“รหัสผ่าน” (Password) ช่องโชว์สำคัญที่มักก่อปัญหาให้ผู้ใช้งาน กำลังจะถูกยกเลิกใช้ และแสวงวิธีการอ่ืนแทน เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้แก่วิธีการชำระเงินในอนาคต…

highlight

5 ปีต่อจากนี้ วิธีการใช้ รหัสผ่าน (Password) กำลังจะถูกลดบทบาทลง โดยผู้ให้บริการบัตรต่าง ๆ เริ่มใช้อุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยี EMV ร่วมกับรหัส PIN เพื่อยืนยันว่าอุปกรณ์ที่ใช้ ทำรายการเป็นของผู้บริโภครายนั้นจริง และใช้ทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) ตรวจจับการฉ้อโกง และยืนยันตัวตนอย่างแม่นยำมากขึ้น

อุตสากรรมการเงินเล็งยกวิธีการใช้ “รหัสผ่าน” หวังสร้างมาตราฐานความปลอดภัยใหม่

เชื่อหรือไม่ว่าภายในอีก 5 ปีต่อจากนี้ วิธีการใช้รหัสผ่าน หรือ พาสเวิร์ด (Password) กำลังจะถูกลดบทบาทลง และหาวิธีการใหม่ ๆ ในการปกป้อง หรือป้องกันช่องโหว่ ที่มักเกิดขึ้น เรื่องดังกล่าวไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ผลการวิจัยของยูโรมอนิเตอร์ ได้พบว่ามีการระบุตัวตนด้วยวิธีการต่าง ๆ

มากถึง 52 ล้านล้านครั้งในปี พ.ศ. 2559 เพราะเป็นวิธีการที่คุ้นเคยอย่างการใส่ รหัสผ่าน ยังถือเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้บริโภคเพราะมีโอกาสที่จะลืมพาสเวิร์ด หรือแม้แต่เกิดจากข้อผิดพลาดในความพยายามพิมพ์ Password ลงในแป้นพิมพ์ขนาดเล็กผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ

เพื่อใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ ชำระสินค้าบริการ หรือแม้แต่ใช้เพื่อเปิดคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวอาจทำให้สามารถโดนขโมยข้อมูลได้ง่าย ๆ 

แต่ปัจจุบันได้มีวิธีการยืนยันตัวตนอีกหลายรูปแบบที่ปลอดภัยกว่าการใช้ รหัสผ่าน เนื่องจากความก้าวหน้าในการตรวจสอบการยืนยันตัวตน และเทคโนโลยีในการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้ทำให้ขั้นตอนในการระบุตัวตนของผู้ถือบัตร (Cardholder Verification Methods หรือ CVM) อาทิ ลายเซ็น และ PIN เป็นทางเลือกสำหรับร้านค้า

รหัสผ่าน

โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา ผู้ให้บริการบัตรต่าง ๆ เริ่มใช้ ลายเซ็น ของผู้บริโภค เป็นอีกหนึ่งวิธีในการระบุตัวตน สำหรับร้านค้า โดยผู้ให้บริการบัตรที่อยู่ในเครือข่ายการชำระเงินของวีซ่า (VISA) หรือแม้แต่มาสเตอร์การ์ด (MasterCard) เริ่มที่จะพัฒนาให้บัตรผ่านมาตรฐานเทคโนโลยีของการชำระเงินที่มีความปลอดภัย

และใช้งานร่วมกันได้ทั่วโลก (EMV) ซึ่งหมายถึงว่าตัวบัตรจะต้องมีความสามารถในการักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้นด้วยชิปที่ฝังอยู่ในบัตร และตัวอุปกรณ์ เพื่อสร้างกระบวนการ พิสูจน์ความถูกต้อง ในรูปแบบที่รวมข้อมูลเฉพาะของแต่ละธุรกรรม ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง

โดยเมื่อผู้บริโภคใช้อุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยี EMV ในการชำระที่เครื่องรับชำระเงิน EMV การชำระเงินนั้น ๆ จะถูกระบุในทันทีว่าเป็นการทำธุรกรรมที่ถูกต้อง และได้รับการอนุมัติแล้ว ด้วยกระบวนการ พิสูจน์ความถูกต้องแบบไม่เปลี่ยนตามเวลา

ซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับรหัส PIN (Personal Identification Number) ชิปก็จะยืนยันว่าอุปกรณ์ที่ใช้ ทำรายการเป็นของผู้บริโภครายนั้นจริง นอกจากนี้ยังช่วยให้ สถาบันการเงิน และร้านค้าต่าง ๆ สามารถแชร์ข้อมูลกันได้มากกว่าเดิมถึง 10 เท่า

เพื่อเข้าสู่การตัดสินใจในการบริหารความเสี่ยงเรื่องการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรที่ทำการซื้อสินค้า ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยไม่ต้องให้ผู้บริโภคทำการยืนยันตัวตนเพิ่มเติม

AI และ Biometrics อนาคตความเชื่อมั่นของการชำระเงิน

รหัสผ่าน

และด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ยังช่วยป้องกัน และตรวจจับการฉ้อโกงบัตรได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จึงเปรียบเสมือนใบเบิกทางให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เพราะผู้บริโภคมีความมั่นใจในระบบความปลอดภัยของการชำระเงินมากยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตจะสามารถลด หรือข้ามขั้นตอนการตรวจสอบในรูปแบบเดิม ๆ ได้ ผ่านการบูรณาการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และไบโอเมตริกซ์ (Biometrics)

ซึ่งจาก ผลสำรวจของวีซ่าใน พ.ศ. 2561 เผยให้เห็นว่า ผู้บริโภคยินดีที่จะใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) เนื่องจากเพราะเชื่อว่าจะมีความสะดวก รวดเร็ว และเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ รหัสผ่าน (Password)

โดย 86% ของผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจสนใจที่จะลองใช้ไบโอเมตริกซ์เพื่อยืนยันตัวตนหรือทำการชำระเงิน นอกจากนี้มากกว่า 65% ของผู้ทำแบบสำรวจมีความคุ้นเคยกับการใช้ไบโอเมตริกซ์ ประกอบกับความก้าวหน้าในอุปกรณ์มือถือที่ส่งผลให้การแสกนลายนิ้วมือนั้นมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

และการใช้เสียงเพื่อยืนยันตัวตนมีความแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการนำเอาเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์มาใช้ในแอพพลิเคชั่นของธนาคาร เพื่อมอบประสบการณ์การชำระเงินที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้รหัสผ่านแบบเดิม เนื่องจากมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดนขโมยข้อมูล

เพราะปัจจุบัน การจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องของผู้ใช้แทนที่จะเก็บไว้ในคลาวด์ และเข้ารหัสแม่แบบไบโอเมตริกซ์ ด้วยการแทนคุณลักษณะไบโอเมตริกซ์จริงด้วยอัลกอริทึม วิธีการนี้จะช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถเลือกที่จะจัดเก็บข้อมูลหรือลบข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ

นอกจากนี้ ความแม่นยำในการยืนยันตัวตน ยังถูกเสริมให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการตรวจจับแบบ liveness ที่ใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ และซอฟต์แวร์ที่สามารถแยกแยะได้ว่าลายนิ้วมือนั้นถูกคัดลอกมาหรือไม่ หรือการสแกนใบหน้าเป็นหน้ากากหรือใบหน้าของบุคคลจริงได้นั่นเอง 

รหัสผ่าน

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่ทำให้ยังทำให้ผู้บริโภคคงเผชิญกับความท้าทาย และความเสี่ยง ส่วนหนึ่งมาจากความยุ่งยากในการจดจำ “รหัสผ่าน” เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ ซื้อสินค้า และบริการ หรือแม้แต่เพื่อทำการชำระเงิน ทำให้พฤติกรรมในการจับจ่ายชำระสินค้ายังเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจ

ให้แก่ผู้บริโภค แต่เมื่อผู้ผลิตสมาร์ทโฟนได้ทำเทคโนโลยีแสกนลายนิ้วมือมาใช้ ทำให้ผู้บริโภคกลับมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการยืนยันตัวตนที่สะดวก และรวดเร็วขึ้นนั้น จะเติบโตไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของสินค้า และบริการในระบบดิจิทัล

*EMV เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้ทำการจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ และยังไม่ได้จดทะเบียนในบางประเทศ เครื่องหมายการค้า EMV เป็นของบริษัท EMVCo, LLC.

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, VisaNews

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่