Hitachi ยันพร้อมช่วยภาคอุตสาหกรรมยกระดับกระบวนการผลิตด้วยโซลูชั่นด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) หลังเปิดศูนย์ Lumada ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก…
highlight
- ศูนย์ ลูมาด้า (Lumada) คือ ศูนย์กลางในการนำเสนอโซลูชั่นส์ อินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ (IoT) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างโซลูชั่นส์ดิจิทัลจากการร่วมกันคิดสร้างสรรค์ (Co-Creatiing Digital Solutions) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจที่แตกต่างกันไป
- Lumada ยังเป็นศูนย์แห่งแรกของฮิตาชิ ซึ่งเกิดขึ้นจากนำความสำเร็จในการพัฒนาไอโอที จากประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้ง ญี่ปุ่น จีน และ สหรัฐอเมริกา มารวมกันไว้ที่ศูนย์แห่งนี้
- การวางกรอบระยะเวลาลงทุนพัฒนาไอโอทีในระยะยาว จะทำให้สามารถแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และทำให้อัตราความคุ้มทุนตลอดจนงบประมาณในการลงทุนสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจได้มากขึ้น
Hitachi ยันพร้อมช่วยภาคอุตสาหกรรม หลังเปิดศูนย์ Lumada
อากิฮิโร โอฮาชิ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีไอโอที นั่นมีการเติบโตมากขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะภายในอุตสาหกรรม เริ่มมีการศึกษาการนำเอาไปใช้เพื่อยกระดับกระบวนการทำงาน
ด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึก มาสนับสนุนการแปรรูปองค์กรให้เป็นระบบดิจิทัล จึงกำลังมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ และสร้างกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และครอบคลุมรอบด้าน อย่างไรก็ตามการสร้างโซลูชั่นไอโอที ที่สามารถสร้างมูลค่าที่แท้จริงได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
ซึ่งหากไม่มีสถาปัตยกรรมหลักที่เหมาะสม หรือไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงในด้านการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ และการทำให้หน่วยงานปฏิบัติงาน และกระบวนการทำงานกลายเป็นระบบดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม แม้ว่าแพลตฟอร์มไอโอที นั้นจะมีประโยชน์
แต่มักจะถูกนำมาใช้ในกระบวนของงานระดับที่มีความซับซ้อน และไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยน และไม่สามารถรองรับส่วนประกอบของธุรกิจดิจิทัล และระบบนิเวศได้อย่างสมบูรณ์ ขณะที่ในประเทศไทยการใช้เทคโนโลยีไอโอที ในภาคของอุตสาหกรรมการผลิดของไทยกลับมีแนวโน้มเติบโตเพียง 2%
โดยปัญหาที่เราพบคืออุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่นั้นลังเลที่จะใช้งานเนื่องจากไม่มีความรู้ และความเข้าใจมากเพียงพอในการประยุกต์ใช้ อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนระบบการผลิตไปใช้งานเทคโนโลยีไอโอทีนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนระบบค่อนข้างสูง
ดั้งนั้น Hitachi จึงได้สร้างศูนย์ ลูมาด้า (Lumada) ขึ้นภายในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายในการศูนย์กลางในการนำเสนอโซลูชั่นส์ อินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ (IoT) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างโซลูชั่นส์ดิจิทัลจากการร่วมกันคิดสร้างสรรค์ (Co-Creatiing Digital Solutions)
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจที่แตกต่างกันไป และทำให้การสร้างและปรับแต่งโซลูชั่นไอโอที เป็นเรื่องง่าย แพลตฟอร์มนี้เป็นการรวมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการดำเนินงาน (Operational หรือ OT) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) เข้าด้วยกันอย่างลงตัว
โดยผสานการจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ฺBig Data Analytics) ในรูปแบบสตรีมมิ่ง และความสามารถของ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่ช่วยให้สามารถขับเคลื่อนการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ และเชิงแก้ไขปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการได้
และการร่วมกันคิดสร้างสรรค์ (Co-Creatiing Digital Solutions) และการออกแบบจะอยู่ในรูปแบบของการนำเสนอในส่วนกระบวนการที่จำเป็นก่อน และแน่นอนว่าในขั้นตอนนี้ทาง Hitachi เองก็ไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และหลังจากที่ได้ติดตั้งแฟลตฟอร์ม
เมื่อผู้ประกอบการสามารถยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตได้ก็จะนำไปสู่การปรับปรุงในส่วนงานอื่น ๆ ต่อเอง และอีกเป้าหมายที่สำคัญของศูนย์นี้คือการช่วยพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และยกระดับการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งจะช่วยสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ทั้งในด้านการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเทคโนโลยีไอโอที และการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเชิงนวัตกรรมด้วย ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษามีความสนใจ และเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว 136 องค์กร และมีจำนวนคำสั่งซื้อแล้ว 11 รายการ โดยคาดว่าจะมีผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมศูนย์อีกจำนวนมาก และมีแนวโน้มสนใจ
ยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ยุค 4.0 ด้วย IoT
สมศักดิ์ กาญจนาคาร ผู้อำนวยการศูนย์ ลูมาด้า เซ็นเตอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ศูนย์ลูมาด้าเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการสร้างเศรษฐกิจเชิงมูลค่าแบบยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
โดย Lumada นั้นแตกต่างจากแพลตฟอร์ม IoT ในตลาดปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่ยืดหยุ่น ทำให้การรวมระบบการทำงานเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถปรับขยายได้สำหรับการสร้างโซลูชั่นที่เฉพาะเจาะจงของธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลายรูปแบบ
รองรับการใช้งานโซลูชั่นของพันธมิตรด้านไอโอที และการที่เข้าเปิดให้มีการร่วมกันคิด และพัฒนาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ศูนย์ Lumada ยังเป็นศูนย์แห่งแรกของฮิตาชิ ซึ่งเกิดขึ้นจากนำความสำเร็จในการพัฒนาไอโอที จากประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้ง ญี่ปุ่น จีน และ สหรัฐอเมริกา มารวมกันไว้ที่ศูนย์แห่งนี้
และเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และขอคำปรึกษา ได้เห็นภาพที่ชัดเจนมาขึ้นเราได้ยกเอาตัวอย่างเครื่องที่ใช้ใน โรงงาน โอมิกะ ซึ่งเป็นโรงงาานที่ผลิตของ Hitachi ที่ใช้ระบบแพลตฟอร์ม IoT เเบบเปิด ด้วยการนำเอาข้อมูลทุกอย่างเข้าสู่ระบบ ทั้งรายละเอียด ภาพ และเสียงแถมมาพร้อมคู่มือการทำงานด้วยรูปแบบ 3 มิติ
โดยที่สามารถเปิดดูได้จากหน้าแดชบอร์ด ที่เชื่อมต่อได้ทั้งแบบคลาวด์ และเซิร์ฟเวอร์ภายใน และสังเกตการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาจากหน้าแดชบอร์ดของระบบได้อย่างละเอียด ผ่านกล้องแบบ 360 องศา ความละเอียดสูง ที่สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานที่ถูกต้องของพนักงานได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้เมื่อทำงานร่วมกับระบบ MMMS ที่ใช้ระบบ Augmented Reality หรือ AR ผ่านการส่องด้วยไอแพด และแว่น AR ที่เชื่อมโยงข้อมูลให้แก่ หัวหน้างาน ที่อยู่ภายนอก ก็จะช่วยให้สามารถสร้างกระบวนการตรวจสอบ และแนะนำการแก้ไขได้ดีมากขึ้น
ซึ่งเมื่อมีการนำเอาระบบเข้าไปช่วยจับข้อมูลแล้ว สามารถช่วยลดเวลาของการทำงานจาก 60 วินาที เหลือเพียง 37 วินาทีเท่านั้น เนื่องจากรู้จุดบกพร่อง หรือปัญหาที่แท้จริง ทำให้สามารถวางกลยุทธ์เผื่อให้สามารถแก้ไขได้ตรงจุด และทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สำหรับขั้นตอนในการช่วยผู้ประกอบการสร้างกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ วันนี้จำเป็นต้องเริ่มด้วยการจากการจุดที่สำคัญที่ต้องการดูข้อผิดพลาด แล้ววางกรอบระยะเวลาโครงการระยะยาวประมาณ 2 ถึง 3 ปี และควรเริ่มจากระบบที่สามารถตรวจสอบได้
ซึ่งการวางกรอบระยะเวลาลงทุนในระยะยาว จะทำให้สามารถแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และทำให้อัตราความคุ้มทุนตลอดจนงบประมาณในการลงทุนสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจได้มากขึ้น ขณะที่ในส่วนของการออกแบบระบบ และติดตั้ง จะเริ่มตั้งแต่ระยะเวลาในการวิเคราะห์รูปแบบปัญหา การนำ Lumada เข้าไปใช้
แล้วจึงออกแบบและวางระบบ ที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโซลูชั่นได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรงงานโอมิกะของฮิตาชิเอง ใช้เวลาติดตั้ง 4 เดือน และใช้เวลาอีก 2 เดือน เพื่อปรับระบบให้เข้ากับการทำงาน แล้วจึงจีงเริ่มการวิเคราะห์ และพัฒนากระบวนการทำงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน และต่อเนื่อง
สำหรับตลาดประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Hitachi ได้สร้างรูปแบบความร่วมมือทั้ง ด้านการดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยี ระบบไอที และระบบการผลิตตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ Hitachi มีทั้งหมด ด้วยเป้าหมายในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ได้อย่างมั่นคง
ด้วยแผนการดำเนินงาน 3 ช่วง โดยช่วงแรก Hitachi มีเป้าหมายที่จะพัฒนาแนวทางการสร้างเครื่องจักรอัตโนมัติ (Smart Factory) ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเราได้ให้ความรู้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษามีความสนใจ และเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว 136 องค์กร และมีจำนวนคำสั่งซื้อแล้ว 11 รายการ
ช่วงที่สองคือการพัฒนาระบบขนส่งอัจริยะ (Smart Logistics) โดยสร้างการใช้พลังงาน (Energy) และระบบความปลอดภัย (Security) เพื่อช่วยให้เกิดการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเชื่อมโยงกระบวนการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งในด้านพลังงาน และกระบวนการดำเนินงานที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Hitachi เริ่มดำเนินการบ้างแล้ว
และช่วงที่สาม การเข้าไปมีส่วนภาครัฐสร้างเมืองอัจริยะ (Smart City) โดย Hitachi มีเป้าหมายที่จะเข้าไปช่วยรัฐบาล และหน่วยงานรัฐ มีความอัตโนมัติมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาตอบโจทย์ และแทนที่การทำงาน โดยปัจจุบันอยู่ในระว่างศึกษาแนวทางการทำงานร่วมกันในเรื่องของการจัดเก็บรวบร่วมข้อมูล
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่