ETDA จับมือ NDID ควงพาทเนอร์ร่วมยัน NDID Platform พร้อมใช้ปลายปี 2562 กลุ่ม ธนาคาร, ประกันชีวิต, บริษัทหลักทรัพย์ เตรียมนำร่องให้บริการ…
- บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด หรือ เอ็นดีไอดี ได้จับมือ กลุ่มธนาคารชั้นนำ กลุ่มบริษัทหลักรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน บริษัทประกันชีวิตบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่ชาติจำกัด และสำนักงาน ก.ส.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกโรงยันระบบ NDID Platform พร้อมใช้สิ้นปี
ETDA จับมือ NDID ยัน NDID Platform พร้อมใช้แล้ว
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) และบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ประกาศความคืบหน้าของความพร้อมระบบ NDID Platform พร้อมยืนยันสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้หลังทดสอบนาน 1 ปี
อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ DES กล่าวว่า ความสำเร็จของ เอ็นดีไอดี แฟลตฟอร์ม เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือกัน ไม่ใช้เรื่องที่หน่วยงาน หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งจะสามารถทำได้เพียงลำพัง แต่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐ
ซึ่งมีหน้าที่ในการออกกฏมาตราฐานในการกำกับดูแล และเอกชนร่วมพัฒนาเทคโนโลยี และทำให้กฏหมาย และเทคโนโลยีสามารถดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการเปิดเผยถึงความพร้อมในวันนี้ไม่ใช่เป็นเพียงโมเดล หรือการแถลงถึงความคืบหน้า
แต่เป็นนวัตกรรมที่ได้ผ่านการพัฒนา และปรับปรุงมาตลอดระบะเวลา 2 ปี (เริ่ม 2560) และใช้เวลากว่า 1 ปีในการทดสอบจนมั่นใจว่าระบบมีความสมบรูณ์มากที่สุด ซึ่งในฐานะหน่วยงานรัฐก็หวังว่าจะสามารถผลักดันให้หน่วยงานรัฐต่าง ๆ สามารถเข้ามาเชื่อมต่อได้มากที่สุด
“ในภาคเอกชน วันนี้ถือว่ามีความพร้อมอย่างมากที่จะเปิดให้บริการที่เพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบนี้ แต่ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐนั้น คงต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะต้องรอในเรื่องของความพร้อม และงบประมาณในการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งวันนี้เริ่มมีหลายหน่วยงานภาครัฐที่เริ่มขยับแล้ว”
ด้าน สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กล่าวว่า โครงการ Digital ID ถือเป็นบริการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ทาง ETDA จึงเดินหน้าในการพัฒนาสนับสนุน และผลักดันพระราชกฤษฎีกา ร่วมไปถึงกำหนดรายละเอียดการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผู้ให้บริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยคำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภค และต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โดยระบบต้องมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมาย และแนวปฏิบัติในระดับสากลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญ ตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบระบบ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล (Regulator) ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
และส่งเสริมการให้บริการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่ภาคธุรกิจของไทยมีความพร้อม และตื่นตัวในเรื่องนี้ เชื่อว่าในอนาคตจะมีบริษัทที่ทำแพลตฟอร์ม Digital ID เพิ่มมากขึ้น
“โครงการ Digital ID คือโครงการที่ หน่วยงานรัฐ และเอกชน ได้ร่วมมือกันพัฒนาร่วมกัน จึงเชื่อมั่นว่าปลอดภัย ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ซึ่งเราคาดหวังว่าหน่วยงานรัฐหลาย ๆ ภาคส่วนมาใช้บริการ หรือนำไปต่อยอดในส่วนต่าง ๆอาทิ งานด้านสาธารณสุข หรือด้านความยุติธรรม” สุรางคณา วายุภาพ กล่าว
บทบาทของ ETDA ต่อการกำกับดูแลด้านดิจิทัลไอดีของประเทศไทย
ชมย้อนหลัง สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA พูดคุยในเรื่อง "บทบาทของ ETDA ต่อการกำกับดูแลด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศไทย" ในงาน “We are ready for Thailand Digital ID” วานนี้ (14 พฤศจิกายน 2562) ณ ETDA Thailand.อ่านข่าวที่ https://www.etda.or.th/content/we-are-ready-for-thailand-digital-id.html.ดาวน์โหลดสไลด์ที่ https://www.etda.or.th/app/webroot/content_files/13/files/ETDA_NDID_Final.pdf.#DigitalID #เอ็ตด้าให้คนไทยโกออนไลน์เพื่อโอกาสและชีวิตที่ดีกว่า #ETDATHAILAND
โพสต์โดย ETDA Thailand เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2019
สุธีรา ศรีไพบูลย์ รักษาการประธานบริษัท ตัวแทนบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) กล่าวว่าบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ในวันนี้ถือว่ามีความพร้อมอย่างยิ่งในการเปิดให้ให้บริการระบบพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแล้ว โดยความสำเร็จในวันนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน
ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทำให้ระบบมีความพร้อมอย่างมากที่จะเปิดให้บริการ อย่างเต็มรูปแบบทันทีเมื่อผ่านความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเมื่อเปิดใช้ก็จะทำให้หน่วยงานรัฐ และเอกชน สามารถนำไปต่อยอดสู่การให้บริการแก่ประชาชนผ่านบริการต่าง ๆ ได้
บริษัท ได้พัฒนา NDID Platform ให้เกิดเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลต้องให้การยินยอม (Consent) ก่อนการดำเนินการใด ๆ ซึ่งระบบ NDID ไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล ข้อมูลจะมีการเก็บแบบกระจายศูนย์ภายใต้หน่วยงานที่ดูแลข้อมูลนั้น ๆ
และระบบได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) โดยข้อมูลบนระบบ Blockchain ของ NDID เป็น Timestamp Log ของรายการที่เกิดขึ้น ระบบนี้เปรียบเสมือนถนนที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ มีความมั่นคงปลอดภัย โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
ซึ่งวันนี้เป็นเร่ืองที่น่ายินดีว่า บริษัท และสมาชิก กลุ่มธนาคารนำร่อง 10 ธนาคาร กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต กว่า 20 บริษัท พร้อมด้วยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจำกัด สำนักงาน ก.ล.ต. และธนาคารภาครัฐ ให้ความสำคัญ และสนใจเข้ามาเป็นสมาชิก
เพื่อพัฒนาการให้บริการต่าง ๆ ผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย โดยที่ผ่านมา มีการร่วมทดสอบการเชื่อมต่อระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนระหว่างสมาชิกกว่า 30 บริษัท จนเกิดความสำเร็จและพร้อมที่จะให้บริการจริงแก่ประชาชน ภายใต้ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ระบบ NDID ที่ได้พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยยกระดับของการทำความรู้จักลูกค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-KYC และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่หลากหลายและได้รับความสะดวก เช่น ธนาคาร ลงทุน ประกันภัย สาธารณะสุข โทรคมนาคม และการศึกษา ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย
ซึ่งทาง บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บริการของ NDID จะสามารถเปิดให้บริการภายในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นี้ ซึ่งในเบื้องต้นจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในภาคการเงินการธนาคารก่อน โดยที่ประชาชนทั่วไป สามารถเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งใหม่
โดยใช้ข้อมูลที่ลูกค้าเคยมีบัญชีธนาคารอื่นอยู่แล้ว สามารถยืนยันตัวตนข้ามธนาคารได้ทันที ซึ่งในอนาคตจะต่อยอดไปในส่วนของการรายการอนุมติวงเงินกู้ของธนาคารได้ ซึ่งในช่วงเริ่มเเรกจะเป็นการเปิดให้บริการในส่วนงานที่เกี่ยวข้องบริการที่ประชาชนต้องใช้บริการก่อน แล้วจึงต่อยอดไปสู่ในส่วนนิติบุคคล และชาวต่างชาติต่อไปในอนาคต
กสิกร ย้ำ!! บริการทันที่เมื่อได้รับอนุญาต
สุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารลยุทธ์ และวิเคราะห์ข้อมูล ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาทาธนาคารกสิกรไทย ได้เตรียมความพร้อมสำหรับระบบการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน อยู่แล้ว โดยได้พัฒนาระบบการยืนยันตัวตนขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าของธนาคารไม่ต้องไปเปิดบัญชีที่ธนาคารอีกแล้ว
แต่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชั่วโมง บน K-Plus และจุด K-Check ID ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามารองรับกระบวนการ e-KYC (Electronic Know Your Customer) โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การยืนยันตัวตนเป็นไปได้อย่างง่าย สะดวก และมีความปลอดภัยมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้ระบบแล้วกว่า 8-9 แสนราย เรียกได้ว่าเกือบ 100% ของลูกค้าของเราได้อยู่ในระบบ e-KYC แล้ว ซึ่งมีเพียง 1% เท่านั้นที่ยังไม่เข้าระบบ เพราะต้องการที่ใช้ในรูปแบบเดิม ๆ เนื่องจากความเคยชิน แต่วันนี้ด้วยการที่มีการเตรียมพร้อมที่จะเปิด ดิจิทัลไอดี แฟลตฟอร์ม น่าจะช่วยให้เรา สามารถนำเสนอบริการใหม่ ๆ
ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการของเราได้มากขึ้น ซึ่งเราเล็งที่จะส่งมอบบริการที่ปลอดภัยมากขึ้นผ่านระบบ NDID Platform นี้ ทั้งในส่วนของลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่ ที่จะเข้ามาใช้บริการ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคารกสิกร
อาทิ ลูกค้าสามารถสมัครบัตรเดบิตเจอร์นี (journey Debit Card) ที่จุดเด่นในการช่วยให้ลูกค้าที่ไม่ต้องการเสียอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศแพง ได้ทันทีผ่านบน K-Plus ได้ทันที โดยไม่ต้องเดินทางมาสาขาของธนาคาร ซึ่งในอดีตอาจจะต้องเสียเวลารอในการใช้บริการที่สาขา หรืออาจไม่มีเวลาไปสาขา
และทำให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบ NDID ตัวตนของลูกค้าให้อยู่แล้ว และหากมองอีกมุม Digital ID นี้จะช่วยให้ลูกค้าเจนเนอเรชั่นใหม่ สนใจมาใช้บริการของกสิกรมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มรูปแบบของการให้บริการผ่านระบบ NDID นี้ เราเชื่อว่าหลาย ๆ ธนาคาร ก็เตรียมพร้อมไว้แล้ว
แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) เพื่อให้ธนาคารสามารถเชื่อมโยงระบบเข้าสู่ Regulatory Sandbox ได้เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์เข้าได้ก่อนสิ้นปี และเมื่อเปิด ธนาคารต่าง ๆ ก็พร้อมจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในสิ้นปีนี้
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage