ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots) ผู้เชี่ยวชาญด้านแขนหุ่นยนต์เพื่อการทำงานกับมนุษย์ สัญชาติเดนมาร์ก เร่งรุกตลาดอุตสาหกรรมไทย หลังรัฐบาลไทยยังมีเป้าหมายขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ชีไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโต…

highlight

  • เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นกุญแจสำคัญในการแปรรูปภาคการผลิตไทย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2028
  • เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นกุญแจสำคัญในการแปรรูปภาคการผลิตของไทย มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ.2028
  • การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังมีอัตราต่ำอยู่ที่ 15% ของภาคการผลิตทั้งหมด
  • ประโยชน์ของแขนกลโคบอท คือการเพิ่มกำลังการผลิต คุณภาพสินค้า และสวัสดิภาพของคนงาน

เทคโนโลยี Robots Arm คือกุญแจความสำเร็จของอุตสาหกรรม

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ระบุว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งภายใต้แนวคิดนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve industries) 10 ประเภทเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ

โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (New S-curve) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน เช่น อิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร

ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (New S-curve) คืออุตสาหกรรมขั้นสูงแนวใหม่ เช่น อุตสาหกรรมอวกาศ และพลังงานชีวภาพ

นอกจากนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งโดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่เฟื่องฟู และทั้ง 2 ภาคอุตสาหกรรมนี้ ยังเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเทคโนโลยีหุ่นนต์ และระบบอัตโนมัติของโลก

Robots

อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ 23 แห่ง และโรงงานประกอบมอเตอร์ไซค์ 8 แห่ง ไทยยังเป็นผู้ส่งออกฮาร์ดดิสก์บันทึกข้อมูลชั้นนำ โดยคิดเป็น 82% ของผู้ส่งออกทั่วโลก

การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการรับประกันว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนและรักษาสถานผู้นำในระดับโลกได้

นอกจากนี้จากการศึกษาของ ซิสโก้ และ เอ.ที.คาร์นีย์ พบว่า ภาคการผลิตของไทยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ.2028 ผ่านการใช้เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0

Robots

มร.ซาการิ กูอิกกะ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0 เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการทำงาน และกำลังการผลิต นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 ถึง 2018

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทยได้มีการมอบเงินกระตุ้นการลงทุนแก่โครงการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานไปแล้วกว่า 36 โครงการ รวมมูลค่า 5.22 พันล้านบาท เฉพาะในปีที่ผ่านมา มีการอนุมัติโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติกว่า 11 โครงการ มูลค่ากว่า 1.46 พันล้านบาท

แม้จะมีการสนับสนุนเช่นนี้ หากศักยภาพของเทคโนโลยีรูปแบบนี้กลับยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่า มีเพียง 15% ของภาคการผลิตของไทยที่ใช้เทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติในขั้นตอนการผลิต โดยพิจารณาจากแนวโน้ม พบว่า ในปี 2018 ที่ผ่านมา 

 

Robots

มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 38% ทั่วโลก ขณะที่ภายในประเทศไทยมีการเติบโตอยู่ที่ 30% เราจึงเล็งเห็นถึงศักยภาพอีกมากในการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ในยามที่ประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นในอนาคต

และได้เข้ามาทำตลาดเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2013 และสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้า และบริการที่ครบวงจรเพื่อรองรับการใช้งานของในแต่ล่ะอุตสาหกรรม และมีคู่ค้าประจำภูมิภาคทั้ง 5 ราย ได้แก่ บริษัท ออโตเฟล็กซิเบิ้ล แอดวานซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท เซราไทย จำกัด, บริษัท เจอแรงการ์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท อินเตอร์ อิงค์ เทคนิคส์ จำกัด และบริษัท สยามโอเรียนท์อีเลคทริค จำกัด สำหรับประเทศไทย

ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาแขนหุ่นโคบอทถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ทั้งรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และพลาสติก และโพลีเมอร์

หลายอุตสาหกรรมเร่งปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างที่นำเอาเทคโนโลยีของเราไปใช้งาน ได้แก่ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor Company) โดยนับตั้งแต่เริ่มนำหุ่นโคบอทรุ่น UR10 มาใช้ในโรงงาน บริษัทก็สามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย ลดต้นทุนแรงงาน และสร้างชิ้นงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มากขึ้น

นอกจากนั้น ยังช่วยผ่อนแรงคนงานสูงวัยของบริษัทนิสสันจากการทำงานที่ต้องใช้แรงมากและงานที่ทำซ้ำๆ ทำให้พวกเขาได้รับการโยกย้ายไปทำงานอื่น ๆ ที่มีมูลค่า และใช้ทักษะสูงขึ้น

ขณะที่ บริษัท เจวีซี อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซีย ได้นำเอาหุ่นโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ สามารถเพิ่มทั้งกำลังการผลิต คุณภาพของชิ้นงาน รวมถึงสวัสดิภาพของคนงาน พร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ปีละมากกว่า 80,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว

 

Robots

เราเชื่อว่าในอนาคตระบบอัตโนมัติกลายเป็นส่วนสำคัญในสมการการผลิตของอุตสาหกรรมหลายประเภทในเมืองไทย และในการทำให้ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตามคำมั่นสัญญา เราจึงทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดเพื่อทำการประเมิน ให้คำแนะนำ และนำเสนอการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้สอดคล้อง

กับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย สำหรับการเพิ่มความสามารถของหุ่นยนต์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ด้วยการทำงานของสถาบัน UR Academy ของเรา ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างสามารถใช้องค์ความรู้จากแบบจำลอง และเว็บบินาร์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อฝึกฝนทักษะการตั้งโปรแกรมโคบอทหลักในการทำงานได้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่