Intelligence Enterprise

เอสเอพี (SAP) ออกโรงแนะองค์กรธุรกิจไทยก้าวสู่ “องค์กรอัจริยะ” (Intelligence Enterprise) ด้วยข้อมูล เพื่อสร้างประสบการณ์ในยุค “เอ็กซ์พีเรียน ฮีโคโนมี” (Experience Economy)….

  • “ประสบการณ์” คือโอกาส และตัวแปร่สำคัญ ของธุรกิจในยุค “เอ็กซ์พีเรียน ฮีโคโนมี” (Experience Economy) ที่องค์กรต้องสร้างความพร้อม และสนับสนุนในการก้าวสู่ “อินเทลรีเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์” (Intelligence Enterprise)
  • ผลการศึกษาชี้ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเซีย ในปี 2559 ผู้บริโภคที่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากแบรนด์ (44%-60%) ยินยอมที่ให้ข้อมูลแก่แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการตัดสินใจซื้อ, ข้อมูลส่วนตัว, ข้อมูลการใช้โทรศัพท์, ข้อมูลการแพทย์ รวมถงข้อมูลทางการเงิน
  • 80% ของธุรกิจมีโอกาสจะเสียโอกาสในการสร้างประสบการณ์ที่ดี หากบุคลากรภายในองค์กรมีคุณภาพน้อยในการส่งมอบประสบการณ์ และเลือกใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจากความภักดีต่อแบรนด์อย่างผิดวิธี ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ และเลือกเปลี่ยนไปใช้บริการจากแบรนด์อื่น
  • 80% ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรของตนเองกำลังส่งมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้แก่ลูกค้า แต่ในความจริงมีเพียง 8% เท่านั้นที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีเพียงพอได้จริง
  • การเชื่อมต่อข้อมูลที่เป็น Front Office และ Back Office อย่างเต็มประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถต่อยอดใช้ประโยชน์จากข้อมูล และสร้างสรรค์สินค้า และบริการ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมของลูกค้า

Intelligence Enterprise

ธุรกิจไทยจำเป็นต้องปรับตัวสู่การเป็น Intelligence Enterprise เพื่อรับมือยุค Experience Economy

วันนี้การปรับตัวขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เป็น องค์กรอัจริยะ (Intelligence Enterprise) ถือเป็นเรื่องทีธุรกิจทุกขนาด ในทุกภาคอุตสาหกรรรม จำเป็นต้องต้องปรับตัวเข้าสู่ยุค เอ็กซ์พีเรียน ฮีโคโนมี (Experience Economy) หรือยุคที่ประสบการณ์คือทุกสิ่ง (Experience Matters) ที่จะสามารถสร้างความแตกต่างให้แก่แบรนด์ และผลิตภัณฑ์

ซึ่งจะส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า และพนักงาน ที่มีต่อแบรนด์ การสร้างประสบการณ์ที่ดีจะสามารถนำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของพนักงาน และความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าระหว่างแบรนด์กับลูกค้า การสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมคือ ตัวแปร่ สำคัญ ที่จะมีผลต่อพฤติกรรมการจับจ่ายของลูกค้า

ล่าสุดจาก ผลการศึกษาประสบการณ์ดิจิทัล ในปี 2559 ที่ เอสเอพี ได้ทำการสำรวจ พบว่า ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความพึงพอใจในสินค้า หรือบริการ ยินดีที่จะส่งมอบข้อมูลส่วนตัวให้แก่แบรนด์ โดย 60% ของผู้บริโภคยิยอมที่จะแชร์ข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ

และ 50% ยินดีที่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว 51% ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลพฤติกรรมการใช้ข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟน หรือมือถือ 46% ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลทางด้านสุขภาพ หรือข้อมูลทางการแพทย์ และ 44% ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินของตนเอง

Intelligence Enterprise

ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เมื่อแบรนด์สามารถประสบการณ์แบบส่วนร่วมให้แก่ลูกค้าของตนได้ ลูกค้าจะมีความพึงพอใจเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลให้ลูกค้ายินยอมที่เปิดเผยข้อมูลในเชิงลึกให้แก่แบรนด์เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากแบรนด์ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ดีมากเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และพนักงานขององค์กร

ก็มีโอกาสสูงที่ธุรกิจจะต้องเสียหายได้ ถึง 550 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เลยทีเดียว เนื่องจากประสบการณ์พนักงานภายในนั้นได้รับมีคุณภาพต่ำ อาจส่งผลทำให้เลือกใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจากความภักดีต่อแบรนด์อย่างผิดวิธี ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจและนำไปสู่การสูญเสียรายได้กว่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ 

โดย 95% ของลูกค้าที่ไม่พึงพอใจจะเลือกแบ่งบัน หรือแชร์ประสบการณ์กับผู้อื่น และมีความเป็นได้ถึง 80% ที่ลูกค้าเลือกเปลี่ยนไปใช้บริการจากแบรนด์อื่นแทน ตัวเลขทั้งหมดนี้แสดให้เห็นว่า การสร้างประสบการณ์ที่ดี ต่อลูกค้า

Intelligence Enterprise

และบุคลากรในองค์กร จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในยุคเอ็กซ์พีเรียน ฮีโคโนมี (We live in a Experience Economy) ในแง่มุมต่าง ๆ ได้ แต่หากไม่สามารถสร้างประสบการ์ณที่ดีได้ก็อาจจะนำมาซึ่งความสูญเสียได้อย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน

เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นผู้นำ

เคลาส์ แอนเดอร์เซ่น ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษํท เอชเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า วันนี้แม้ว่าธุรกิจต่าง ๆ จะตะหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ก้าวเข้าสู่มิติใหม่ของมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเร่งปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด หรือดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี ให้แก่ลูกค้า แต่ผลสำรวจ Bain ชี้ว่ายังคงมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร (Thcreis a Experience Gap) อยู่มาก โดย 80% ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เชื่อว่าองค์กรของตนเองกำลังส่งมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้แก่ลูกค้า แต่ในความจริงมีเพียง 8% เท่านั้นที่สามารถทำได้จริง

เมื่อพิจารณาจากส่วนของตลาดไทย ถือว่าเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตได้ดี ที่จะสามารถใช้ใสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมาก 57 ล้านราย ซึ่งส่วนหนึ่งในการเข้าใจอินเทอร์เน็ตนั้นเป้นการเข้าใช้ผ่านสมาร์ทโฟนถึง 70% และมีอัตราการเติบโตของการค้าออนไลน์ (e-Commerce) สูงที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้คาดว่าจะมีเม็ดเงินในตลาดถึง 2-5.8 ล้านบาท 

ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดี เป็นผลลัพธ์ของการบริหารห่วงโซ่แห่งคุณค่าทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่จุดปฏิสัมพันธ์แรกกับลูกค้า ผ่านแผนการตลาด การขาย ไปจนถึงการสายผลิต และบริการหลังการขาย เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถยกระดับประสบการณ์องค์รวมของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์

Intelligence Enterprise

โดย เอสเอพี ร่วมกับ Qualtrics ตอบโจทย์ด้วยซอฟต์แวร์ Experience Management เพื่อการบริหารจัดการประสบการณ์ ที่ผสานข้อมูลเชิงปฏิบัติการ (Operational data : O-data) และข้อมูลเชิงประสบการณ์ (Experience data: X-data) เข้าไว้ด้วยกัน

ทำให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขและข้อมูลที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ความคิดเห็น และอารมณ์ของบุคคลที่มีความข้องเกี่ยวกับธุรกิจ มาร่วมพิจารณา เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยฐานผู้ใช้งานระบบโซลูชั่นของ Qualtrics กว่า 1.8 พันล้านราย และฐานลูกค้าของเอสเอพีกว่า 425,000 ราย

โซลูชั่นเพื่อการบริหารองค์กรธุรกิจที่เป็นเลิศของ เอสเอพี และ Qualtrics จึงโดดเด่นด้วยขุมพลังแห่งข้อมูล XO-data ที่พร้อมจะช่วยยกระดับศักยภาพด้านการบริหารประสบการณ์ ซึ่งเอื้อต่อประสิทธิภาพของวงจรการขาย และการเติบโตขององค์กรธุรกิจในระยะยาว

Intelligence Enterprise

วันนี้ความเข้าในที่คาดเคลื่อนของผู้บริหารระดับสูง ทำให้ไม่ทราบว่าองค์กรยังมีจุดออ่นในการก้าวเข้าไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดี ดังนั้นเราจึงจะเข้าไปนำเสนอ พร้อมแนะว่าการยกระดับระบบภายในเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าเก่า ย่อมดีกว่าการเหนื่อยสร้างฐานลูกค้าใหม่

ความร่วมมือเชิงนวัตกรรม เพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนแนวคิด ไทยแลนด์ 4.0 เอสเอพี ได้วางเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ในปี 2562 โดยมุ่งมั่นส่งเสริมองค์กรธุรกิจไทยให้พัฒนาสู่การเป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ หรือ องค์กรที่มีความชาญฉลาด

และสนับสนุนให้เกิดการสร้างรายได้อย่างชาญฉลาดในยุคเศรษฐกิจแห่งประสบการณ์ ทั้งนี้ เอสเอพี มุ่งส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในส่วน Front office ด้วยเล็งเห็นว่า ความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมต่อระหว่าง Front office และ Back office นำมาซึ่งการเข้าถึงและการต่อยอดดาต้า

ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ช่วยให้องค์กรใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติการด้วยระบบอัตโนมัติ สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า เสริมศักยภาพให้แก่พนักงาน และมีรายได้เพิ่มขึ้น

Intelligence Enterprise

ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 46 ปี พร้อมพอร์ตโฟลิโอนวัตกรรมชั้นสูง เพื่อการขับเคลื่อนทัพหน้าของหน่วยธุรกิจ อาทิ ระบบดิจิตอลคอร์ (Digital core) ทรงพลัง SAP S/4 HANA 

ชุดโซลูชั่นบูรณาการเพื่อการบริหารประสบการณ์ของลูกค้า SAP C/4 HANA และ Qualtrics’s Experience Management (XM) Platform เอสเอพีพร้อมยกระดับองค์กรธุรกิจไทยสู่การเป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ อย่างเต็มตัว

ปัจจุบัน เอสเอพี มีบทบาทช่วยขับเคลื่อน ใน 10 สตาร์ทอัพยูนิคอร์นของอาเซียน องค์กรธุรกิจชั้นนำของอาเซียน 91 องค์กร รวมถึงบริษัทในประเทศไทยจากหลากหลายภาคอุตสหากรรมจำนวน 1,969 บริษัท โดย 18 องค์กรได้เริ่มใช้งานโซลูชั่นด้าน เอ็กซ์พีเรียน แทเนจเมนท์ ของเอสเอพี

โดยวันนี้ เอสเอพี จัดงาน the Asian Innovators Summit 2019 ขึ้นที่ประเทศไทย ในปีนี้ ภายใต้ธีม #OurGrowthStory เอสเอพี มุ่งมั่นที่จะจับมือกับองค์กรธุรกิจต่างๆ เพื่อสร้างการเติบโตที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน  เอสเอพี มั่นใจและพร้อมที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กรธุรกิจทุกขนาดในประเทศไทย เพื่อการก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำของเอ็กซ์พีเรียน อีโคโนมี และอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่