“ราส พอล” ตอบโจทย์สภาวะแรงงานขาดแคลน และสังคมผู้สูงอายุ เดินหน้ารุกตลาดหุ่นยนต์บริการ (Service Robots) พร้อมเสริมทัพ จับมือเพิ่มคู่ค้าระดับภูมิภาค เพื่อความครบวงจรในการให้บริการ Service Robot Solutions ให้ลูกค้าแต่ละกลุ่ม
นางสุกัญญา วนิชจักร์วงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ราส พอล จำกัด หรือ RAAS PAL ผู้นำธุรกิจหุ่นยนต์บริการของประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา 3 ปี ตลาดหุ่นยนต์บริการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้าน เป็นแรงงานที่อาจจะขาดการเติบโตในสายงาน นอกจาปัญหาการสรรหาบุคลากรที่ยากแล้ว ยังไม่ค่อยมีคนอยากทำงานในสายนั้นๆ ด้วย เช่น งานส่งของ งานทำความสะอาด จึงเป็นโอกาสที่ทำให้ตลาดหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ หลายๆ องค์กรจึงเริ่มขยับปรับแผนการทำงานให้หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า หุ่นยนต์มี Reliability ที่สูงกว่าและสามารถวัดผลการทำงานได้ชัดเจน ทำให้การวางแผนงานแต่ละวันมีโอกาสเบี่ยงเบนน้อยลง นอกจากหุ่นยนต์ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวแล้ว ราส พอลยังเตรียมนำเข้าหุ่นยนต์ทำอาหารภายในปลายปีนี้ หลังนำเข้าหุ่นยนต์ตรวจการณ์เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ปัจจุบันตลาดผู้ใช้บริการนอกจากจะมองหาหุ่นยนต์บริการรุ่นใหม่ๆ ที่ทำหน้าที่อื่นๆ ได้อีก ยังมีการถามถึงระบบ Facility Management Solutions Platform ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์รวมไปถึงอุปกรณ์ IOT ทำให้สามารถติดตามประเมินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย อีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ่นยนต์บริการเติบโตเพิ่มมากขึ้น คือ ราคาค่าบริการที่ลดลงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จากช่วงแรกที่นำมาทำตลาด ผู้ผลิตไม่ได้ให้ความสำคัญกับตลาดไทยนัก เพราะเห็นว่าค่าแรงถูก แต่เมื่อมีการเรียนรู้และวางแผนร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรมทางการตลาดของไทยมากขึ้น มีการปรับราคาให้เหมาะสมและได้รับการสนับสนุนที่มากขึ้น และเมื่อตลาดเปิดรับการใช้งานมากขึ้นกับราคาหุ่นยนต์ปัจจุบันในตลาดลดลงมาถึงเดือนละแค่ประมาณ 6,500 บาท ทำให้เข้าถึงและเป็นที่นิยมมากขึ้น และราส พอล ได้หันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบการทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น
“ปัจจุบันเราได้เสริมความแข็งแกร่งทางการตลาด ด้วยการเพิ่มคู่ค้าระดับภูมิภาค เพื่อให้บริการ Service Robot Solutions ของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างครบวงจร ด้วยการเพิ่มเรื่อง Design Solutions จากเดิมที่เป็นคนขายหุ่นยนต์ มาเป็นการบริหารจัดการเรื่อง Solutions ให้ลูกค้าพร้อมพ่วงระบบ Facility Management Platform ด้วยการแนะนำ Automation Solution ที่เหมาะสมและสามารถตอบโจทย์ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิมได้อย่างราบรื่น โดยบริการของบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของ Ecosystem ของ Facility Management สำหรับเป้าหมายในปีหน้า ต้องการคงความเป็นผู้นำในเรื่องของ Robotics Solutions & Facility Management โดยตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 200-250 ล้านบาท” นางสุกัญญากล่าว
บริษัท ราส พอล จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ่นยนต์บริการมาตั้งแต่ปี 2563 โดยเน้นการวาง Automations Solutions ให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์การนำหุ่นยนต์ไปใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ปัจจุบัน มีหุ่นยนต์บริการจำหน่าย 4 ประเภท คือ
- หุ่นยนต์ทำความสะอาด (Cleaning Robots)
- หุ่นยนต์ส่งของ (Delivery Robots)
- หุ่นยนต์ตรวจการณ์ (Security Robots) ที่เพิ่งนำเข้ามา
- หุ่นยนต์ทำอาหาร (Cooking Robots) ซึ่งมีแผนจะนำเข้ามาทำตลาดภายในปลายปีนี
จนถึงปัจจุบัน ราส พอล ได้จำหน่ายหุ่นยนต์บริการในประเทศไทยไปแล้วประมาณ 1,500 ตัว โดยลูกค้าที่ทางบริษัทให้บริการ มีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น สนามบิน ร้านอาหารชื่อดัง อาคารสำนักงานต่างๆ หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ หุ่นยนต์ที่ทางบริษัทนำเข้ามานั้น มาจากผู้ผลิตที่เป็นผู้นำในการผลิตหุ่นยนต์ที่ได้มาตรฐาน ส่งออกไปทั่วโลก นอกจากนั้น ยังมีความโดดเด่นในเรื่องของการใช้งานที่ง่าย ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยหุ่นยนต์ที่คนทั่วไปมีความคุ้นเคย และพบเห็นบ่อยคือ หุ่นยนต์ทำความสะอาดที่สนามบิน ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ชนิดแรกที่ราส พอล นำเข้ามาทำตลาด โดยหุ่นยนต์ทำความสะอาดนั้นมีหลากหลายขนาดให้เลือกเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น หุ่นยนต์ขนาดใหญ่สามารถเดินทำความสะอาดได้ในพื้นที่มากถึง 30,000 ตรม.ต่อวัน ส่วนหุ่นยนต์ขนาดเล็กสามารถเดินทำงานในพื้นที่ได้มากถึง 3,500 ตรม.ต่อวัน
“ส่วนตัวเห็นว่า trend ของสังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่นที่คุ้นเคย หรือประเทศแถบเอเชีย ได้เห็นว่าสังคมที่นั่นมีผู้สูงอายุจำนวนมาก และอยู่กันอย่างโดดเดี่ยว ต้องดูแลตัวเอง ส่วนตัวแล้วค่อนข้างเชื่อว่า ประเทศไทยก็น่าจะมีแนวโน้มที่ไม่ต่างจากประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นในแถบนี้ ดังนั้น ในอนาคต การมีหุ่นยนต์มาทำงานควบคู่กับคน โดยเฉพาะคนสูงวัยที่ยังต้องทำงานอยู่ แต่ปรับการทำงานด้านการใช้แรงงานมาเรียนรู้การใช้งานหุ่นยนต์ รวมไปถึงการดูแลการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ให้มาสนับสนุนการทำงานในฟังก์ชันที่เกินกำลังคน หรือกำลังที่ผู้สูงอายุจะทำได้ ทั้งนี้เราสามารถออกแบบวางแผนงานการจัดการการทำงานในสัดส่วนระหว่างคนกับหุ่นยนต์ได้ โดยนำส่วนงานที่คนทำไม่ได้ หรืองานที่มีความเสี่ยงสูงไปให้หุ่นยนต์ทำงานแทน ส่วนคนก็ไปทำงานในจุดที่หุ่นยนต์ปัจจุบันไม่สามารถทำได้ จะเป็นการใช้เทคโนโลยีทำงานร่วมกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังเกิดประสิทธิภาพได้มากขึ้น ที่สำคัญงานที่ใช้หุ่นยนต์หรือระบบ Automation นั้น สามารถวัดในเรื่องประสิทธิภาพ และคุณภาพในการทำงานได้ ทำให้เราสามารถติดตาม วางแผน และประเมิน ผ่านระบบ Cloud Platform ของหุ่นยนต์เอง หรือ ผ่านระบบ Facility Management Platform ที่เรามีใช้ร่วมกันได้ จะทำให้ภาพรวมของงานทั้งหมดเกิดประโยชน์สูงสุด“ นางสุกัญญาสรุป