ซิสโก้ (CISCO) เผยผลการศึกษา ชี้ บริษัทในภูมิภาคอาเซียน มีความพร้อมมากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ขณะที่เทคโนโลยีสำคัญยังคงเป็น Cloud, Cyber Security, Big Data and Data Analytics และ Automation ขณะที่อุปสรรคกีดขวางคือ งบประมาณ, ขาดแคลนบุคลากร และมีโครงสร้างพื้นฐานไม่เหมาะสม….
CISCO ชี้อาเซียนล้ำนำ Asia-Pacific
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า เรื่องของ พายุดิจิทัล (Digital Vortex) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากจากที่ได้ศึกษาในปีที่ผ่านมา ซึ่งอุตสาหกรรม สื่อ และบันเทิง ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางพายุดิจิทัล มากที่สุดจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด
ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นที่รองลงไป 3 อันดับคือ สินค้า และบริการด้านเทคโนโลยี, ค้าปลีก และบริการด้านการเงินจะยังคงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้วยดิจิทัลมากขึ้น แต่โดยรวมแล้ว อุตสาหกรรมทั้งหมดได้เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น
โดยศูนย์กลางที่ว่านี้เป็นจุดที่ความเร็วและขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูงสุด และไม่มีอุตสาหกรรมใดที่สามารถหลีกหนีกระแสของพายุดิจิทัลได้
โดยจากผลการศึกษา “Ready, Steady, Unsure : A Technology Perspective into Asia-Pacific’s Readiness for Digital Transformation“ หรือ มุมมองด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับความพร้อมของเอเชียแปซิฟิกสำหรับการปรับปรุงธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับล่าสุด
ที่ซิสโก้ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการอาวุโสฝ่ายไอที 1,325 คน ที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิก ชี้ว่า บริษัทฯส่วนใหญ่ใน 6 ประเทศเศรษฐกิจ โดย 94% เชื่อว่ากลยุทธ์ในการปรับใช้เทคโนโลยีกับธุรกิจ หรือดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น (Digital Transformation : DT)
ให้เหมาะสมกับธุรกิจจะช่วยรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้ และ 93% เชื่อว่าองค์กรตนเองมีความพร้อมเพียงพอในการปรับใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดกระบวนการที่ช่วยก้าวสู่ยุค DT ได้ ส่วนอีก 84% มั่นใจว่าองค์กรตนเองมรความพร้อมมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิก
“Most Firms Will Attempt Digital Transformation, But Most Will Fail”
อย่างไรก็ดีแม้จะเห็นว่า บริษัทฯ ต่าง ๆ ในภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิก มีความพร้อมมากขึ้น ในการใช้ดิจิทัลเปลี่ยนแปลง แต่กลับพบว่ายังมีความเชื่อมั่นที่แตกต่างกันในแต่ล่ะบริษัทฯ เช่นกัน และเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในระดับโลกในปีที่ผ่านซึ่งระบุว่า 75% ของธุรกิจจะมีการทำ Digital Transformation แต่จะมีองค์กรเพียง 30% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ
โดยเราพบว่า 19% ของผู้บริหารฝ่ายไอทีในองค์กรขนาดใหญ่ (องค์กรที่มีพนักงาน 10,000 คน ขึ้นไป) คิดว่าองค์กรของตนเองยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงโดยการใช้เทคโนโลยี เมื่อเปรียบเทียบ 7% ใน บริษัทฯ ที่ขนาดเล็กกว่า ซึ่งบริษัทฯ ขนาดเล็ก ที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบ
เพราะไม่ต้องรับภาระจากระบบรุ่นเก่า และการมีจำนวนฐานผู้ใช้จำนวนมากทำให้พัฒนาได้เร็วกว่า ซึ่งจากผลสำรวจผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายไอที ในภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิก ต่างเห็นตรงกันว่า ในอนาคต เทคโนโลยี ที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง และกำหนดอนาคตทางด้านดิจิทัลของธุรกิจ
คือ คลาวด์ เทคโนโลยี (Cloud), ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) , บิ๊กเดต้า และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data and Data Analytics), เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายในยุคที่ 5 (5G) และระบบงานอัตโนมัติ (Automation)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการตื่นตัว และตระหนักในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างอนาคตของธุรกิจ แต่กลับพบว่ามีเพียง 60% ของอุตสาหกรรมเท่านั้น ที่เริ่มปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ขณะที่มีเพียง 55% เท่านั้นที่ลงทุนในเรื่องโซลูชั่น หรือไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ เพื่อปกป้องความปลอดภัยให้แก่ระบบ หรือข้อมูลที่สำคัญขององค์กร
โดยมีถึง 47% ที่ยังใช้แนวทางในการป้องกันในรูปแบบ เชิงรับ ร่วมไปถึงใช้วิธีการในการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย และอัพเกรดระบบหลังจากเกิดปัญหาแล้ว ส่วนการลงทุน และปรับใช้ในเรื่องเทคโนโลยีบิ๊กเดต้า และการวิเคราะห์ข้อมูลมีเพียง 55% และมีเพียง 48% เท่านั้นที่ลงทุนในเรื่องของระบบงานอัตโนมัติ
ซึ่งอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เรื่องของการเปลี่ยนสู่การใช้ดิจิทัล เพื่อยกระดับธุรกิจ มี 3 ประเด็น ได้แก่ งบประมาณที่จำกัด (47%) การขาดแคลนบุคลากร (43%) มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีที่ไม่เหมาะสม (42%) ในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (DT)
ปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดยังอยู่ในเรื่องของบุคลากรที่จะต้องได้รับการปรับสกิล และทักษะ มากขึ้น โดยในปัจจุบัน 95% ของงานด้านไอที ยังคงบริหารจัดการโดยมนุษย์ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างมากที่ทำให้ฝ่ายไอทีขององค์กรต้องพบความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันต่อความต้องการของธุรกิจ
ในยุคที่อุปกรณ์ และจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น แม้ว่า 92% ของผู้บริหารส่วนใหญ่ ในอาเซียน จะระบุว่าบริษัทฯ หรือองค์กรของตน ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เครือข่าย เดต้า เซ็นเตอร์ ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ มาตลอดช่วงเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา
แต่กลับพบว่ามีถึง 46% ขององค์กรในอาเซียน ที่ล่ะเลยเรื่องของนวัตกรรม และบริการหลังการขาย เพื่อแลกกับราคาโดยรวมที่ถูกลง ซึ่งทำให้เห็น เรื่องของค่าใช้จ่ายยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้บริหารฝ่ายไอที 1 ใน 3 (37%) ไม่กล้าตัดสินใจลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อองค์กรมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
“Digital Transformation Will Be a Major Factor Across Industries”
Industry Transformation Perspectives and Example
จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ทำให้หลาย ๆ อุตสาหกรรม ต้องเร่งปรับตัวตาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางพายุดิจิทัล (Digital Vortex) โดยในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน (Financial Services) ที่ภายใน 2 ปี ข้างหน้าจะเห็นการใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน (Blockchain) ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence) และโรโบติกส์ (Robotics) เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงมากทีสุด โดยคาดว่าจะมีการปรับใช้ บล็อกเชน จาก 15% ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 31% ส่วนเทคโนโลยีเอไอ ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับใช้จาก 17% ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 36% และโรโบติกส์ จาก 10% ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 18%
ขณะที่ อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) เองก็จะเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกระบวนการผลิตด้วยการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปใช้ในกระบวนการผลิต ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีมากวิเคราะห์ ไปพัฒนา ซัพพลายเชน (Supply Chain)
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการ สร้างความยืดหยุ่น ของ ต้นทุนการผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ และบริหารการจัดส่ง ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น รวมไปถึงลดความเสี่ยง ความผิดพลาดลงอีกด้วย โดยในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา แนวโน้มของการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
โดยในปี 2017 มีการลงทุนมากถึง 400 ล้านบาท และมีแนโน้มจะเพิ่มขึ้นเป้น 600 ล้านบาท ภายในปี 2020 และกว่า 52% ของผู้ผลิตที่มีงบประมาณ จะเลือกใช้เทคโนโลยีในรูปแบบเฉพาะเจาะจงกับกระบวนการที่จำเป็นของตนเอง
ขณะที่ในส่วนของ ภาครัฐ (Public Sector) ภายใน 9 ปี (2015-2024) จะเห็นการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งในเรื่องของ การพัฒนาเมือง (Cities) การดูแลสุขภาพ (Healthcare) การศึกษา (Education) การพัฒนาบุคลาการ (Employee) การขนส่ง (Transport) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และการป้องกัน (Defense) เพิ่มขึ้น
เมื่อลองมองในส่วนของเทคโนโลยี ที่นิยม ใช้ใน เอเซีย-แปซิฟิก เราพบว่า เทคโนโลยีอย่าง คลาวด์ เทคโนโลยี (Cloud) จะนิยมใช้ในภาคการศึกษา (Education) และค้าปลีก (Retail) ซึ่งประเทศไทยติดอยู่ในอันดับ 3 รองจากเวียดนาม และสิงค์โปร์ ส่วนในส่วนของไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) นิยมใช้ในอุตสาหกรรมทางการเงิน (Finance)
ซึ่งประเทศไทย ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว รองจากเวียดนาม และสิงค์โปร์ ส่วนเทคโนโลยี บิ๊กเดต้า และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data and Data Analytics) ปัจจุบันนิยมใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Healthcare) ซึ่งประเทศไทย ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว รองจากสิงค์โปร์ และมาเลเซีย และระบบงานอัตโนมัติ (Automation)
ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มนิยมใช้มากขึ้น โดยมีการนำไปใช้ ใน Finance, Healthcare และ Manufacturing โดยประเทศไทยมีการใช้ระบบงานอัตโนมัติมากเป็น อันดับ 2 รองจากเวียดนาม โดยมีฟิลิปปินส์ตามหลัง
ในส่วนของผู้บริโภค ในอนาคตเราจะได้เห็นการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลขององค์กร ใน อุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อสร้างความสำเร็จ และนำหน้าคู่แข่ง ด้วยทำ Digital Transformation ทั้งในส่วนของการสร้างการตะรหนักรู้แบบรอบด้าน (Hyper Awareness)
โดยรู้จักพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างท่องแท้ ผ่านข้อมูลต่าง ๆ ทราบเคลื่อนไหวของข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ (Predictive) ทำให้สามารถคาดการสิ่งที่จะเกิดในอนาคต และปรับองค์กรตามทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ซึ่งซิสโก้เองยินดีที่จะก้าวเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ผ่านกลยุทธ์ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ
การสร้างเวทีสำหรับผู้นำทางความคิด โดยรวมกับ องค์กรขนาดใหญ่ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ที่จะช่วยถ่ายทอดกรณีศึกษาที่เกิดขึ้น และผลสำเร็จจริง, เข้าสนับสนุนอุตสาหกรรมหลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน บริการ รวมถึงภาคการศึกษา, เพิ่มช่องทางในการขาย เพื่อที่จะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการของเรา มากขึ้น
สร้างความร่วมมือกีบผู้ให้บริการชั้นนำของไทย ด้วยการใช้ เทคโนโลยีคลาวด์หลากหลาย (Multi cloud) ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และปัญญาประดิษฐ์ (AI/Machine Learning) รวมไปถึงการสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคมแบบ (Social Innovation) เพื่อช่วยเหลือสังคมมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดสอดคล้องกับความตั้งใจของซิสโก้ที่จะสร้าง “นวัตกรรมสร้างประโยชน์ให้ชีวิต” อย่างต่อเนื่อง
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่