หัวเว่ย (Huawei) เดินหน้าลุยทดสอบ 5G ครั้งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทดลองใช้ในพื้นที่ EEC ทั้งในห้องทดสอบ (Indoor) และการทดสอบภาคสนาม (Outdoor) ก่อนใช้งานจริง…

highlight

  • หัวเว่ย เดินหน้าการทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Testbed) สู่การใช้งานจริง ในพื้นที่ EEC โดยจะทดสอบ และพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยี 5G ทั้งในห้องทดสอบ (Indoor) และการทดสอบภาคสนาม (Outdoor) และโฟกัสภาคการศึกษา ยานยนต์ การผลิตและอุตสาหกรรม การแพทย์ และอื่น ๆ
  • การทดสอบเทคโนโลยี 5G ครั้งแรกในประเทศไทยนี้จะสาธิตด้วยการถ่ายทอดสดในระบบวิดีโอแบบมัลติ-ยูเอชดี (Multi-UHD Video Live) และเทคโนโลยี VR เสมือนจริงไร้สายแบบ 360 องศา (360 Wireless VR) เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของ 5G ที่ช่วยพัฒนาการใช้งานวิดีโอความละเอียดสูงแบบ UHD บนเครือข่ายที่มีแถบคลื่นความถี่สูง ความหน่วงต่ำ
  • หัวเว่ย ได้ลงทุนพัฒนาคิดเป็นมูลค่ารวม 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 160 ล้านบาท) สำหรับโครงการ 5G Testbed 

Huawei สนับสนุนการทดสอบ 5G ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ EEC

หัวเว่ย ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน และสถาบันการศึกษาชั้นนำ พร้อมเดินหน้าการทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Testbed) สู่การใช้งานจริง ในฐานะผู้จำหน่ายในปัจจุบันที่ได้นำระบบเครือข่าย 5G แบบครบวงจรมาติดตั้งในศูนย์ทดสอบ 5G Testbed พื้นที่ EEC 

โดยหัวเว่ยจะให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับใช้ทดสอบ และทดลองการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในพื้นที่จริง รวมถึงต่อยอดการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยความร่วมมือแบบเปิดกว้างครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ และพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยี 5G 

ทั้งในห้องทดสอบ (Indoor) และการทดสอบภาคสนาม (Outdoor) และนำการใช้งานใหม่ๆ มาให้บริการแก่ผู้บริโภคในส่วนต่างๆ ทั้งภาคการศึกษา ยานยนต์ การผลิตและอุตสาหกรรม การแพทย์ และอื่น ๆ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย   

โดยเทคโนโลยี 5G นั้นมีข้อดีมากมาย รวมถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ทรงพลัง เหมาะกับการใช้งาน และสร้างสรรค์นวัตกรรมในทุกอุตสาหกรรม การทดสอบเทคโนโลยี 5G ครั้งแรกในประเทศไทยนี้จะสาธิตด้วยการถ่ายทอดสดในระบบวิดีโอแบบมัลติ-ยูเอชดี (Multi-UHD Video Live) และเทคโนโลยี VR เสมือนจริงไร้สาย

แบบ 360 องศา (360 Wireless VR) เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของ 5G ที่ช่วยพัฒนาการใช้งานวิดีโอความละเอียดสูงแบบ UHD บนเครือข่ายที่มีแถบคลื่นความถี่สูง ความหน่วงต่ำ และความน่าเชื่อถือสูง ทำให้เกิดการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ สถาปัตยกรรมแบบใหม่ และมีเดียใหม่ๆ ได้ในอนาคต  

นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม 5G ของหัวเว่ยยังเปิดให้พันธมิตรต่าง ๆ นำแอพพลิเคชั่นของตนเองเข้ามาร่วมทดสอบบนโครงสร้างพื้นฐานของหัวเว่ยด้วย

Huawei

โครงการ 5G Testbed ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเร่งนำพาประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

มร. เติ้ง เฟิง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การทดสอบเทคโนโลยี 5G ในครั้งนี้จะกระตุ้นให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมได้พัฒนาก้าวไปอีกขั้น เรามุ่งหวังและเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายและพันธมิตรจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ

เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมบริการใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับประเทศไทย และสร้างสรรค์ระบบอีโคซิสเต็มด้าน 5G ที่สมบูรณ์แข็งแกร่ง การร่วมมือกันจะทำให้เราสามารถนำเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุดมาสู่ประเทศไทย เพื่อสร้างรากฐานที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้งานเทคโนโลยี 5G และพลิกโฉมอุตสาหกรรม นำพาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

สำหรับแพลตฟอร์มอุปกรณ์เครือข่าย 5G ทั้งระบบประกอบด้วยสถานีฐาน 5G, อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย (Access Network), อุปกรณ์ทดสอบตัวอย่างการใช้งานและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตั้งทดสอบในสถานที่จริง ซึ่งหัวเว่ยได้ลงทุนพัฒนาคิดเป็นมูลค่ารวม 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 160 ล้านบาท) สำหรับโครงการ 5G Testbed ที่ศรีราชา

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่