Humanities

อาจเป็นเรื่องที่ชวนสงสัยว่า บริษัทฯ ต่าง ๆ ที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี หลาย ๆ แห่ง จึงไม่สามารถไปต่อได้ และต้องปิดกิจการลงทั้ง ๆ ที่ไอเดีย ดี ซึ่งคตอบของคำถามนี้คือนั่นก็เพราะบริษัทฯเหล่านั้น ขาดสิ่งที่เรียกว่า “มนุษย์ศาสตร์” (Humanities) ทำให้ติดกับดักที่ตัวเองขุดขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

highlight

  • ในอนาคตของเราจะเต็มไปด้วยคนจบ STEM ซึ่งในทางทฤษฎี มันฟังดูมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ แต่มันก็เกินจริง และทำให้เหมือนกับว่าเรามีทีมฟุตบอลทีมหนึ่งที่ผู้เล่นทั้งทีม วิ่งไล่บอลไปที่มุมสนาม เพราะตรงนั้นมีบอลอยู่ แต่ไม่มีใครวิ่งไปในส่วนอื่นของสนามเลย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้มันน่ากลัว เพราะจะทำให้เกิดแรงงานที่ล้นตลาด เกินกว่าที่จำเป็น เราไม่ควรให้ค่าวิทยาศาสตร์มากกว่าที่เราให้ค่ามนุษยศาสตร์

ธุรกิจเทคโนโลยีไม่ใช่เเค่เรื่องของ STEM แต่รวมถึง Humanities ด้วย

ปัจจุบันเราได้ยินเรื่องของ “สะเต็มศึกษา” (Science Technology Engineering and Mathematics Education หรือ STEM) บ่อยมากขึ้น ด้วยความเชื่อที่ว่าโลกกำลังก้าวสู่ยุคที่เทคโนโลยีจะเข้าไปขับเคลื่อนโลกในทุกส่วน ธุรกิจในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ต่างจึงเร่งที่จะแสวงหาบุคลากร

ที่มีความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เข้าสู่องค์กร และใช้ความสามารถจากบุคลากรที่เชี่ยวชาญสาขาวิชาเหล่านี้ ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่คิดค้นขึ้น แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

แต่เชื่อหรือไม่? ว่าหลาย ๆ ครั้ง แนวคิดนวัตกรรมที่ดีเยี่ยมเหล่านั้น กลับไม่สามารถไปต่อได้ และจำเป็นต้องปิดตัวลง ด้วยความสงสัยว่าเพราะอะไร นวัตกรรมที่คิดค้นมาเป็นอย่างดี ไม่สามารถขายได้ ทำไมจึงไม่มีผู้ใช้บริการ ใช่ครับ!! นี่คือความเป็นจริงที่แสนโหดร้ายของโลกผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีแก่ธุรกิจ ที่เราต้องยอมรับ

ซึ่งแม้แต่ตัวผู้เขียนเองก็ยังสงสัย แต่ความคิดนี้ได้ถูกลบล้างลง หลังจากที่ได้ฟังแนวคิดที่น่าสนใจจาก เอริก เบอร์ริดจ์ (Eric Berridge) ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Bluewolf บริษัทลูกของ IBM ที่พูดในเวที TEDtalks สิ่งที่ เอริก เบอร์ริดจ์ พูดนั้นมีความน่าสนใจในแง่ของมุมมองต่อเรื่อง STEM

โดยเค้าถ่ายทอดความเห็นว่าโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ทุกคนโฟกัสในเรื่องของการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และให้ความสำคัยต่อเรื่องของการพัฒนาคนด้วยผ่านศาสตร์ สะเต็มศึกษา” เพื่อให้บุคลากรที่เรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ

ที่มีอยู่ใน STEM (Science, Technology, Engineering และMathematics) สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ออกมา และไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด เพราะทุกเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกในยุคปัจจุบันล้วนเกิดจากหลักการของ STEM เกือบทั้งสิ้น

Humanities
เอริก เบอร์ริดจ์ (Eric Berridge) ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO ของบริษัท Bluewolf บริษัทลูกของ IBM

“ผมไม่ได้บอกว่าเรื่องของ STEM นั้นผิด แต่!! เรากำลังหลงทาง และโฟกัส ธุรกิจกันอย่างผิด ๆ และทำให้ธุรกิจอาจไปไม่รอด ซึ่งผมประสบกับเรื่องนี้มากับตัว และเรียนรู้ จากสิ่งที่เกิดขึ้นจนเข้าใจว่า สาเหตุเกิดอะไร ทำไมนัวตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาจึงไปไม่รอด และลูกค้าไม่เข้าใจ และเพราะอะไรเราจึงไม่สามารถอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจได้” เอริก กล่าว

เพราะในช่วงเวลาหนึ่ง ทีมวิศวกร และโปรแกรมเมอร์ของ Bluewolf ของเรานั้นไม่สามารถจัดการกับระบบคลาวด์ (Cloud) ของลูกค้าได้ และกำลังจะถูกเลิกจ้าง เพราะไม่สามารถหาทางแก้ได้ จนวันหนึ่งเหล่าโปรแกรมเมอร์ และวิศวกรของ Bluewolf ได้ไปคลายเครียดที่บาร์เหล้าที่ไปประจำ และได้พูดคุยกับ “เจฟ” บราเทนเดอร์ของบาร์นั้น

เพื่อระบายความหนักใจของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่คาดหวัง แต่การระบายปัญหาดังกล่าว กับกลายเป็นทางออก และทำให้ Bluewolf สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะบาร์เทนเดอร์ของร้านดังกล่าว ได้เสนอตัวเล่น ๆ ว่า “ทำไมไม่ลองส่งผมไปล่ะ ผมช่วยแก้ปัญหาให้ได้นะ” และจากที่ไม่มีอะไรจะเสีย

ผม และทีมจึงลองเสี่ยงส่ง บาร์เทนเดอร์ คนดังกล่าวไปยังบริษัทฯ ของลูกค้า ซึ่งเพื่ออธิบายสิ่งที่ทีม Bluewolf พยายามจะสื่อสารกับลูกค้ามาตลอดแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งหลังจาก 2-3 วัน แห่งความหวั่นใจ ปรากฏว่า บาร์เทนเดอร์เจฟ ไม่ถูกส่งกลับมา และ Bluewolf ไม่ถูกเลิกจ้าง เกิดอะไรขึ้น? เจฟ ทำอะไร? คำถามเกิดขึ้นมากมาย

แต่สุดท้ายผมก็ได้ทราบว่า เจฟ ได้ทำให้เรื่องของเทคนิคกลายเป็นประเด็นรอง แต่นำเสนอให้ลูกค้าของ Bluewolf ทราบว่าสิ่งที่ Bluewolf กำลังสร้างคืออะไร และสร้างไปทำไม และจะช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ ผมเปลี่ยนความคิดไปเลย

เพราะ เจฟ ซึ่งเคยเป็นนักศึกษาเอกปรัชญา ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาอย่าง U Penn (University of Pennsylvania) และล่าออกก่อนจบมาเป็นบาร์เทนเดอร์ ทำให้เรื่องยาก ๆ กลายเป็นเรื่องง่าย ๆ ทำให้ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะทำแบบเดียวกันนี้ได้อีกหรือไม่?

ผมจึงเปลี่ยนวิธีสรรหา และอบรมคนของ Bluewolf ใหม่ โดยให้วิศวกร และโปรแกรมเมอร์เลิกคิดที่จะใช้แต่เรื่องเทคนิค แต่ให้ทุกคนได้กลับมาคุยกันว่า เราจะสร้างอะไร และสร้างไปทำไม และนำความคิดดังกล่าวไปสู่การแก้ปัญหา

กรณีของเจฟ ได้ทำให้เราเปลี่ยน วันนืี้ที่ Bluewolf มีบุคลากรมากกว่า 1 พันคน จากเดิมที่มีแต่ วิศกร 200 คน แต่เราเพิ่มการค้นหาศิลปิน นักดนตรี นักเขียนเข้ามา เพื่อสร้างความหลากหลาย ให้แก่บริษัทฯ และใช้ทักษะ ที่แตกต่างกันในส่วนงานที่เหมาะสม

อาทิ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของเราจบสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และเขาเคยปั่นจักรยานส่งของในแมนฮัตตัน เราก็ได้จ้างเค้ามาเพื่อดูแลแผนกเทคโนโลยี แต่แน่นอนว่า Bluewolf ยังคงมองหาวิศวกร หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือบุคลากรที่เกี่ยวกับ STEM อยู่ แต่ลดเหลือไม่ถึง 100 คน แต่กลับสามารถสร้างรายได้ปีล่ะ 10 พันล้านดอลลาร์

การให้ความสำคัญ STEM มากเกินไปอาจไม่ใช่ทั้งหมด

เอริก เบอร์ริดจ์ ให้ความเห็นว่า การผลักดันการศึกษาด้วย STEM วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรม (E) คณิตศาสตร์ (M) ในสหรัฐฯ กำลังกลายเป็นนโยบายที่น่ากลัว เพราะตั้งแต่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จำนวนของผู้มีปริญญาด้าน STEM ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 43%

ในขณะที่บัณฑิตในสายมนุษยศาสตร์ยังคงเดิม ประธานาธิบดีคนก่อนของสหรัฐฯ ทุ่มงบกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการศึกษาด้าน STEM ขณะที่สาขาวิชาอื่น ๆ ถูกลดบทบาท ขณะที่ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเรา ก็เพิ่งเทงบ 200 ล้านดอลลาร์ ไปที่วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 

ขณะที่ CEO ในบริษัทฯ ชั้นนำทั้งหลายต่างก็พากันบ่นเรื่องกำลังการขาดแรงงานด้านวิศวกรรม แนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้มาจากการที่เศรษฐกิจโตจากเทคโนโลยีมากกว่าส่วนอื่น หากสังเกตให้ดีก็จะทราบว่า 7 ใน 10 ของบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดจากการทำตลาดในโลกตอนนี้ คือ บริษัทเทคโนโลยี

สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดสมมุติฐานที่ว่า กำลังแรงงานในอนาคตของเราจะเต็มไปด้วยคนจบ STEM ซึ่งในทางทฤษฎี มันฟังดูมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ แต่มันก็เกินจริง และทำให้เหมือนกับว่าเรามีทีมฟุตบอลทีมหนึ่งที่ผู้เล่นทั้งทีม วิ่งไล่บอลไปที่มุมสนาม เพราะตรงนั้นมีบอลอยู่ แต่ไม่มีใครวิ่งไปในส่วนอื่นของสนามเลย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้มันน่ากลัว 

เพราะจะทำให้เกิดแรงงานที่ล้นตลาด เกินกว่าที่จำเป็น เราไม่ควรให้ค่าวิทยาศาสตร์มากกว่าที่เราให้ค่ามนุษยศาสตร์ ด้วยเหตุผล 2-3 ข้อ ซึ่งข้อแรกคือเราต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยีทุกวันนี้ใช้ง่าย มันเหมือนตัวต่อเลโก ที่ต่อเข้ากันได้ง่าย เรียนรู้ได้ง่าย และสร้างโปรแกรมได้ง่าย โดยใช้ข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่แล้วเพื่อการเรียนรู้

Humanities

เราจึงควรจ้างคนจากหลายสาขาวิชา แล้วหลอมเทคโนโลยีเข้ากับทักษะเฉพาะ (แต่ทักษะเหล่านั้นสามารถได้มาจากการศึกษาแบบเป็นทางการ และเคร่งครัด น้อยกว่าที่เคยเป็นในอดีต) ข้อที่สอง คือ เราต้องใช้บุคลากรที่มีทักษะที่จำเป็น และสร้างความแตกต่างได้ เพราะเทคโนโลยีมันง่ายกว่าที่คิด 

แต่ส่วนที่ยากคือ ขั้นตอนสุดท้ายต่างหาก เพราะไม่ว่าเราจะสร้างนวัตกรรมที่ดีเลิศขนาดไหนออกมา แต่ไม่สามารถฉายภาพสุดท้าย หรือบอกถึงประโยชน์ของมันได้ ก็ไม่มีประโยชน์ อย่างที่เราเรียนรู้จากกรณีของ “บาร์เทนเดอร์เจฟ” ที่ทำให้เราทราบว่าลูกค้าของเรากำลังให้ความสนใจไปผิดเป้าหมาย เพราะวิศวกรของเราขาดทักษะ

ในการสื่อสารกับภาคธุรกิจ และผู้บริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ภาคธุรกิจล้มเหลวเพราะไม่สามารถระบุความต้องการที่แท้จริงได้ เราต้องทำความใจใหม่ว่า “วิทยาศาสตร์สอนเราว่าจะสร้างอย่างไร มนุษยศาสตร์สอนเราว่าอะไรที่ควรสร้าง และทำไมต้องสร้างมัน” และทั้ง 2 เรื่อง ยากพอ ๆ กัน เราไม่ควรที่จะให้ความสำคัญแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ผมไม่ได้บอกว่าไม่ควรเขียนโปรแกรม หรือไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องของ STEM เพราะมันเหมือนสะพานที่เราจะต้องขับรถข้ามไป หรือลิฟต์ที่ต้องใช้เพื่อขึ้นไปรวดเร็ว และก็ไม่ได้บอกว่ามนุษย์ศาสตร์คือทุกสิ่งแต่เราสามารถใช้ความสามารถของวิศวกรอยู่เบื้องหลังการสร้างนวัตกรรมได้ 

และไม่ควรหวาดระแวงไปว่าจะหางานได้ยาก เนื่องจากงานในอนาคตมี STEM เป็นแก่น หากคุณคิดเช่นนั้นมันเป็นเรื่องที่งี่เง่า ดังนั้นหากคุณมีเพื่อน ลูก ญาติ หรือหลาน ๆ ขอให้สนับสนุนให้พวกเขาเป็นอะไรก็ตามที่พวกเขาอยากจะเป็น เพราะงานทั้งหลายรออยู่

เชื่อหรือไม่ว่าเจ้าของบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ประกาศหาคนด้าน STEM อย่าง กูเกิ้ล แอปเปิ้ล เฟซบุ๊ก กว่า 65% ของตำแหน่งงานที่พวกเขาเปิดรับสมัครงาน ไม่ใช่แค่งานในสายเทคนิค, นักการตลาด, นักออกแบบ, ผู้จัดการโครงการ, ผู้จัดการโปรแกรม, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์, นักกฎหมาย

แต่รวมถึงนักทรัพยากรบุคคล, นักฝึกอบรม, โค้ช, นักขาย, และอื่น ๆ ดงันั้นหากถามว่าตลาดแรงงานในอนาคตต้องการอะไร ผมคิดว่าเราทุกคนต้องการ “ความหลากหลาย” แต่เป็นความหลากหลาย ทักษะ นี่แหละแรงงานในอนาคตของเรา 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, www.ted.com, 
                                        www.tcdc.or.th

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ e-leader fanpage