แสนสิริ ขอเป็นผู้นำเทรนด์เปลี่ยนวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ชูโมเดลธุรกิจเปลี่ยนโลก “Sansiri Green Mission” ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เฉลี่ย 2,120 ตัน หรือเทียบเท่าพื้นที่ป่าสีเขียวกว่า 1,700 ไร่…
แสนสิริ เดินหน้าสร้างจุดเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ไทย ปั้นโมเดล “แสนสิริ กรีน มิชชั่น” (Sansiri Green Mission)ที่สะท้อนปรัชญาของแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy)ที่ผสานการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ภายใต้การวิจัยและพัฒนาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน เตรียมวางโรดแมพ (Roadmap) ผ่าน 4 แนวทาง Waste Management, Energy Saving & Generation, Smart Move และ Sustainability เพื่อโลก และคุณภาพชีวิตที่ดีในการอาศัย
Sansiri Green Mission : Circular Economy
อุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของแสนสิริที่ไม่เพียงแค่การพัฒนาหรือสร้างที่อยู่อาศัย แต่แสนสิริยังมุ่งมั่นส่งมอบไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย และการใช้ชีวิตให้แก่ลูกค้าภายใต้แนวคิด customer-centric
หรือความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญสูงสุดเพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยให้กับลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ล่าสุดแสนสิริยังมีแนวคิด ในการเดินหน้าเป็นผู้นำเพื่อผลักดันและเซตมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทยในด้าน
ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและยั่งยืน โดยการให้ความสำคัญทั้งในด้านลดการใช้พลังงาน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมโลก ทั้งนี้ที่ผ่านมา แสนสิริได้จัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนา (R&D) และร่วมมือกับพันธมิตรจากสถาบันฯ
และบริษัทฯ ชั้นนำระดับโลกกว่า 20 ราย เพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน โดยเริ่มนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ผ่านการทดสอบเข้าสู่กระบวนการติดตั้งในโครงการนำร่องต่างๆ
อาทิ โครงการ Cooliving Designed Home นวัตกรรมบ้านระบายความร้อน การพัฒนาและติดตั้งกังหันลม ผลิตไฟฟ้า Wind Turbine รวมถึงการเปิดตัว Smart Move แพลตฟอร์มบริการเช่ารถพลังงานไฟฟ้า 100% เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้าน
โดยการดำเนินงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนในครั้งนี้ “แสนสิริ” ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มาประยุกต์ให้เข้ากับแบรนด์ดีเอ็นเอ (DNAs) ของบริษัท ด้วยแรงขับเคลื่อนจากทัศนคติที่พร้อมเปิดรับและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การอยู่อาศัยสมบูรณ์แบบ
และเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวทางการจัดการของเสีย และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ บนหลักการ 2 ข้อใหญ่ ได้แก่ การรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุด และการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรการบริโภคให้น้อยที่สุด
สอดรับกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) เพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้เป็น “วาระแห่งชาติ” รวมถึงร่างแผนจัดการขยะพลาสติกอย่างบูรณาการ (พ.ศ. 2560 – 2564)
เพื่อสร้างโมเดลต้นแบบภายใต้ชื่อ “แสนสิริ กรีน มิชชั่น – Sansiri Green Mission” ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญกับการเป็นผู้กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยในอนาคตที่เข้าใจ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
โดยมี Green Roadmap เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน ในทุกโครงการใหม่ของแสนสิริ ซึ่งเราได้เตรียมงบประมาณไว้ 50 ล้านบาท ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2564 เพื่อมุ่งมั่งสร้างความเป็นเลิศสู่ความยั่งยืนด้านพลังงานและกำจัดของเสีย
ซึ่งในด้าน การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ (Waste Management) บริษัทวางจุดยืนที่ชัดเจน ในการลดปริมาณขยะคอนกรีตจากการก่อสร้างทั้งในรูปแบบก่ออิฐฉาบปูน และพรีคาสต์สู่นวัตกรรม “Earth Blox” ที่นำเศษคอนกรีตมวลเบาเหลือใช้จากการก่อสร้างกลับมาเป็นส่วนผสมในการแปรรูป
เพื่อสร้างบล็อกคอนกรีตใหม่ นำกลับมาใช้ทำแผ่นทางเท้า ช่องลมระบายอากาศ และของตกแต่งภายในแลนด์สเคป โดยนับจากนี้ บริษัทจะเพิ่มการใช้การก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสต์ในการก่อสร้างคอนโดมิเนียมจาก 50% เป็น 80% ภายในปีพ.ศ. 2564
ซึ่งจะสามารถลดขยะคอนกรีตที่เกิดจากการก่อสร้างโดยวิธีก่ออิฐฉาบปูนได้ถึง 1,600 ตันต่อปี ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถช่วยโลกลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ได้มากกว่า 48 ตันต่อปี เท่ากับพื้นที่สีเขียวของป่าไม้ 36 ไร่
รวมทั้งตั้งเป้าหมายในการเดินหน้าประกาศภารกิจ ในการลดปริมาณขยะคอนกรีตจากการก่อสร้างในโรงงานพรีคาสต์ของแสนสิริเป็น 0% หรือ Zero Waste ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 ส่วนในของการกำจัดขยะจากการบริโภคของลูกบ้าน เราได้ทุ่มงบประมาณ 600,000 บาท
ในการติดตั้งเครื่อง Food Waste Machine จำนวน 10 เครื่อง บนพื้นที่ส่วนกลางในทุกโครงการแนวสูงที่จะพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยตั้งเป้าหมายขยายการใช้งานใน 23 โครงการ ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยในช่วงปีแรกสามารถแปรรูปขยะมูลฝอยได้มากถึง 18 ตันต่อปี จาก 10 โครงการ
ซึ่งคาดว่าเมื่อครบทั้งสิ้น 23 โครงการ จะสามารถแปรรูปขยะมูลฝอยเฉลี่ย 42 ตันต่อปี นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้ง Refun Machine เครื่องรับคืน ขวดพลาสติกและกระป๋องในทุกโครงการแนวสูง รวมทั้งสิ้น 23 โครงการ ภายในปี พ.ศ. 2564 และร่วมมือกับสตาร์ทอัพในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Goo Greens
เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะให้กับลูกบ้าน และให้ลูกบ้านได้สนุกกับการสะสมคะแนนเพื่อแลกของสมนาคุณต่างๆ ซึ่งเริ่มนำมาใช้แล้ว ทั้งในโครงการแนวราบ ที่เศรษฐสิริ จรัญฯ-ปิ่นเกล้า และโครงการแนวสูงภายในฮาบิโตะมอลล์
รวมทั้งได้นำร่องติดตั้งเครื่อง Home bio gas หรือนวัตกรรมเครื่องเปลี่ยนขยะมูลฝอยเป็นก๊าซหุงต้มที่โรงแรมเอสเคป เขาใหญ่ และในส่วนของ สำนักงานใหญ่ เซลล์ ออฟฟิศ และเซลล์ แกลอรี่ บริษัทตั้งเป้าหมายในการยกเลิกการใช้ขวดน้ำดื่มพลาสติก 100% ภายในปลายปีหน้า
สร้างวิถีการใช้พลังงานอย่างมีคุณภาพ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ส่งเสริมการพัฒนาด้าน (Energy Saving & Generation) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทนให้กับโครงการต่างๆ ของบริษัท โดยมีแผนติดตั้ง Solar Roof ครอบคลุม 31 โครงการ ภายในปี พ.ศ. 2564
ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 2 เมกกะวัตต์ พลังงานสะอาดที่ผลิตได้เทียบเท่ากับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จสมาร์ทโฟนถึง 1,400 ล้านเครื่อง ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 2,223 ตันต่อปี หรือคิดเป็นพื้นที่ป่าสีเขียวประมาณ 1,600 ไร่
นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนลดการใช้พลังงานในโครงการที่อยู่อาศัยทั้งในโครงการแนวราบและแนวสูง ด้วยการใช้นวัตกรรมที่ช่วยถ่ายเทอากาศและลดอุณหภูมิในที่อยู่อาศัย ได้แก่ นวัตกรรม Cooliving Designed Home
ที่ประกอบด้วย Solar Attic การใช้พัดลมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยลด ความร้อนใต้หลังคาบ้าน ทำให้อากาศภายในตัวบ้านเย็นลง และ Shading Screen ระแนงกันแดดที่ออกแบบโดยคำนึงถึงทิศทางของบ้า
ขณะที่ในด้านของ การเติมเต็มประสบการณ์การอยู่อาศัย และการใช้ชีวิตของลูกบ้านที่สมบูรณ์แบบ (Smart Move) เราได้นำเสนอแนวคิด Complete your living experience และร่วมมือกับ 4 พันธมิตรหลัก Honda, Haupcar, SHARGE และ EA Anywhere
สร้างแพลตฟอร์มบริการยานพาหนะระบบเช่า รวมทั้งติดตั้ง Electronic car sharing และ EV Charger ครบทุกโครงการแนวสูงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ซึ่งปัจจุบันติดตั้งไปแล้ว 5 สถานีรวม 11 คัน และเตรียมเพิ่มอีก 4 สถานีรวม 6 คัน ในปีหน้า
คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 7.5 ตันต่อปี หรือคิดเป็นพื้นที่ป่าสีเขียวประมาณ 5.7 ไร่ พร้อมกันนี้ ยังได้วางเป้าหมายเพื่อต่อยอดโดยเปิดตัวพันธมิตรใหม่ e-scooter ให้บริการใน 2 โครงการสำคัญอีกด้วย
และสุดท้ายในส่วนของ “การบริหารเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน” (Sustainability) บริษัทได้เตรียมความพร้อมสร้างความร่วมมือกับองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยนับเป็นอสังหาริมทรัพย์รายแรกที่จับมือกับกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ในเมือง หรือ Big Tree
เพื่อจัดการต้นไม้ใหญ่ในโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน โดยนำหลักสูตรรุกขกรรมมาอบรม นิติบุคคลและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลโครงการ ดูแลตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ให้สวยงามและยั่งยืนในทุกโครงการ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของลูกบ้านและรักษาสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่นและเพิ่มมูลค่าโครงการ
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญด้านการออกแบบอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability design ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการออกแบบ ให้ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ผสานกับฟังก์ชั่นการใช้งานอย่างลงตัว อาทิ การออกแบบที่พักตอบโจทย์ เรื่องอยู่สบายและลดอุณหภูมิภายในบ้าน
เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงาน ด้วยนวัตกรรม Cooliving Designed Home ในโครงการแนวราบ และนวัตกรรม Ventilation Door คอนโดมิเนียมหายใจได้ใช้ในโครงการแนวสูง
ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม เดอะ ไลน์ พหลโยธิน พาร์ค เป็น “Green Condominium” เต็มรูปแบบ โครงการแรก และจะนำแนวคิดไปต่อยอดปรับใช้กับโครงการที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตทุกโครงการ
Sansiri Green Mission ทั้ง 4 คำมั่นสัญญาหลัก ได้แก่ Waste Management | Smart Move | Energy Saving & Generation และ Sustainability นับเป็นการผสมผสานนวัตกรรมสีเขียวตลอดวงจรธุรกิจ
และเป็นโมเดลแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมสอดรับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนครบทุกวงจร ตั้งแต่ Reduce, Recycle, Design, Retailer และConsumers ซึ่งมั่นใจว่าภายใน 3 ปี Sansiri Green Mission จะเป็นกุญแจขับเคลื่อนการสร้างเมืองแห่งอนาคต
ที่มีความยั่งยืนด้านพลังงาน อันจะนำมาซึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่จะยกระดับมาตรฐานของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้ก้าวสู่การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่