กรณีศึกษา (Case Study) “Hydro” บริษัทผลิตอะลูมิเนียมในประเทศบราซิล ยกระดับความปลอดภัยด้วยการผสานรวมการปฏิบัติการไปยังแพลตฟอร์มไอทีกลาง (Central IT Platform)…
highlight
- Hydro เผยผลสำเร็จหลังจากใช้บริการรักษาความปลอดภัยที่มีการจัดการ (Managed Security Service) จากฟูจิสึ ทำให้พนักงานผู้ใช้งานระบบได้ใช้ระบบไอทีที่มีความซับซ้อนน้อยลง ใช้งานง่ายมากขึ้น แต่ยืดหยุ่น ร่นระยะเวลาในการดำเนินงาน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตราฐาน และส่งผลให้ทำให้ต้นทุนลดลงพร้อม ๆ แต่เพิ่มผลิตผลได้มากขึ้น
Case Study “Hydro” Go to แพลตฟอร์มไอทีกลาง
บริษัท ผลิตอะลูมิเนียมแบบครบวงจรในประเทศบราซิล Norsk Hydro ASA (Hydro) ต้องการรวมการดำเนินงานทั้งหมดของตนเองไปยังแพลตฟอร์มไอทีกลางมาตรฐานเดียวเพื่อรับประกันความสอดคล้อง และความพร้อมใช้งาน บริษัทฯ
จากความต้องการดังกล่าวทำให้ ฟูจิตสึ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี และบริการกันมายาวนานของ Norsk Hydro ASA เข้าไปช่วยโอนบริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจัดการของการปฏิบัติการในประเทศบราซิลมายังฟูจิตสึจนทำให้ Hydro มีการปฏิบัติการที่ทันสมัยทั่วทั้งระบบ และลดต้นทุนในการปฏิบัติการลงถึง 20%
ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงและมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นโดยรวมอันเป็นผลเนื่องมาจากบริการรักษาความปลอดภัยที่มีการจัดการ (Managed Security Service) โดยเฉพาะ และเทคโนโลยีการเข้าถึงโดยใช้รหัสผ่านแบบ ไบโอเมตริกอย่าง FUJITSU PalmSecure
Mr.Jo De Vliegher, Chief Information Officer, Hydro เปิดเผยว่า การสร้างมาตรฐานเดียวด้วยโซลูชันจากคู่ค้ารายเดียว Norsk Hydro ASA (Hydro) คือบริษัทผลิตอะลูมิเนียมแบบครบวงจรมีพนักงานประมาณ 35,000 ชีวิตใน 40 ประเทศ ที่กระจายทั่วทุกทวีป
โดยผนวกรวมความเชี่ยวชาญท้องถิ่น เข้ากับการเข้าถึงตลาดทั่วโลก และความสามารถด้าน R&D ที่เหนือคู่แข่งทุกราย Hydro มีบทบาทอยู่ในทุกภาคส่วนตลาดสำหรับอะลูมิเนียม พร้อมกับกิจกรรมด้านการค้า และการซื้อขาย และให้บริการลูกค้ากว่า 30,000 ราย
ซึ่ง Hydro มีสำนักงานใหญ่ในประเทศนอร์เวย์ และมีประสบการณ์ด้านพลังงานทดแทน เทคโนโลยี และนวัตกรรมนับศตวรรษ Hydro มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความอยู่รอดของลูกค้าและชุมชน พร้อมทั้งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่านนวัตกรรมโซลูชันการผลิตอะลูมิเนียมใหม่ ๆ
โดยฟูจิตสึมีธุรกิจทุกด้านที่เราต้องการ ซึ่งครอบคลุมการโฮสต์ และการจัดการเซิร์ฟเวอร์ และระบบจัดเก็บ (RIM), การสนับสนุนผู้ใช้ปลายทาง (EUS), ศูนย์ปฏิบัติการระบบเครือข่าย (NOC), หน่วยงานบริการช่วยเหลือที่ให้บริการหลากหลายภาษาทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง, ระบบการทำงานร่วมกันและบริการรักษาความปลอดภัย (SOC)
หลังจากที่เราซื้อสถานที่ถลุงแร่ ปรับปรุงคุณภาพ และเหมืองในบราซิลมาได้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีมาตรฐานเดียวให้สอดคล้องกับธุรกิจที่เหลือก็เป็นตัวเลือกที่ชัดเจนมาก การมีระบบ 2 ระบบแยกจากกันในบราซิลและระบบกลางเป็นปัญหามาก เพราะทุกอย่างต้องมีการทำสองรอบ และรอบการเปิดใช้งานระบบก็ต้องถูกเร่งให้เร็วขึ้นเสมอ
ในบราซิลมีผู้ใช้ประมาณ 5,000 คน ในสถานที่ทำงาน 3 แห่ง ทำให้โครงการนี้เป็นความท้าทายที่ทั้ง Hydro และฟูจิตสึ ไม่เคยเจอมาก่อนความสามารถด้านกำลังไฟฟ้า และระบบเครือข่ายนั้นมีความเปราะบางมาก ในใจกลางดินดอนสามเหลี่ยมของป่าดิบชื้นอะเมซอน และการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย
นอกจากนี้ Hydro ยังต้องการที่จะรวมมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับไบโอเมตริก พร้อมๆ กับมั่นใจว่ามีการสนับสนุนที่เพียงพอ โดยเรามีกลยุทธ์ดิจิทัลที่ชัดเจนมาก ซึ่งสร้างจากเสาหลัก 4 ประการด้วยกัน นั่นคือ การมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ นวัตกรรม และการบริหารความเปลี่ยนแปลง
ซึ่งตอนนั้นฟูจิตสึก็กำลังช่วยเราให้บรรลุเป้าหมายในธุรกิจวงกว้างอยู่แล้ว นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะดึงการปฏิบัติการในบราซิล ให้ทันกับส่วนอื่น
โดยในไซต์ปฏิบัติงานที่บราซิลเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความยากลำบาก และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เปราะบาง เราจึงมีงานยากรออยู่ การร่วมกันสร้างสรรค์แพลตฟอร์มไอทีที่แข็งแกร่งในใจกลางบราซิลฟูจิตสึกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในเยอรมันก่อนจะส่งไปยังเหมืองในบราซิล
ซึ่งต้องขับรถจากเมืองเบเลงเป็นเวลา 2 ชั่วโมง และอยู่ในป่าดิบชื้นอะเมซอน ในขณะเดียวกันทีมงานชาวอินเดียของฟูจิตสึก็ทำการย้ายข้อมูลจากทางไกล หลังจาก 6 เดือน โครงสร้างพื้นฐานใหม่ก็พร้อมใช้งาน โดยโครงสร้างพื้นฐานนี้มีการใช้บริการฟูจิตสึหลายอย่างด้วยกัน
เช่น NOC และ SOC ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของโครงการนี้ ฟูจิตสึสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรกลางรวมทั้งทีมงานท้องถิ่น ชาวบราซิลเพื่อถ่ายโอนการดำเนินงาน ซึ่งทำให้งานมีความซับซ้อนน้อยลง การปรับให้แพลตฟอร์มมีมาตรฐานสอดคล้องทั่วทั้งบริษัททำให้การติดตั้งบริการคลาวด์ และแอปพลิเคชันใหม่บริหารได้ง่าย และไม่ซับซ้อน
นอกจากนี้ Hydro ยังได้นำ FUJITSU PalmSecure มาใช้งานเพื่อจัดการการเข้าถึงเทอร์มินัลของผู้ใช้ ซึ่งใช้ลายเซ็นไบโอเมตริกที่ไม่ซ้ำกันในฝ่ามือของผู้ใช้แต่ละราย เพื่อให้ล็อกออนเข้าพีซี และธินไคลเอ็นต์
ซึ่งเรามีผู้ใช้ 3,000 ราย ที่ไม่เคยใช้พีซีของบริษัทฯ มาก่อน แต่เราต้องการให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัล แต่คนมักจะลืมรหัสผ่านกันได้ง่าย ส่วนบัตรรูดก็อาจจะหายหรือโดนขโมยได้เช่นกัน ขณะที่รหัสประจำตัวประเภทลายนิ้วมืออาจใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมสำนักงานที่สะอาด
แต่อย่างสภาพแวดล้อมเหมืองที่เต็มไปด้วยฝุ่น FUJITSU PalmSecure ให้โซลูชันที่แข็งแกร่ง แม่นยำ และไม่ต้องใช้การสัมผัสใด ๆ ซึ่งฟูจิตสึให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนทั้งระดับหนึ่งและระดับสองทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง จากศูนย์ Global Delivery Center ในประเทศโปแลนด์ซึ่งจะมีการตอบคำถามเป็นภาษาโปรตุเกสของบราซิลด้วย
ความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับสูงขึ้นอันเนื่องมาจากเฟรมเวิร์ก ระบบไอทีที่ยืดหยุ่น และความร่วมมือกันระหว่าง Hydro และฟูจิตสึคะแนนความพึงพอใจผู้ใช้ของ Hydro ปัจจุบันอยู่ที่ 93% ซึ่งสะท้อนให้เห็นการให้บริการไอทีที่สอดคล้องทั่วบริษัททั้งในบราซิล และประเทศอืน่ ๆ
นอกเหนือไปกว่านั้น ต้นทุน การปฏิบัติการท้องถิ่น ลดลงถึง 20% ผ่านการทำให้เป็นมาตรฐานบนแพลตฟอร์มของผู้ค้ารายเดียว ปัจจุบันเราสามารถใช้เอกสารประกอบและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเดียวกันกับทั่วทั้งบริษัท ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงพร้อม ๆ กับเพิ่มผลิตผล
เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นสิ่งนี้ทำให้เราสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้มากขึ้น และตอบสนองกับความต้องการของตลาดได้เร็วขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้เร่ืองของความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้กลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้นเราไม่ใช่บริษัทที่ใหญ่พอที่จะมี SOC ภายในเป็นของตนเอง
แต่ฟูจิตสึให้ความสามารถที่หลากหลายที่สุดกับเรา ซึ่งผนวกรวมเข้ากับบริการทั้งหมดที่เรามีได้การที่เราได้รู้ว่าเรามีการปกป้องระบบในมาตรฐานระดับโลกทำให้เราอุ่นใจมาก การทำงานร่วมกันมานานหลายปี ทำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมไอทีที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ค้ารายเดียว และมีมาตรฐานเดียว
ซึ่งเป็นการกระตุ้นประสิทธิภาพการทำงาน รับรองความปลอดภัย และมีความพร้อมใช้งานได้สูงสุด ความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้ทั้ง 2 บริษัทกำลังมองหาด้านอื่น ๆ ที่อาจจะเข้าไปพัฒนาได้มากขึ้นอีก
“เทคโนโลยีเหล่านี้มีความล้ำสมัยมาก ซึ่งจะช่วยสื่อว่าบริษัทเราก็มีความล้ำสมัยเช่นกัน ในขณะเดียวกันเราก็ยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน”
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com, www.hydro.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่