เอเอ็มดี (AMD) ดีโชว์เทคโนโลยีประมวลผลประสิทธิภาพสูงสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในงาน Next Horizon เปิดตัวจีพียู 7 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลก สำหรับ Machine Learning และ AI ขับเคลื่อนด้วยแกนประมวลผล “Zen 2” 

AMD เปิดตัวจีพียู 7 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลก

เอเอ็มดี ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมด้านการประมวลผลสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่งาน Next Horizon ในนครซานฟรานซิสโก ด้วยการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการประมวลผลและกราฟิกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร

ซึ่งเตรียมที่จะวางจำหน่ายในอนาคต โดยผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่นี้ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อขยายขีดความสามารถของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัย ภายในงานดังกล่าว เอเอ็มดีได้เปิดเผยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอร์โปรเซสเซอร์ “Zen 2” รวมไปถึงดีไซน์ซีพียู x86 แบบใหม่

ที่ใช้ชิปเล็ต (Chiplet) และพร้อมกันนี้ ยังได้เปิดตัวจีพียู 7 นาโนเมตร รุ่น เอเอ็มดี Radeon Instinct MI60 และเปิดให้สาธารณชนได้รับชมการสาธิตเป็นครั้งแรกสำหรับโปรเซสเซอร์ EPYC ขนาด 7 นาโนเมตร ที่ใช้ขับเคลื่อนเซิร์ฟเวอร์ ภายใต้โค้ดเนม “Rome”

พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมมือ กับ Amazon Web Services (AWS) เพื่อเปิดตัวอินสแตนซ์ยอดนิยม 3 รุ่นบน Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) ซึ่งขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์ EPYC ของเอเอ็มดี

ดร. ลิซ่า ซู ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอเอ็มดี กล่าวว่า เราได้ลงทุนเป็นระยะเวลาหลายปีในแผนการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ส่งผลให้ซีพียูและจีพียูของเราได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ องค์กรขนาดใหญ่

และลูกค้าที่ใช้ระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) เรามีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเร่งการเติบโตสำหรับธุรกิจของเรา ด้วยการนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ซีพียู

และจีพียูสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและความหลากหลายมากที่สุดในอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร ซึ่งจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไม่กี่ไตรมาสนับจากนี้ 

ข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมการประมวลผลของเอเอ็มดี

AMD

นับเป็นครั้งแรกที่เอเอ็มดีเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับซีพียู x86 ประสิทธิภาพสูง “Zen 2” ที่เตรียมเปิดตัวในไม่ช้า โดยซีพียูดังกล่าวมาพร้อมกับดีไซน์ระบบแบบแยกส่วน (Modular) ที่แปลกใหม่ ซึ่งใช้การเชื่อมต่อ เอเอ็มดี Infinity Fabric รุ่นปรับปรุง

เพื่อเชื่อมโยงแต่ละชิ้นส่วนของซิลิคอน หรือที่เรียกว่า “ชิปเล็ต” (Chiplet) ซึ่งอยู่ภายในแพ็คเกจโปรเซสเซอร์เดียวกัน โปรเซสเซอร์แบบมัลติชิปนี้ใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตรสำหรับคอร์ซีพียู “Zen 2” และใช้เทคโนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตรสำหรับส่วนอินพุต

และเอาต์พุตของชิป ผลลัพธ์ที่ได้คือ ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอย่างมาก เพราะมีคอร์ซีพียูมากขึ้น แต่กินไฟเท่าเดิม และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีต้นทุนต่ำกว่าดีไซน์ชิปแบบเก่าที่รวมทุกอย่างไว้เป็นเนื้อเดียว (Monolithic)

ดีไซน์ที่ก้าวล้ำดังกล่าว บวกกับเทคโนโลยีการผลิตขนาด 7 นาโนเมตรที่เหนือชั้นของ TSMC ทำให้ “Zen 2” มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเจนเนอเรชั่นก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของสมรรถนะ การประหยัดพลังงาน และความหนาแน่น

AMD

ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้งยังลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดความต้องการด้านการระบายความร้อนอีกด้วย ส่วนการปรับปรุงที่สำคัญอื่นๆ เมื่อเทียบกับคอร์ “Zen” เจนเนอเรชั่นแรก มีดังนี้

  • มีการปรับปรุง Execution Pipeline เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลคำสั่ง
  • การพัฒนาส่วน Front-end ปรับปรุง Branch Predictor ปรับปรุงการดึงคำสั่งจากแคช (Instruction Pre-fetching) ปรับแต่งแคชคำสั่ง และ Op Cache มีขนาดใหญ่ขึ้น
  • ปรับปรุงจุดลอยตัว (Floating Point) ขยายจุดลอยตัวสองเท่าเป็นแบบ 256 บิต รวมถึงแบนด์วิธการโหลด/จัดเก็บ เพิ่มแบนด์วิธ Dispatch/Retire และรักษาอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงสำหรับทุกโหมด
  • ฟีเจอร์ความปลอดภัยขั้นสูง ป้องกันมัลแวร์ Spectre โดยอาศัยฮาร์ดแวร์ ปรับปรุงการโยกย้ายซอฟต์แวร์และรวมไว้ในการออกแบบ และเพิ่มความยืดหยุ่นในการเข้ารหัสหน่วยความจำ

เอเอ็มดีกำลังดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 7nm เช่น ซีพียู เอเอ็มดี EPYC และจีพียู เอเอ็มดี Radeon Instinct ซึ่งเอเอ็มดีได้เปิดเผยรายละเอียดและสาธิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในงาน Next Horizon

นอกจากนี้ เอเอ็มดียังเปิดเผยว่าบริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนาสถาปัตยกรรมคอร์ x86 รุ่น “Zen 3” และ “Zen 4” ซึ่งใช้เทคโนโลยี 7nm+ ด้วยเช่นกัน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่