หัวเว่ย เดินหน้าสานความร่วมมมือ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดงาน Thailand IoT Industry Summit หวังช่วยแนะแนว และผลักดัน สตาร์ทอัพ IoT ในไทยพัฒนาธุรกิจ…
highlight
- ผลสำรวจทั่วโลกยังเผยให้เห็นว่า ทั่วโลกมีความตื่นตัวในการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ ไอโอที ในเชิงพาณิชย์ผ่านอุปกรณ์โมบาย ไอโอที ไปแล้วทั้งสิ้น 114 เครือข่าย และคาดว่าการเติบโตของการพัฒนาโครงข่าย ไอโอที นี้ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 หมื่นล้าน ภายใน 6 ปี
เก็บตก Huawai Thailand IoT Industry Summit 2019
หัวเว่ย ประเทศไทย รวมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และ เควกเทล ภายใต้ธีม “ไอโอที ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ดันไทยก้าวไกลสู่เศรษฐกิจดิจิทัล” (the Engine of Thailand 4.0 to Drives Digital Economy)
โดยภายในงานดังกล่าว ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่มีคว่ทเกี่ยวข้องกับ “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” จากภาคเอกชนมาร่วมแสดงขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านสมาร์ทซิตี้ (Smart City) สมาร์ทอินดัสทรี่ (Smart Industries) และสมาร์ทไลฟ์ (Smart Life)
ที่สามารถนำไปใช้งานต่อยอดในเชิงพาณิชย์ในหลากหลายรูปแบบ ต่าง ๆ อาทิ สมาร์ทมิเตอร์และอุปกรณ์ติดตามวัว (Connected Cow), อุปกรณ์ติดตามรถ (Smart tracker), อุปกรณ์ดูแลเด็ก, และสมาร์ท ปาร์คกิ้ง (Smart Parkking) เป็นต้น
นอกจากนี้ จากผลสำรวจทั่วโลกยังเผยให้เห็นว่า ทั่วโลกมีความตื่นตัวในการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ ไอโอที ในเชิงพาณิชย์ผ่านอุปกรณ์โมบาย ไอโอที ไปแล้วทั้งสิ้น 114 เครือข่าย และคาดว่าการเติบโตของการพัฒนาโครงข่าย ไอโอที นี้ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 หมื่นล้าน ภายใน 6 ปี (2568) และจำทพให้เกิดธุรกิจรูปแบบการสร้างรายได้ใหม่ ๆ
ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยคาดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะเป็นภูมิภาคที่มีรายได้สูงสุดราว 3.68 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้จาก ไอโอที ทั่วโลกจะเติบโตสูงกว่าราว 4 เท่า คิดเป็นมูลค่าราว 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568
โดยมีปัจจัยหลักคือการผลักดันส่งเสริมของรัฐบาล และการความต้องการใข้ในภาคอุตสาหกรรม เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจ ขณะที่ในส่วนการเชื่อมต่อ IoT ทั่วโลกจะเพิ่มสูงถึง 2.5 หมื่นล้านในราวปี 2568 และมีตัวอย่างการใช้งาน (Use Case) ของเทคโนโลยี NB-IoT ถึง 50 รูปแบบใน 40 อุตสาหกรรมทั่วโลก
โดยมีจีนเป็นประเทศที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม ไอโอที “OceanConnect” อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นโอเพ่นอีโคซิสเต็มที่พัฒนาขึ้นบน IoT
และคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ที่จะช่วยให้บริษัทพันธมิตรผู้พัฒนาระบบ (System Integrator : SI) ในประเทศไทยสามารถพัฒนา ไอโอที และนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการเปิดเผยจากทาง หัวเว่ย ว่าในประเทศไทย ได้มีการใช้งานแอปพลิเคชันหลายอย่างผ่านทางแพลตฟอร์ม IoT
และระบบคลาวด์ OceanConnect ของหัวเว่ย แล้ว อาทิการใช้ เอ็นบี-ไอโอที ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ หรือการใช้งานอุปกรณ์ติดตามมอเตอร์ไซค์ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามกับมอเตอร์ไซค์ของตำรวจเพื่อบริหารงานด้านจราจร
นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันจอดรถอัจฉริยะราว 1,100 ช่องจอดเมื่อตอนต้นปี 2562 รวมถึงอุปกรณ์ติดตามบุคคลสำหรับติดตามเด็กที่ใช้งานในโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา
รัฐ-เอกชน เชื่อ ไอโอที คือ กุญแจ เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม กล่าวว่า ไอโอที เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะมาช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อีกทั้งยังจะช่วยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทยเกิดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งด้านสมาร์ทซิตี้ สมาร์ทอินดัสทรี่ และสมาร์ทไลฟ์ ทางกระทรวงเชื่อว่าไอโอที จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราอีกด้วย จะกลายเป็นกลายเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ยุคดิจิทัล สร้างมูลค่าทางสังคม และเศรษฐกิจในระดับสูง
ซึ่งปัจจุบัน เริ่มมีการพัฒนานัวตกรรมใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี ไอโอที ออกสู่ตลาด ทั้งจากผู้ประกอบการรายเล็ก และรายใหญ่ อาทิ เช่น เอไอเอส และทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้วางโครงข่าย เอ็นบี-ไอโอที ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีการใช้งานในเชิงพาณิชย์แล้ว
โดย AIS ได้เปิดให้บริการ เอ็นบี-ไอโอที โดยใช้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ครอบคลุมทั่วทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย และ True Corporation ก็ได้เปิดให้บริการ เอ็นบี-ไอโอที ทั่วทั้งประเทศเช่นกัน โดยได้มีการทดสอบการใช้งานบางรูปแบบ อาทิ การติดตามเด็ก ผู้สูงอายุ, มิเตอร์วัดน้ำอัจฉริยะ มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ
เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและสภาพร่างกายของวัว (Cow-Connected) และยังมีตัวอย่างการใช้งาน (Use Case) ที่เริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว อาทิ การติดตามรถ ที่จอดรถอัจฉริยะ ระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ เป็นต้น
ขณะที่โครงการ สมาร์ท ซิตี้ หรือ เมืองอัจฉริยะ ที่มีเป้าหมาย 30 เมืองใน 24 จังหวัดในราวปี 2563 และพลิกโฉมเมืองอีก 100 แห่งทั่วประเทศให้เป็นเมืองอัจฉริยะในปี 2565 ก็จะเป็นโครงการที่ช่วยผลักดันเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
ด้าน มร. เอเบล เติ้ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้โลก และชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนเราตั้งตัวไม่ทัน หัวเว่ยก็มีส่วนช่วยผลักดันอีโคซิสเต็ม และการพัฒนา ไอโอที ในประเทศไทย
ด้วยการสตาร์ทอัพ ในประเทศไทย ด้วยการผสานความร่วมมือกับพันธมิตรด้าน ไอโอที ทั้งในและต่างประเทศ และนำกรณีการใช้งานจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยให้มากขึ้น นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังได้ เดินหน้าในการสร้างระบบนิเวศในประเทศไทย
ผ่านการสนับสนุนพันธมิตร Software Integrator (SI) ในประเทศไทย และผนวกรวมชุมชนพันธมิตร ไอโอที ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนนักพัฒนา และ SI ในการขับเคลื่อน ไอโอที ให้เข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น
“เราหวังที่จะเห็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม IoT ในประเทศไทยผ่านการทำงานร่วมมือกันที่มากขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลและประเทศไทย 4.0 ให้รุดไปข้างหน้า”
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่