AIS

AIS  จับมือ กสทช. หนุน จุฬา ก้าวสู่พัฒนาแห่งอนาคต ผ่าน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center”  หรือพื้นที่เตรียมความพร้อมนิสิต นักพัฒนารับเทคโนโลยีอนาคต…

AIS จับมือหน่วยงานรัฐ สร้างศูนย์ 5G AI และ IoT Innovation Center

วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส รู้สึกเป็นเกียรติ และภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาครัฐ และภาคการศึกษา

การเปิด ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือการสร้างพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา

AIS
ศูนย์ 5G AI IoT Innovation Center ความร่วมมือระหว่าง กสทช และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาไอเดียด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ไม่ว่าจะเป็น AI, IoT หรือ 5G โดยหลังจากที่ เอไอเอส และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย

เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาและได้เริ่มเตรียมทดลอง ทดสอบเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรมบนเครือข่าย 5G ของ เอไอเอส ที่เปิดสัญญาณเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 1กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช.อย่างต่อเนื่อง  อาทิ

  • ร่วมนำเสนอเทคโนโลยี 5G และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ใน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เตรียมเปิด “ศูนย์ 5G Garage Innovation LAB”  ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ณ อาคารวิศวฯ ๑๐๐ ปี ภายในไตรมาส 1 ของปี 2562 เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ที่ให้ได้ลงมือพัฒนาจริง ภายใต้เครือข่าย 5G LIVE  

ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถเข้ามาใช้ 5G Garage Innovation LAB  เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ นวัตกรรม 5G ได้ในทุกแง่มุม เพราะจะประกอบไปด้วยข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับ 5G ที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานแบบครบวงจร

ตั้งแต่ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ ตลอดจนตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน หรือ Use case ที่มาจากความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ระดับโลก พร้อมทั้งการสัมมนา workshop เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค

รวมไปถึงร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง โดยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากเอไอเอส และ พาร์ทเนอร์ในแวดวงโทรคมนาคมทั้งใน และต่างประเทศ

AIS

  • ร่วมกับนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic และ 5G เข้ามาประยุกต์ใช้ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่โดยรอบ อาทิ สยามสแควร์ สนามกีฬา และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเสมือนศูนย์กลางเทคโนโลยี Digital ที่ทันสมัย และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดในประเทศ โดยรูปแบบของ Use case ที่อยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนา เช่น  Video Analytics for Smart school,  Robot Mini Cargo,  Smart Stadium, Smart Pole, Robot  Physical therapy ฯลฯ

การที่ภาครัฐ และภาคการศึกษา ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง   เพราะ 5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น

อีกทั้งยังเป็นการขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ ทำให้เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด  ดังนั้นถึงแม้ว่าวันนี้จะยังไม่มี business case ที่ชัดเจน แต่การศึกษาให้มากที่สุดย่อมทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ทันทีในวันที่เทคโนโลยีมาถึง ซึ่ง เอไอเอส พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่

AIS
หุ่นยนต์ต้นแบบ Robot Physical Therapy บน5G ผลงานจากนักวิจัย จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่