AI

ในยุคที่ เอไอ (AI) กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมากกว่าจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีชีวิตของมนุษย์ และจะทำให้มนุษย์ตกงาน แต่หากเรามองอีกมุมจะก็จะทราบว่ามันไม่ได้มีแต่มุมแย่ ๆ ไปทุกเรื่อง แต่เราสามารถใช้เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” ช่วยทำให้เรายังคงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ได้อยู่…

highlighti

  • ปัญญาประดิษฐ์ อาจจะเข้ามาแทนที่งานที่เป็นกิจวัตร แต่ในระยะยาว เราอาจจะรู้สึกขอบคุณ ปัญญาประดิษฐ์ จะเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั้งนักวิทยาศาสตร์ ศิลปินนักดนตรี และนักเขียน จะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ด้วยการใช้ เอไอ ในฐานะเครื่องมือวิเคราะห์ และช่วยให้มนุษย์ก็จะสามารถมีเวลามากขึ้น

ในยุค AI ครองโลก มนุษย์จะยังมีคุณค่าได้อย่างไร?

ทุกวันนี้เวลาเราพูดถึง ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มักจะพูดถึงในแง่มุมของการช่วยเข้ามาทำงาน หรือมาแย่งงานจากมนูษย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่จะคิดเช่นนั้น เพราะสิ่งที่ เอไอ ทำได้ ในหลาย ๆ แง่มุม คือการเข้าไปทำงานในส่วนงานที่ซ้ำซากจำเจ หรืองานที่ไม่ต้องสร้างสรรค์ แน่นอนว่าการที่ เอไอ สามารถทำงานแทนในส่วนดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบ

ต่อรูปแบบการทำงานของหลาย ๆ ธุรกิจ และสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ ไปยังคน ที่เคยทำงานง่าย ๆ ไม่ต้องใช่ทักษะพิเศษอะไร ทำให้คนในกลุ่มนี้ถูกแทนที่ และต้องตกงานในที่สุด หากไม่สามารถปรับตัว หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองได้ แต่อย่างไรก็ดี ในหลายแง่มุม ก็ยังมีสิ่งที่ เอไอ ไม่สามารถเข้าไปแทนที่คนได้

ซึ่งเรื่องกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้ มนุษย์ยังคงเป็นมนุษย์ และเอไอไม่สามารถเข้าไปแทนที่ได้ โดยหนึ่งในหลาย ๆ มุม ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังแง่มุมที่น่าสนใจจากเวที TED Talks ที่ฟังดูแล้วน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในนักพูดที่เคยพูดในเวที และสะท้อนความคิดไว้อย่างน่าสนใจ คือ

ไค ฟู ลี (Kai-Fu Lee) Investor, computer scientist ได้ให้ความเห็นว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ นั้น เกิดขึ้นมานานแล้วเพียงแต่ วันนี้เกมการแข่งขันของผู้พัฒนาเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ จะแบ่งเป็น 2 ขั่วมหาอำนาจ คือจีน และสหรัฐฯ ซึ่งต้องยอมรับว่าการแข่งขันของทั้ง 2 ประเทศ ในวันนี้ประเทศที่พัฒนาได้รวดเร็ว

กว่าไม่ใช่ประเทศที่เคยเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีในอดีตอย่างสหรัฐฯ แต่เป็นจีนที่ก้าวไปได้รวดเร็วกว่า โดยสาเหตุของการที่ประเทศจีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยี เอไอ ได้รวดเร็วกว่านั้นเกิดขึ้นจาก วงจรของการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป ในอดีตวิธีการของบริษัทฯ ต่าง ๆ ใน ซิลิคอนวัลเลย์ จะแข่งขันกันในรูปแบบของการ ผลัดกันโจมตีคู่แข่ง

ผลัดกันนำเสนอสิ่งที่คิดค้นพัฒนา แต่จีนกลับใช้แนวการแข่งขันแบบโจมตีที่มุ่งหวังให้ตายกันไปข้าง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตัวเอง แนวคิดเช่นนี้ ไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และทำให้เกิดการแข่งขันในหมู่ผู้ประกอบการ หรือนักพัฒนาเทคโนโลยีในจีนต่างเติบโตอย่างรวดเร็ว

โดยเรียนรู้การผลิตสินค้าให้ดีขึ้นได้รวดเร็วทันใจ และพัฒนารูปแบบธุรกิจของตัวเอง จนธุรกิจมีความเข้มแข็ง ผลที่ได้ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จีนสามารถ พัฒนา วีแชต และเวยป๋อ ขึ้นมาแข่งกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยเอมริกาอย่าง เฟสบุ๊ก และทวิตเตอร์ ได้อย่างสูสี

แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของการข้อมูลที่มาจากทุกที่ ยิ่งส่งผลทำให้เกิดความต้องการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มากขึ้น ซึ่งคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 นี่จะทำให้เกิดการท้าทายครั้งใหญ่ในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงว่า เอไอ กำลังจะเข้า ไปแย่งงานงานมนุษย์ ที่จะไม่ใช่เพียงแค่ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม

แต่รวมไปถึง คนขับรถบรรทุก รถยนต์ งานขายทางโทรศัพท์ งานบริการลูกค้า นักโลหิตวิิทยาและรังสีแพทย์ในอีก 15 ปีข้างหน้า งานเหล่านี้จะค่อยๆ ถูกทดแทนโดย ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ แต่อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่า เอไอ จะสร้างแต่ผลกระทบ เพราะเราสามารถใช้ประโยชน์จาก เอไอ ในการสร้างอาชีพเกิดใหม่ได้

หรือโยกกำลังไปใช้ในอาชีพอื่น ๆ ที่ยังเป็นต้องการในตลาดแรงงานได้ โดยฉพาะงานที่เกี่ยวเนื่องกับด้านความคิดสร้างสรรค์ หรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างคุณค่าในสังคม รวมถึงสร้างประติสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ที่ปัจจุบันแทยจะไม่เห็นกันแล้ว เพราะเราโตกันมาในยุคของการแข่งขัน ที่ทุกคนมุ่งสร้างความสำเร็จในแก่ชีวิต

ด้วยการทำงานหนัก จะพึงพอใจกับผลของความสำเร็จของผลงานของตน ขาดความใส่ใจต่อตนเอง และคนรอบตัวจนสร้างความห่างเหินกันในที่สุด แล้วเราจะสามารถนำเอา เอไอ มาเปลี่ยนวงจรนี้ได้อย่างไร คำตอบง่าย ๆ ของคำถามนี้คือ ปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้แย่งงานมนุษย์ แต่กำลังเข้าไปทดแทนงานที่เป็นกิจวัตร งานที่ไม่ใด้ใช้ความคิดสร้างสรรค์

เเต่ที่มนุษย์กลัวเพราะไม่รู้ว่าจะไปทำงานอะไร กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ลืมคิดว่างานที่ทำอยู่นั้นใข้ตัวตนของตัวเองหรือไม่ สำหรับผมที่เคยผ่านจุดนั้นมาก่อน เคยผ่านจุดที่ป่วยหนัก เฉียดความตายมา ทำให้สรุปได้ว่า จริง ๆ แล้วเหตุผลที่เรามีชีวิต คือ ความรัก ตอนเราอุ้มเด็กแรกเกิด ตกหลุมรักแรกพบ หรือช่วยเหลือคนที่ลำบาก

 

AI

โดยมนุษย์สามารถเป็นทั้งผู้ให้ และผู้รับความรัก นั่นคือข้อแตกต่างของเราจากปัญญาประดิษฐ์ ถึงแม้ในนิยายวิทยาศาสตร์อาจบอกแบบนั้น ผมรับประกันได้เลยว่า ปัญญาประดิษฐ์ไม่มีความรัก อย่างที่ ตอนที่ “เอไอ อัลฟ่าโก” ล้ม “เคอเจี๋ย แชมป์โกะระดับโลก” ขณะที่เคอเจี๋ยร้องไห้ และมีความรักต่อเกมโกะ

“เอไอ อัลฟ่าโก” ไม่มีความรู้สึกเช่นนั้นแน่นอน ไม่มีทางที่ เอไอ จะรู้สึกอยากกอดคนที่รัก แล้วเราแยกแยะตัวเราในฐานะมนุษย์ ในยุคของปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ได้อย่างไร เราได้พูดถึงความสำคัญของความความคิดสร้างสรรค์ นั่นคือความเป็นไปได้อย่างเดียวที่ เอไอ ทำไม่ได้

ซึ่งเราสามารถสร้างงานใหม่ที่มุ่งเน้นในด้านนี้ขึ้นมา หรือเพิ่มสัดส่วนให้มากขึ้น แน่นอนว่าอาจถามว่าจะมีงานแบบนั้นสักเท่าไร แต่สิ่งที่ผมจะถามกลับไปคือ ไม่คิดหรือว่าเราจะต้องการนักสังคมสงคราะห์จำนวนมาก เข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลง ไม่คิดหรือว่าเราต้องการผู้ดูแลที่ใส่ใจอีกจำนวนมาก เพื่อดูแลด้านสุขภาพแก่ผู้คนมากมาย

ไม่คิดหรือว่าเราจะต้องการครูเพิ่มอีกสิบเท่า เพื่อช่วยชี้แนะแนวทางให้เด็กรุ่นใหม่ ให้อยู่รอด และเติบโตได้ดีในโลกใหม่อันท้าทาย และความมั่งคั่งที่เพิ่งถูกค้นพบ เราไม่ควรสร้างแรงงานที่มีความรักในงานนั้น งานคนดูแลผู้สูงอายุ หรือครูที่สอนโดยเรียนที่บ้านให้กลายเป็นอาชีพหรือ

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ะช่วยเราให้ไม่ต้องทำงานที่ซ้าซาก และช่วยย้ำเตือนว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์

ปัญญาประดิษฐ์ อาจจะเข้ามาแทนที่งานที่เป็นกิจวัตร แต่ในระยะยาว เราอาจจะรู้สึกขอบคุณ ปัญญาประดิษฐ์ จะเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั้งนักวิทยาศาสตร์ ศิลปินนักดนตรี และนักเขียน จะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ด้วยการใช้ เอไอ ในฐานะเครื่องมือวิเคราะห์ และช่วยให้มนุษย์ก็จะสามารถมีเวลามากขึ้น

ในการทำงานสังคมสงเคราะห์ และแยกความเป็นตัวเรา ด้วยงานที่ใช้ทักษะเฉพาะตัว ซึ่งมีทั้งความใส่ใจ และความสร้างสรรค์ ได้ใช้พลังสมอง และใจของเรา ซึ่งไม่อาจถูกทดแทนได้ ปัญญาประดิษฐ์ คือการค้นพบที่ดี เพราะจะช่วยปลดปล่อยเราจากงานที่ต้องทำซ้ำซาก และช่วยย้ำเตือนว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์

*สามารถอ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ เอไอ (Artificial Intelligence หรือ AI) คลิก

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, www.ted.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่