของรัฐ (ดาวน์โหลด) ในปี 2548 ซึ่งผลที่ได้ที่มีประชาขนขาวเอสโตเนียใช้ช่องทางดังกล่าวมากถึง 24% ของประชากรทั้งหมดเลยทีเดียว แม้ว่าระบบการเลือกตั้งออนไลน์ i-voting ของเอสโตเนีย จะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่อย่างบล็อกเชน
แต่ด้วยการยืนยันตัวตนผ่านบัตรประชาชนและเครื่องอ่านบัตร หรือไอดีมือถือ ซึ่งเมื่อเลือกคน หรือหัวข้อ ระบบก็จะเข้ารหัสแล้วส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของ กกต.กลางของเอสโตเนีย และต้องใช้ กกต.เอสโตเนีย 5 คน ที่ถือกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ ใช้งานพร้อมกันเท่านั้นที่สามารถอ่านผลได้
นอกจากนี้ทาง เอสโตเนีย ยังทำทางเลือกให้ประชาชนที่ไม่สบายใจ หรือไม่สะดวกในรูปแบบออนไลน์ สามารถเดินเข้าคูหากาบัตรแบบปกติได้ ซึ่งทั้ง 2 ทางนั้นก็มีการตรวจสอบ และกำหนดบทลงโทษอย่างเข้มงวดไว้เช่นเดียวกัน
แน่นอนว่าอาจจะมีคนแย้งว่าเพราะประเทศเอสโตเนียนั้นมีขนาดไม่ใหญ่ มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล เท่านั้น เลยง่ายต่อการบริหารจัดการ ซึ่งในข้อนี้ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ค่อยจะเห็นด้วยซักเท่าใดนัก เพราะในกรณีเดียวกันประเทศที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสโตเนีย
อย่าง ประเทศออสเตรเลีย (Australia) ก็มีการทดลองใช้ระบบโหวตผ่านออนไลน์ ใน รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ตั้งแต่ 7 ปี ที่แล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น เราเคยมีความพยามที่จะทำเรื่องของการเลือกตั้งออนไลน์เช่นกัน
โดยในภายในปี 2546 ได้มีความพยายามที่จะสร้างเครื่องลงเสียงเลือกตั้งออนไลน์ และผลักดันให้เกิดแต่โครงการดังกล่าวเป็นอันต้องล้มไป เพราะระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงสร้างพื้นฐาน ณ วันนั้นยังไม่กระจายตัว ครอบคลุมมากเพียงพอกับประชากรตัวประเทศ
อีกทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ทำให้แม้ว่าอยากทดสอบก็ทำไม่ได้ อย่างไรก็ดี วันนี้ภาครัฐของไทยพยายามทำอินเทอร์เน็ตชายขอบ
ซึ่งนอกจากเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการจากภาครัฐ และเพิ่มองค์ความรู้ แล้วก็น่าจะเป็นการทำเพื่อรองรับเรื่องการเลือกตั้งออนไลน์ด้วยเช่นกัน
เลือกตั้งปลอดภัย มั่นใจได้ด้วย “บล็อกเชน” (Blockchain)
จากที่กล่าวไปข้างต้น ความพยายามเริ่มต้นเลือกตั้งผ่านออนไลน์ของ เอสโตเนีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความก้าวหน้าในการเลือกตั้งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ให้ระหยัดเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ซึ่งหากมองในประเทศไทยแล้วถือเป็นโมเดลที่น่าจะทำตาม เอสโตเนีย แม้ว่าวันนี้จะอยู่ในช่วงของความพยายามที่ขยายโครงสร้างพื้นฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้รัฐบาล ไม่จำเป้นระวังในการเกิดเหตุไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็น กรณีหีบบรรจุหาย การนับคะแนนผิด
หรือการทุจริต ของกรรมการในการนับคะแนน ซึ่งถือเป้นความเสี่ยงที่เรา ๆ ท่าน ๆ ต้องกลับมามอง และคิดกันใหม่ ว่าไม่ใช่เรื่องของการเดินทางไปลงคะแนนแล้วจบ กลับบ้าน แล้วรอฟังผล เพราะหากไม่ทวงติง
หรือสร้างมาตราการณ์ในการตรวจสอบขึ้นมา ย่อมหมายถึงโอกาสในการที่ปล่อยให้ บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่มีเจตนาเข้าไปโกงกินสะดวกมากขึ้น จากที่กล่าวไปข้างต้น ความพยายามเริ่มต้นเลือกตั้งผ่านออนไลน์ของ เอสโตเนีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความก้าวหน้าในการเลือกตั้งที่ช่วยอำนวยความสะดวก
ให้แก่ประชาชน ให้ระหยัดเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งหากมองในประเทศไทยแล้วถือเป็นโมเดลที่น่าจะทำตาม เอสโตเนีย แม้ว่าวันนี้จะอยู่ในช่วงของความพยายามที่ขยายโครงสร้างพื้นฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆอีกทั้งยังเป็นการช่วยให้รัฐบาล ไม่จำเป้นระวังในการเกิดเหตุไม่คาดฝัน
ไม่ว่าจะเป็น กรณีหีบบรรจุหาย การนับคะแนนผิด หรือการทุจริต ของกรรมการในการนับคะแนน ซึ่งถือเป้นความเสี่ยงที่เรา ๆ ท่าน ๆ ต้องกลับมามอง และคิดกันใหม่ ว่าไม่ใช่เรื่องของการเดินทางไปลงคะแนนแล้วจบ กลับบ้าน แล้วรอฟังผล เพราะหากไม่ทวงติง
หรือสร้างมาตราการณ์ในการตรวจสอบขึ้นมา ย่อมหมายถึงโอกาสในการที่ปล่อยให้ บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่มีเจตนาเข้าไปโกงกินสะดวกมากขึ้น และเพื่อสร้างกระบวนการตรวจสอบ หรือสร้างกระบวนการที่โปร่งใส
การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดความแม่นยำของข้อมูลอย่าง “บล็อกเชน” ถือเป็นทางเลือกแรกที่ควรหยิบยกมามาใช้กับกระบวนการจัดการเลือกตั้งในยุคสมัย 4.0 นี้ อย่างแท้จริง และสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ระบบเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์”
ที่ผู้เขียนกล่าวเช่นนี้ เนื่องจากเทคโนโลยี บล็อกเชน นั้นทำงานอยู่ บนฐานข้อมูลแบบกระจาย (Decentralized) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก สิ่งช่วยในการจัดเก็บ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และแก้ไขทั้งหมดไม่ได้ เพราะมีกลไกในการตรวจสอบเพื่อสร้างชุดข้อมูลใหม่
ทำให้เป็นไปได้ยากในการสร้างข้อมูลเท็จ อย่างเช่นการใช้ บล็อกชน ในระบบของเงินดิจิทัล เช่น “อีเธอร์เลียม” (Ethereum) ที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าร่วมเก็บข้อมูลกว่า 1 ล้านเครื่อง จึงทำให้ข้อมูลมีความมั่นคง ถูกต้องสูง
อีกทั้งด้วยการที่ บล็อกเชน นั้นทำงานแบบ P2P ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และเข้าถึงทุกคนได้ง่ายกว่าการรอให้โครงสร้างพื้นฐาน (อินเทอร์เน็ต) ของประเทศพร้อม
นอกจากนี้ในการประยุกต์ใช้เราสามารถนำบล็อกชน ไปใช้ได้ทั้งในรูปแบบของการสำรวจประเด็นที่กำลังเป็นถกเถียงกันออยู่ในสภา มาให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยการสอบถามความเห็น และให้โหวตว่าโครงการใดควรผ่าน โครงการไหนรอได้ ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของแต่ละคน
ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างเป็นลำดับ ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ลดความขัดแย้ง ลงได้อีกมาก ซึ่งนั่นหมายความว่านักการเมืองต้องฟังประชาชนที่เป็นเจ้าของเสียง โดยตรง ไม่สามารถลักไก่ยกมือให้คะแนนกับสิ่งที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มของตนเอง หรือตัวเองได้
หน่วยงานย่อยประเดิมใช้งานก่อน ไม่รอรัฐบาลเป็นต้นแบบ
ปัจจุบันแม้ว่าในระดับประเทศจะยังไม่มีการใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน มาใช้กับการเลือกตั้ง หรือการโหวตประชามติโครงการสำคัญ ๆ ของประเทศ แต่ก็ได้มีหน่วนงานย่อย ๆ ทีเลือกที่จะนำเอา บล็อกเชน ไปใช้เลือกตั้งกันภายในองค์กรของตนเองแล้ว
อาทิ ในช่วงเมษายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา “กรมพลศึกษา” ได้จัดสัมมนานำเสนอ และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์บน บล็อกเชน มาใช้ในการเลือกคณะกรรมการส่งเสริมมาตรฐานผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ตัดสินกีฬา ทั่วประเทศ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
โดยได้มีการประเมินว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ที่ 15 บาท เท่านั้น อีกทั้งผู้เลือกตั้งสามารถใช้โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตลงคะแนนได้ ทำให้มีความโปร่งใส เพราะการลงคะแนนยังคงเป็นความลับแต่ผู้เลือกตั้งสามารถตรวจสอบการใช้สิทธิของตนเองบนฐานข้อมูล บล็อกเชน ได้
หรือ ขณะที่ในภาคการศึกษา เราก็ได้เห็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) โดยกลุ่มนักศึกษา ที่ใช้ชื่อว่า “Alchemist” นำ บล็อกเชน มาสร้างสร้างระบบใน “การเลือกตั้งองค์การ และสภานักศึกษาครั้งที่ 2”
โดยเป็นโครงการที่พัฒนามาต่อเนื่องจากการเลือกตั้งในครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้สามารถ ลดความผิดพลาดของผู้ใช้ได้ในเรื่องของบัตรเสีย และการนับคะแนนด้วยมือผิดพลาดลงได้ ซึ่งจากข้อมูลที่เปิดเผย พบว่ามีการใช้งานเพิ่มขึ้นของการมาใช้สิทธิ์กว่า 10% ของการเลือกตั้งในครั้งที่ 2 นี้
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่