จีไอเอส (GIS) เผยทริค Eco-driving ลดมลภาวะป้องกันฝุ่น PM 2.5 ยั่งยืนแนะโซลูชัน NOSTRA Telematics หนึ่งตัวช่วยลดมลพิษบนท้องถนน

จากวิกฤตฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ที่ปกคลุมไปทั่วเมือง และกระจายไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ ได้สร้างความตื่นตัวให้หลายฝ่ายหันมามองหาแนวทางป้องกันลดมลพิษ และดูแลสุขภาพ โดยจากค่าดัชนีฝุ่นละอองในอากาศที่ตรวจพบล่าสุดบน NOSTRA Map App 

โดยการดึงข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 7.00 น. พบว่า เช้าวันนี้กรุงเทพมหานคร มีปริมาณฝุ่น PM2.5 ลดลง ในทุกพื้นที่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดี – คุณภาพอากาศดีมาก แต่ภาพรวมทั้งประเทศยังพบพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพหลายพื้นที่

และยังต้องเฝ้าระวังสูงสุดใน 5 จังหวัดได้แก่  ต.ในเมือง ต.นาจักร อ.เมือง แพร่, ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก, ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ ลำปาง,ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง นครสวรรค์ และ อ.เมือง ขอนแก่น

ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษเปิดเผยว่า มากกว่า 50-60% ของมลภาวะมาจากรถยนต์และท่อไอเสีย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีรถยนต์จำนวนมากเกือบ 10 ล้านคัน การขับรถที่ไม่ถูกวิธีและไม่ดูแลรักษาเครื่องยนต์มีส่วนทำให้เกิดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นและเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์

GIS

ซึ่งเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอนที่อยู่ในเครื่องยนต์ของรถอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก และยังเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศซึ่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย

นอกจากนี้ จากข้อมูลการศึกษาของค่ายรถยักษ์ใหญ่ยี่ห้อหนึ่ง ยังได้เปิดเผยพฤติกรรมการขับขี่ที่มีผลต่อการใช้น้ำมัน และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลเมตร โดยระบุว่าลักษณะนิสัยการขับขี่แบบ Eco-driving หรือ การขับขี่อย่างชาญฉลาดเพื่อประหยัดพลังงาน

จะช่วยลดทั้งอัตราการใช้น้ำมันสิ้นเปลือง และช่วยลดการปล่อยไอเสียได้สูงสุดถึง 25% เมื่อเทียบกับการขับขี่แบบค่าเฉลี่ยปกติ โดยการเปลี่ยนแปลงวิธีการขับขี่เพียงเล็กน้อยจะสามารถประหยัดน้ำมันและลดปริมาณไอเสียในอากาศได้มาก

GIS เผยทริค ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วย NOSTRA Telematics

ปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี เผยนอสตร้า โลจิสติกส์ แนะผู้ใช้รถยนต์ควรใส่ใจดูแลรถยนต์ให้มีสภาพสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ในท้องถนน แต่ยังเป็นกำลังสำคัญ ช่วยลดมลพิษในอากาศและลดการใช้เชื้อเพลิงอีกด้วย

เช่น การทำความสะอาดไส้กรองสม่ำเสมอ ไส้กรองอากาศที่ไม่สะอาดจะทำให้อากาศผ่านได้น้อยหรือเกิดการอุดตัน เป็นเหตุให้รถยนต์ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าปกติ และยังทำให้เกิดควันดำจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ การทำความสะอาดไส้กรองสามารถทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยการเป่าด้วยลมจากด้านใน

เพื่อให้ฝุ่นที่จับบนไส้กรองหลุดออกมาด้านนอก ทั้งนี้ ควรทำความสะอาดไส้กรองตามที่กำหนดในคู่มือการใช้รถ หรือเมื่อตรวจพบว่าไส้กรองไม่สะอาด โดยอาจสังเกตจากอัตราการใช้น้ำมันที่เปลืองกว่าปกติ รวมถึงควรตรวจเช็คและเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นตามระยะที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้รถ

หรือก่อนกำหนด เพราะน้ำมันหล่อลื่นที่มีสิ่งสกปรกเข้าไปผสมอยู่ทำให้คุณภาพการทำงานของน้ำมันเสื่อมลง ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติ และกำลังของเครื่องยนต์ลดลง ทำให้ต้องดึงน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปกระตุ้นให้เครื่องยนต์ทำงานได้ในระดับเดิม เป็นผลให้ใช้น้ำมันโดยสิ้นเปลืองและเกิดการเผาไหม้สร้างมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

GIS

นอกจากนี้ การใส่ใจด้านเทคนิคการใช้รถง่าย ๆ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนมอนอกไซต์  เช่น วางแผนก่อนเดินทาง ตรวจเช็คลมยาง บรรทุกสิ่งของเท่าที่จำเป็น รักษาความเร็วสม่ำเสมอ (ประหยัดสุดที่ 80-100 กม/ชม.) ใช้เกียร์ให้ถูก ไม่เร่งกระชากเครื่องยนต์ ใช้เบรกให้น้อย ไม่เหยียบเบรกกระชาก ดับเครื่องยนต์หากจอดรถนาน และดูแลรักษาเครื่องยนต์อยู่เสมอ

ด้านผู้ขับขี่เองแม้ว่าจะอยู่ในรถก็ยังไม่ปลอดภัยจากปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก เนื่องจากอากาศในรถยนต์เป็นระบบปิด เมื่อมีการเปิด-ปิดประตูก็มีโอกาสสูงที่ฝุ่นละอองจะเข้ามาในห้องโดยสาร ผู้เดินทางควรศึกษาข้อมูลค่ามลพิษในพื้นที่เดินทางเพื่อพิจารณาหลีกเลี่ยงหรือเตรียมรับมือ

โดยมีแอปพลิเคชันที่ให้บริการข้อมูลตรวจเช็คค่าฝุ่นละอองในจุดต่าง ๆ เช่น NOSTRA Map app สามารถใช้ตรวจเช็คค่าฝุ่นละออง PM2.5 บนแผนที่แบบเรียลไทม์ครอบคลุมทั่วประเทศไทย และหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ขับขี่ควรป้องกันตนเองด้วยการใช้หน้ากากที่กรองฝุ่นได้ในระดับ PM2.5 

จะช่วยลดความเสี่ยงจากการหายใจเอาฝุ่นละอองซึ่งอันตรายต่อสุขภาพ และระหว่างการขับรถควรเลือกใช้ระบบอากาศภายในรถยนต์เป็นออฟชันแบบระบบอากาศหมุนเวียนภายในรถ ซึ่งจะไม่ดึงเอาอากาศจากภายนอกเข้ามาในรถ

นอกจากการใช้รถให้ถูกวิธีและการป้องกันต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบันยังได้มีเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อสนับสนุนการขับขี่ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์อย่าง เทเลเมติกส์ (Telematics) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หรือระบบที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่รับรู้รูปแบบการขับขี่

ของตนเองได้จากการแจ้งเตือนของระบบ ไม่ว่าจะการใช้ความเร็วสูงเกินกำหนด การเหยียบเบรกรุนแรง การเร่งกระชาก กระแทกลูกระนาด จอดไม่ดับเครื่องยนต์ ฯลฯ ซึ่งการขับขี่ลักษณะนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อีกทั้งยังมีผลทำให้เครื่องยนต์เกิดการสึกหรอ และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเกินจำเป็น เป็นการเพิ่มโอกาสให้เครื่องยนต์ปล่อยมลพิษเข้าสู่สภาพแวดล้อม

เทคโนโลยี Telematics สามารถตรวจสอบ เก็บข้อมูล และแจ้งเตือนข้อมูลพฤติกรรมการขับรถให้ผู้ขับขี่หรือผู้ใช้ระบบรับทราบได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถปรับปรุงการขับรถให้ดีขึ้นได้ทันที และยังนำข้อมูลมหาศาล หรือ Big data ที่ได้จากการขับรถในทุก ๆ วัน

GIS

มาวิเคราะห์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการขับรถ (Driving Performance Score)  ทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ใช้ระบบตระหนักถึงการขับขี่และการใช้รถของตนเอง เพื่อพัฒนาปรับปรุงการขับขี่ให้เกิด Road Safety และ Eco-Driving ทั้งยังสามารถวางแผน และแจ้งเตือนการบำรุงรักษารถได้จากข้อมูลการใช้รถที่ถูกรวบรวมไว้ เช่น การตรวจเช็ครถตามระยะทาง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ช่วยยืดอายุการใช้งานของรถพร้อมลดการสร้างมลภาวะทางอากาศ

การแก้ไขปัญหาด้านมลภาวะล้วนเป็นความรับผิดชอบโดยรวมของผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งนอกจากการปรับปรุงการขับรถให้ถูกวิธี การใส่ใจดูแลรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ เทคโนโลยี Telematics ยังเป็นอีกโซลูชั่น ที่จะเข้าช่วยสนับสนุน จากรถคันหนึ่งไปยังหลาย ๆ คัน รถทุกคันก็จะมีส่วนร่วมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนและลดการปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซต์เข้าสู่สภาพแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและมุ่งสู่การเป็นสังคม SMART CITY แบบมั่นคงและยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่