
วันคนโสด (Single Day) หรือ 11.11 เทศกาลช็อปปิ้งออนไลน์ที่คนยุคใหม่ชื่นชอบ แต่ความชื่นชอบนี้จะกลายเป็นวันเทศกาลช็อปปิ้งข้อมูลของเหล่าแฮกเกอร์ด้วยเช่นกัน โดยในปีที่ผ่านมา เพียงไม่กี่วัน ก่อนเทศกาลดังกล่าวได้มีการโจมตี หรือหลอกลวงในรูปแบบของการ ฟิชชิ่ง (Phishing) มากถึง 950,000 ครั้งต่อวัน เลยทีเดียว…
highlight
- การตรวจสอบพฤติกรรมการโจมตีในภูมิภาคเอเซีย ก่อนเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดในปี 2018 ที่เพิ่มสูงขึ้นแบบพุ่งพรวด โดยในเดือนตุลาคม 2018 พบการโจมตีฟิชชิ่ง 350,000 ครั้งต่อวัน จากนั้นก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2018 เพียงไม่กี่วัน พบการโจมตีสูงขึ้นเป็น 950,000 ครั้งต่อวัน
มหกรรมช้อปปิ้ง 11.11 ที่นักช้อปอาจโดนช้อปเสียเอง
วันคนโสด (Single Day) หรือ 11.11 เทศกาลช็อปปิ้งออนไลน์ ที่คนโสด หรือไม่โสด ต่างชื่นชอบ เพราะเป็นเทศกาลที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นสินค้าในราคาพิเศษ ที่ทั้ง “ลด แลก แจก แถม“ ที่แสนจะดึงดูดใจให้ยอมทำหลาย ๆ อย่าง เพื่อแลกกับการได้สิทธิพิเศษ!! ที่มากขึ้น
แต่!! มหกรรมช้อปปิ้ง ที่น่าจะเป็นวันที่แสนจะมีความสุข อาจจะไม่สุขอีกต่อไป หากขาดสติ และความรอบคอบในการพิจารณาโฆษณาเชิญชวน ที่มาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บัตรของขวัญ หรือ เงื่อนไขส่วนลดหากยอมกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ให้แก่เว็บไซค์ต่าง ๆ ที่ทำขึ้นมาหลอกลวงให้เหมือนกับ เว็บไซค์ขายสินค้าออนไลน์ชื่อดัง ต่าง ๆ
โดยจากข้อมูลล่าสุดที่ทางนักวิจัยของนักวิจัยแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้เปิดเผยว่า เทศกาลช็อปปิ้งออนไลน์ หรือ วันคนโสด (Single Day) ที่เกิดจาก กลุ่มนักศึกษาจีนกลุ่มหนึ่งได้สร้างเทศกาลนี้ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้คนโสด ไร้คู่ มารวมกันในวันที่ 11 เดือน 11 ได้มาพบปะสังสรรค์ และฉลองปาร์ตี้
และเปิดโอกาสให้คนโลดได้เจอคนที่ถูกใจ จนกลายเป็นเทศกาลยอดนิยมในจีน และจัดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นโอกาสให้ อาลีบาบา (Alibaba) เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ชื่อดังในจีน สร้างแคมเปญขึ้นมาให้สอดรับกับความต้องการของคนโสด และสร้างยอดขายพุ่งทะลุ
จนเป็นแคมเปญที่อีคอมเมิชต่าง ๆ ทำตามนั้น กำลังกลายเป็นช่องทางสำคัญที่เปิดโอกาสให้เหล่า แฮกเกอร์ หรือนักโจรกรรมข้อมูล ใช้ประโยชน์ จากความต้องการความสะดวกสบายในการจับจ่าย เพื่อมอบให้คนที่หมายปอง หรือซื้อสินค้าราคาพิเศษในวันพิเศษนี้
เพื่อฉกฉวยสิ่งที่มีค่ามากที่สุดของยุคสมัยนี้ หรือก็คือ “ข้อมูลส่วนบุคคล“ และนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ หรือกลั่นแกล้งได้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวกำลังทีวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี และขึ้นในทั่วโลก ผ่านวิธีการสร้างช่องทาง หรือรูปแบบ ที่มีลักษณะคล้ายกัยสิ่งที่คุ้นเคย
ไม่ว่าจะเป็นการทำ แอปปลอม การทำเว็บไซตืปลอม การทำเกมส์ปลอม หรือการทำโซเชียลปลอม หรือที่เรียกว่ากลวิธีการตกเหยื่อ “ฟิชชิง“ (phishing) นั่นเอง โดยทิศทางของการโจมตีนั้นจะมุ่งเป้าไปยังเหล่านักช็อปที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียน มากเป็นพิเศษ เนื่องจาก ยังขาดความระมัดระวังมากกว่าในทวีปอื่น ๆ
ซึ่งจากการตรวจสอบพฤติกรรมการโจมตีในภูมิภาคเอเซีย ก่อนเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดในปี 2018 ที่เพิ่มสูงขึ้นแบบพุ่งพรวด โดยในเดือนตุลาคม 2018 พบการโจมตีฟิชชิ่ง 350,000 ครั้งต่อวัน จากนั้นก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2018 เพียงไม่กี่วัน พบการโจมตีสูงขึ้นเป็น 950,000 ครั้งต่อวัน เลยทีเดียว
นอกจากนี้ตั้งแต่ต้นปี 2019 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีความพยายามโจมตี แบบ ฟิชชิ่ง และสแปมที่มีลักษณะคล้ายกัน ในโมบายแอปพลิเคชั่นที่ปลอมแปลงตัวเองหลอกนักช้อปให้เข้าใจว่าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมต่าง ๆ เนื่องจากมีร้านค้าที่จัดโปรชั่นส่วนลดในวันคนโสดเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยจาการสำรวจตั้งแต่ต้นปี 2019 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีร้านค้าออนไลน์กว่า 83% ที่หลอกว่าเป็นร้านในตลาดเอเชีย ขณะที่ในปี 2018 อยู่ที่ 93% จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการโจมตีมีสัด่สวนที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่ากัน แม้ว่ายังไม่สิ้นปีดี
ซึ่งจากผลสำรวจก่อนหน้านี้ พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกภูมิภาคอาเซียน ถือเป็นเป้าหมายในการโจมตีสำคัญ เพราะมากถึง 14 ล้านครั้ง เมื่อพิจารณาลงเป็นรายประเทศพบมีความพยายามในการดึงผู้ใช้ตรงไปยังเว็บไซต์ “Phishing” ปริมาณสูงสุด ได้แก่ ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มากกว่า 11 ล้านครั้งรวมกัน
โดยมีจำนวนเหยื่อฟิชชิ่งมากที่สุด คือ 17.3% สูงกว่าปีที่แล้วที่มีจำนวนเหยื่อ 10.449% ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 65.56% เลยทีเดียว ด้านมาเลเซียตามอยู่ที่ 15.829% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 11.253%) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 14.316% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.719%)
ขณะที่ประเทศไทยเองก็ไม่รอดหลังตรวจสอบพบมียูสเซอร์โดนโจมตีมากถึง 1.5 ล้านครั้ง คิดเป็น 11.972% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.9%) ด้านเวียดนาม 11.703% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 9.481%) ส่วนสิงคโปร์เพียง 351,510 ครั้ง คิดเป็น 5% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 4.142%)
อันเดร คอสติน นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า วันคนโสดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับนักช้อป เพราะมีทั้งโปรโมชั่นและส่วนลดมากมาย และก็ยังเป็นช่วงเวลาในฝันของมิจฉาชีพฟิชชิ่ง และสแปมเช่นกัน นักช้อปมักขาดความระแวดระวังขาดความสังเกตุสิ่งผิดปกติ
เพราะกำลังไล่ล่าสินค้าในราคาที่หมายตาไว้ ทั้งนี้หากนักช้อปปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยไซเบอร์ขั้นพื้นฐานแล้ว ก็จะช้อปได้อย่างปลอดภัยไรกังวลเช่นกัน
คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงสแปม และฟิชชิ่งในช่วงเทศกาล 11 เดือน 11
- หากได้รับอีเมลพร้อม link ข้อเสนอโปรโมชั่น ควรตรวจสอบ link ที่ฝังไว้ด้วย บางครั้งอาจไม่ตรงกับที่เห็น link ที่ถูกต้องจะต้องกดแล้วไปยังหน้าโปรโมชั่นของเว็บไซต์จริง
- ทำการซื้อขายผ่านตลาดออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น และหากกด link มาจากที่อื่น ให้สังเกตุเว็บแอดเดรสด้วย หากแตกต่างจากร้านค้าออนไลน์ที่เป็นทางการ นักช้อปควรพิจารณาเลือกข้อเสนออื่นๆ จากเว็บทางการแทน
- ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่มีเทคโนโลยีแอนตี้ฟิชชิ่ง เช่น Security Cloud และ Total Security ซึ่งจะช่วยแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้กำลังจะเข้าเว็บฟิชชิ่ง
- ไม่ใช้พาสเวิร์ดเดียวกันหลายเว็บไซต์หลายเซอร์วิส เพราะถ้าหากหลุดไปอยู่ในมือผู้ประสงค์ร้าย แอคเค้าท์ทั้งหมดทุกรายการจะตกอยู่ในความเสี่ยง สามารถเลือกใช้โซลูชั่นจัดการพาสเวิร์ด เช่น Password Manager เพื่อสร้างพาสเวิร์ดที่แฮกยากและมีตัวช่วยจำ
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : -
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage