NEA

จบงาน CLMVT Plus Executive Ptogram 2019 สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ถอดบทเรียนการฝึกอบรมลีดเดอร์อาเซียน เตรียมยกระดับขึ้นสู่เอเชีย…

highlight

  • สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ถอดบทเรียนการฝึกอบรมลีดเดอร์อาเซียน เตรียมยกระดับขึ้นสู่เอเชีย สานสัมพันธ์​ผู้นำ พร้อมต่อยอดสู่ธุรกิจมหาภาคขยายเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนทั่วเอเชีย

NEA ตั้งเป้าปี 63 ยกระดับงาน CLMVT+ สู่เอเซีย

นันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กล่าวว่า โครงการ CLMVT Plus Executive Program on New Economy 2019 เป็นโครงการฝึกอบรมที่จะให้ความรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นระดับผู้นำที่มีบทบาทสำคัญระดับประเทศ

เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้มุ่งเน้นที่การสร้างแบรนด์ดิ้งอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์​ของผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีปฏิสัมพันธ์​ที่แน่นแฟ้น จนนำไปสู่การต่อยอดทางด้านเศรษฐกิจ​และ​การค้า ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่ร่วมกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่องตลอด 5 วันเต็ม 

ขณะที่การได้มาร่วมกัน​ทำกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้นำต่างๆ ยังมีความคาดหวังอนาคตร่วมกัน เนื่องจากประเทศไทยถูกมองว่าเป็นลีดเดอร์ในการจัดการฝึกอบรมผู้นำ และเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ เข้ามาร่วมอบรมให้ความรู้ร่วมกัน เป็นเรื่องที่ดี ทำให้เราสามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และอนาคตยังสามารถต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ

เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ​ในระดับอาเซียนต่อไป ซึ่งในภาพรวมของการอบรมครั้งนี้แม้ว่าเราจะเน้นที่เรื่องของการสร้างอาเซียนแบรนด์ดิ้ง แต่ก็มีเรื่องของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยสร้างแบรนด์ดิ้ง ซึ่งหมายถึงการทำแบรนด์ในกลุ่มสินค้าของ CLMVT+ ให้แข็งแกร่งก่อน เพื่อก้าวเข้าสู่แบรนด์ในระดับอาเซียน แล้วถึงเติบโตไปสู่ระดับโลกต่อไป

นอกจากการเรียนการสอนจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกแล้ว ยังมีการแชร์ประสบการณ์ของผู้นำที่เข้าร่วมอบรม พร้อม​การเวิร์คช้อป ซึ่งตลอดงานที่ได้การเรียนรู้ร่วมกัน 5 วัน ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมถูกเค้นความสามารถที่แท้จริงออกมาได้ และคิดทางออกที่ช่วยตอบโจทย์การพัฒนาได้อย่างตรงจุด

เริ่มตั้งแต่การรู้จักแบรนดิ้งคืออะไร และต่อยอดไปสู่วิธีการที่ถูกต้องในการสร้างแบรนด์​ให้ประสบความสำเร็จ ว่าการทำ
แบรนดดิ้งอาเซียนจะต้องเกิดจากมุมมองของผู้บริโภคทั้งอาเซียน ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องในองค์กร ซึ่งจุดนี้เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในการสร้างแบรนด์

แต่อย่างไรก็คามเทคโนโลยีในการสร้างแบรนด์ก็ยังมีอยู่เยอะมาก การใช้งานเทคโนโลยีจึงไม่ใช่เพียงว่ามีแล้วใช้ แต่ต้องต้องมาเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีใดที่เหมาะสมกับแบรนด์มากที่สุด แล้วจึงค่อยใช้ให้ตรง ดังนั้นต้องรับฟังทุกเทคโนโลยีอย่างตั้งใจ แล้วกลับมาคุยกันภายในองค์กร เพื่อตรวจสอบว่าท้ายที่สุดองค์กรจะต้องปรับตัวอย่างไร

NEA

เปลี่ยนแนวคิดแบบเก่าให้เป็นแนวคิดแบบสตาร์ตอัพ

อีกหนึ่งประเด็นที่ได้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้คือเรื่องของ Digital Mindset ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ที่ผ่านมาธุรกิจแบบดั้งเดิม คำนึงถึงความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมากจนทำให้เราเชื่องช้าในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ในมุมของ Digital Mindset ของสตาร์ทอัพกลับเชื่อว่า “ต้องล้มให้เร็ว และลุกให้เร็ว”

เพื่อจะเรียนรู้ ปรับตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต การนำแนวคิดเช่นนี้เข้ามาปรับใช้กับองค์กรจะช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วมากขึ้น ซึ่งวันนี้เราสามารถประสบความสำเร็จในอาเซียนได้ด้วยการสร้างแบรนด์อาเซียนที่แข็งแกร่ง จากแนวคิด OKR ( Objectives and Key Results)

โดยแนวคิดนี้จะสะท้อนให้เราเห็นว่าไม่ควรมองว่ากิจกรรมที่เราทำอยู่จะได้อะไร แต่ควรมองว่าวันนี้เราต้องการอะไร (Objectives)​ และกิจกรรมนั้นๆเข้ามาตอบโจทย์ได้อย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพท์​ที่ต้องการ ขณะที่เรื่องของ Design Thinking ความสามารถของเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ๆ

การผนวกใช้ Big Data จะช่วยให้เราตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริง ด้วยข้อเท็จจริงบนข้อมูล ทำให้เราสามารถต่อยอดไปสู่ การทำอาเซียนแบรนด์ดิ้งได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นมากขึ้น

NEA
บรรยากาศผู้เข้าร่วมงาน CLMVT+

การเยี่ยมชมผู้นำนวัตกรรมให้มากกว่าความรู้เรื่อง IT

การได้พาผู้เข้าร่วมโครงการไปเยี่ยมชมเยี่ยมชมนวัตกรรมของหัวเว่ย ทำให้ทราบว่าการใกล้เข้ามาของ 5G จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจหลาย ๆ แขนง เนื่องจากความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูล มีความเร็วมาขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจวันนี้จึงต้องคิดให้ออกว่า ความเร็วของเทคโนโลยี 5G นี้จะทำให้ธุรกิจแบบไหนหายไปบ้าง

แล้วเราพร้อมที่จะรองรับเทคโนโลยีนี้แล้วหรือยัง ซึ่งหากไม่เตรียมพร้อม เมื่อมีธุรกิจที่พร้อมแล้วเข้ามาเปลี่ยน จะเกิดอะไรขึ้นกับส่วนใดบ้างในวงจรธุรกิจของตนเอง โดยเมื่อผ่านโครงการมาตลอด 5 วัน เราเห็นการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของผู้ที่เข้าร่วม

หลายธุรกิจพร้อมที่จะปรับ จากการเรียนรู้ภายในงาน ซึ่งมีทั้งคนอายุมากที่จะมองถึงการบริหารเทคโนโลยี และอายุน้อยที่จะมองการประยุกต์ใช้​เทคโนโลยีกับธุรกิจของตนเอง เริ่มมองเห็นโอกาสของการนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปต่อยอดให้เกิดขึ้นจริง

โดยในอนาคตเราอยากเห็นการเชื่อมต่อผู้นำในเชิงของธุรกิจ ซึ่งจะมีการเกี่ยวเนื่องกันทางธุรกิจ และปีหน้าเราอาจจะต้องวางแผนเพื่อให้เกิดการต่อยอดที่เกี่ยวเนื่องกันได้จริงในอนาคต โดยโฟกัสไปที่ประเทศที่เป็นยักษ์​ใหญ่ทางการค้าอย่างประเทศจีน และอินเดีย

เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่ตลาดที่ใหญ่ของ 2 ประเทศนี้ต่อไป โดยปีหน้าทางสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ก็หวังว่าจะสามารถขยายขอบเขตของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมไปสู่ระดับเอเชีย โดยรวมประเทศจีน และอินเดียเข้ามาได้ เพื่อเชื่อมโยงลีดเดอร์ได้มากกว่าแค่อาเซียน แต่ขยับขึ้นสู่ระดับเอเชีย 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่