AI

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยความสามารถที่หลากหลายตั้งแต่การทำงานง่าย ๆ ไปจนถึงการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน แต่เชื่อว่าหลายคนยังคิดว่ามันจะปลอดภัยจริงหรือ? ถ้าให้มาคิดแทนในเรื่องของสุขภาพ

วันนี้เชื่อว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence หรือ AI) คือหนึีงในเทคโนโลยีที่หลายคนคงคุ้นหูไม่มากก็น้อย เพราะด้วยความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะอัลกอลิทึ่มตั้งแต่เรื่องง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยาก ๆ ทำให้หลายอุตสาหกรรมเริ่มที่จะสนใจในการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้กับส่วนงานต่าง ๆ 

ปฏิวัติวงการสุขภาพด้วย AI

แน่นอนว่าไม่เว้นแต่ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ที่เริ่มมีความสนใจที่จะนำเอาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าแวดวงการแพทย์มีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล คุณประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับวงการแพทย์ของ เอไอ คือการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ 

คำถามที่หลายท่านน่าจะสงสัยไม่มากก็น้อยมันดีจริงหรือ ? เสี่ยงไปมั้ย หากจะนำมาใช้ในแวดลงของการแพทย์ เพื่อมันเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ตัวผู้เขียนอาจจะตอบได้ยากเช่นกัน แต่หากมองในแง่มุมประโยชน์ที่จะได้แล้วก็นับว่า เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ คือสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้

เพราะเรากำลังอยู่ในยุคสมัยของ บิ๊กดาต้ (Big Data) ที่มีข้อมูลเกิดขึ้นมาอย่างมหาศาล ทั้งข้อมูลเก่า และข้อมูลใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากอุปกรณ์พกพา ที่นับวันจะมีราคาที่ถูกลง ทำให้สามารถหาซื้อได้ง่ายดายมากขึ้น หากจะถามว่าแล้วจะนำไปใช้ได้อย่างไรผู้เขียนเองก็มีแง่มุมที่คิดว่าจะมีประโยชน์มานำเสนอให้ได้ทราบกัน 

เนื่องจากได้มีโอกาสได้อ่านบทความของ เวสเลย์ โคววาสกี หัวหน้าประจำภูมิภาคอาเซียน อินโฟร์ ซึ่งมีการนำเสนอแง่มุมที่น่าสนใจไม่น้อย โดยสิ่งที่ เวสเลย์ โคววาสกี นำเสนอนั้นมันตรงกับสิ่งที่ผุู้เขียนได้มีโอกาสไปฟังมาจากหลายเวทีเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทั้งในประเทศ และนอกประเทศ 

โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา เราจะเห็นวงการแพทย์เริ่มจากการใช้ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยง และผสานข้อมูลบนเครือข่ายต่างๆ และการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัลทั้งหมดแล้ว แต่สิ่งที่จะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์มากขึ้น

คือ วิธีที่จะใช้ประโยชน์จาก เอไอ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน และการดูแลรักษาผู้ป่วย นั่นเอง แต่ไม่ได้หมายถึงการให้มาตัดสินใจแทนแพทย์ทั้งหมด โดยแพทย์จะยังคงมีอำนาจในการตัดสินใจอยู่เช่นเดิม เพียงแต่มีข้อมูลที่มากขึ้นในการช่วยการตัดสินใจ จากที่เคยต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ก็จะเหลือเพียงไม่กี่วัน

AI

ขณะที่จากการเปิดเผยของ Frost & Sullivan เองก็ระบุว่าตลาด เอไอ ด้านการดูแลสุขภาพจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 40% ในปี 2564 เพราะ เอไอ มีศักยภาพในการเพิ่มผลลัพธ์ในการดูแลสุขภาพได้ถึง 30-40% อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลงได้ครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว

สำหรับประเทศไทย ภาครัฐมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical Hub) ของเอเชีย ข้อมูลสถิติทางการระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนสถานพยาบาลทั่วประเทศ 1,355 แห่ง ในขณะที่ ผลสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนปี 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 

AI

พบว่าประเทศไทยมีโรงพยาบาล และสถานพยาบาลเอกชน 347 แห่ง การดำเนินกิจการในโรงพยาบาล และสถานพยาบาลเอกชนก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของประเทศถึง 99,427 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2559) 

จากการสำรวจพบว่าโรงพยาบาล และสถานพยาบาลเอกชนจำนวน 120 แห่ง หรือร้อยละ 34.6 รายงานว่าใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย

AI

นอกจากนี้ข้อมูลจากรายงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมการใช้งาน เอไอ ในอุตสาหกรรมสุขภาพในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ยังระบุว่าการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น

และมีความต้องการการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มมากขึ้นด้วย รายงานยังพบว่า การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในอุตสาหกรรมสุขภาพของประเทศไทยในปี 2560 มีมูลค่า 162.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลงทุนด้าน เอไอ และอนาไลติกส์ (Analytics) 1.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

และคาดว่าในปี 2563 จะมีการลงทุนด้านไอซีที (ICT) ของอุตสาหกรรมสุขภาพเป็นมูลค่า 198.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลงทุนด้าน เอไอ และอนาไลติกส์ 12.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้อมูลเหล่านี้เป็นการตอกย้ำความต้องการใช้งาน เอไอ ในวงการสุขภาพของไทยได้อย่างชัดเจน

ไม่ว่าจะนำมาใช้ในด้านที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย และรักษา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้สินทรัพย์ของโรงพยาบาล และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ที่มารับบริการ การเพิ่มคุณภาพในการผลิต วิจัย และพัฒนายา การวิเคราะห์ความเสี่ยง ระบบสินไหมทดแทนอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งระบบแมชชีนเลิร์นนิ่งสำหรับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

AI
การลงทุนในเทคโนโลยสีารสนเทศ (ICT) ในอุตสาหกรรมสุขภาพของกลุ่มประเทศอาเซียน (พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2563)

ซึ่งเราเริ่มเห็นแล้วว่าในปัจจุบันเริ่มมีหลาย ๆ การใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้นในวงการด้านการดูแลสุขภาพ เช่น

  • ศูนย์โรคมะเร็งขนาดใหญ่แห่งหนึ่งใช้ เอไอ เพื่อขับเคลื่อนโมบายแอพบริการดูแลผู้ป่วยที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารและที่พักอาศัย
  • Mount Sinai Health System ใช้ เอไอ เพื่อค้นหาอาการที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • มีการใช้ Google AI ในการตรวจสอบดวงตาของผู้ป่วย เพื่อตรวจดูว่ามีอาการผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่
  • มีการใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือพยาบาล ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวไม่สะดวก

เมื่อ เอไอ ผสานกับ มนุษย์

อย่างที่กล่าวไว้เรื่องของเทคโนโลยีไม่ว่าจะทันสมัยแค่ไหน แต่ยังไงก็ยังต้องมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะเทคโนโลยีจะทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ ซึ่งในทางธุรกิจ เอไอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

เช่น เพิ่มความสะดวกในการจัดสรรบุคลากรในสถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์มีเวลามากขึ้นในการดูแลรักษาผู้ป่วย และให้คำปรึกษา แทนที่จะต้องเสียเวลากับงานธุรการ เมื่อมีการใช้งาน เอไอ อย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเต็มที่

หากเราคิดถึงแชทบ็อท (Chatbot) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ เอไอ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในสำนักงานด้วยระบบอัตโนมัติ ทุกวันนี้แชทบ็อทสามารถให้คำแนะนำได้รวดเร็วกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยคนถึง 20% 

ด้วยการใช้วิธีวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดย เอไอ สามารถให้ความช่วยเหลือในงานด้านต่างๆ ของสถานพยาบาล เช่น

AI

ซัพพลายเชน (Supply Chain) เราสามารถใช้ เอไอ ยกระดับในเรื่องของซัพพลายเชน โดย เอไอ จะช่วยตอบคำถามของพนักงานเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตรวจสอบติดตามวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนสต็อกส่วนเกิน  

นอกจากนี้ยังช่วยลดระยะเวลาที่ต้องใช้ในการค้นหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยการระบุตำแหน่งที่ตั้ง และจัดการเกี่ยวกับการสั่งซื้อ และการจัดส่งโดยอัตโนมัติ

AI

บริการตนเอง (Self-Service) ในแง่มุมของบริการเราสามารถเพิ่มเพิ่มความสะดวกให้กับงานธุรการ ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี เอไอ เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องในการขับเคลื่อนงานบริการตนเอง ระหว่างแผนกต่างๆ ช่วยให้บุคลากรเหล่านี้สามารถทุ่มเทเวลาให้กับการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่

โดยใช้ เอไอ เพื่อทำสิ่งต่างๆ เช่น ตอบข้อ ซักถามของพนักงานแต่ละคนได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนวันลาหยุดที่เหลืออยู่ ไปจนถึงตารางวันหยุดต่างๆ ซึ่งส่งผลให้โรงพยาบาลสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

AI

การการชำระเงิน (Payment) เราสามารถใช้ ไอเอ ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการชำระเงิน การตรวจสอบการชำระเงินของฝ่ายบัญชีของโรงพยาบาลได้ โดยใช้ เอไอ เพื่อทำงานประจำที่ไม่ซับซ้อน ช่วยให้ผู้บริหารฝ่ายการเงินมีเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้

และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฝ่ายการเงินแล้ว ยังช่วยให้ฝ่ายการเงินมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อการดำเนินงานทั้งหมด แทนที่จะดูแลเพียงแค่การเงิน และบัญชีในลักษณะเดิมๆ

AI

 

สิ่งแวดล้อม (Environment) เมื่อมองในมุมของสภาพแวดล้อม เราสามารถใช้ เอไอ ในการคาดคะเน ความน่าจะเป็นของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ อย่างที่ทราบว่า ผู้ป่วยต้องการการรักษาพยาบาล และบรรยากาศที่สงบเงียบเพื่อการพักฟื้น ซึ่ง เอไอ จะช่วยบำรุงรักษาอุปกรณ์ภายในโรงพยาบาล

ด้วยการประสานงานเกี่ยวกับตารางเวลาของงานบำรุงรักษาที่ทำเป็นประจำ และจัดหาข้อมูลที่จำเป็นให้แก่พนักงานเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาหยุดทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ และไม่สร้างความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วย

จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ การใช้เทคโนโลยี เอไอ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่จำเป็นเพื่อให้การรักษาพยาบาลประสบผลสำเร็จ หากผู้ป่วยมีประสบการณ์แง่ลบเกี่ยวกับโรงพยาบาล และจะส่งผลให้คะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับต่ำ

ภายใต้แนวทางการประเมินคุณภาพบริการสำหรับผู้ป่วย Hospital Consumer Assessment of Healthcare Providers and Systems (HCAHPS) และส่งผลกระทบต่อการความคุ้มค่ากับคุณประโยชน์ที่ได้รับ  

อย่างไรก็ดีแม้ว่าเทคโนโลยีเอไอ ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในแวดวงการแพทย์ และผู้บริหารระดับสูงในโรงพยาบาล รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องเรื่องการดูแลสุขภาพทั่วโลก แต่บุคคลเหล่านี้เองก็จำเป็นจะต้องคิดอย่างรอบคอบในการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต

ซึ่งแม้ว่ายังมีความไม่ชัดเจนเกิดขึ้นมากมายในประเด็นที่ว่าเทคโนโลยี AI รูปแบบใดจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และ “พร้อมรองรับอนาคต” แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง และโรงพยาบาล รวมไปถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องระมัดระวังในการใช้งบประมาณไปกับการตัดสินใจที่ถูกต้อง

แต่การไม่ตัดสินใจเลยก็ก่อให้เกิดผลกระทบที่เลวร้ายยิ่งกว่า แม้ว่าการตัดสินใจเรื่องเทคโนโลยีนี้มีความเสี่ยงสูง แต่ก็อาจนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้เช่นกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีในเรื่องของการลงทุนอย่างเหมาะสมกับช่วงเวลา

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ข้อมูลบางส่วนจากบทความ "ปฏิวัติวงการสุขภาพด้วย AI" โดย เวสเลย์ โคววาสกี 
    หัวหน้าประจำภูมิภาคอาเซียน อินโฟร์
**** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่