โครงการ Educational Instituted Support Activity (EISA) โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับชมรม Student in Free Enterprise (SIFE) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม (บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ) บริษัท เบียร์ไทย 1981 จำกัด (มหาชน) และบริษัทน้ำตาลทิพย์ กำแพงเพชร จำกัด ได้ลงพื้นที่บ้านบึงหล่ม หมู่ที่ 10 ตำบลถาวรวัฒนา อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชรในความร่วมมือพัฒนาช่องทางการตลาด การทำแบรนด์สินค้าแปรรูปภายใต้แบรนด์เดียวของชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาสถานที่ทำพริกแกงให้มีความเหมาะสมอาทิ การพัฒนาการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยทางคณะอาจารย์และนิสิต ได้ดำเนินการวางแผนการทำงานโดยนิสิตร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน
กลุ่มพริกแกงบ้านบึงหล่มเกิดจากการที่สมาชิกภายในหมู่บ้านบึงหล่มมีความต้องการที่จะประกอบอาชีพเสริมเนื่องจากว่างงานในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว จึงรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพโดยเล็งเห็นว่ามีวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน เช่น พริก ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด เป็นต้น ประกอบกับได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทรายทองวัฒนา จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อดำเนินการจัดตั้ง กลุ่มพริกแกงบ้านบึงหล่ม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2559 จึงทำให้สมาชิกทุกคนมีความรู้สึกรักและเป็นเจ้าของ ทำให้สามารถดำเนินกิจการของกลุ่มพริกแกงได้ และมีการดำเนินงานที่เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีประธานกลุ่ม ผู้ใหญ่สมจิตร ชมดีและรองประธานกลุ่ม นางสำเนียง ไทยภักดีเป็นผู้นำกลุ่มฯ
ผศ.ดร.นราพงศ์ ศรีวิศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่าโครงการ EISA ได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการคัดเลือกชุมชนที่จะให้ทาง SIFE เข้าไปพัฒนา เนื่องจากทาง SIFE ไม่ได้มีกำลังคนและงบประมาณที่เพียงพอจะไปดำเนินการคัดสรรชุมชนเหล่านี้ ดังนั้นกลุ่มพริกแกงบ้านบึงหล่ม จึงเกิดจากการแนะนำของ EISA และโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม ที่ได้เข้ามาสำรวจในเบื้องต้น ต่อจากนั้นทาง SIFE และชุมชนจึงได้ประสานงานกัน โดยการเก็บวิเคราะห์ข้อมูในเบื้องต้นและความพร้อมในการเปิดใจรับความร่วมมือของทางชุมชนเองด้วย ต่อจากนั้น SIFE จะเข้าไปเก็บข้อมูลทั้งในเชิงลึกเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ การจัดทำบัญชีต้นทุนการขาย ราคาขาย และการจัดทำช่องการตลาดทั้ง Online และ Offline ให้กับชุมชน
นอกจากนี้ นายไกร สาตรักษ์ ประธานชมรม SIFE คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายเมิ่ง เจ๋อ อู๋ Project Operator กลุ่มพริกแกงบ้านบึงหล่ม ซึ่งเป็นตัวแทนนิสิต ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า SIFE ได้มีการนำความรู้ด้านธุรกิจทางด้านการบริหารจัดการ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีต้นทุน และการจัดการด้านการตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้ในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างประสิทธิภาพ โดยวางแผนธุรกิจร่วมกับชุมชนไม่ใช่แค่ให้เกิดการซื้อขายในชุมชน แต่เป็นการยกระดับพัฒนาชุมชนให้เกิดการขายนอกพื้นที่เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ การสร้างเอกลักษณ์ให้กับชุมชนคือคิดถึงพริกแกงให้คิดถึงพริกแกงบ้างบึงหล่ม ชุมชนมีจุดแข็งในเรื่องของการจัดทำผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัตถุดิบ แต่ยังขาดในเรื่องการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุยาวนานขึ้น การแบรนด์ดิ้ง การจัดทำบัญชีต้นทุนการขาย การตั้งราคาขาย และช่องทางการขาย การขยายฐานลูกค้า หากชุมชนมีปัญหาด้านไหนก็ต้องเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในด้านนั้น เราไม่ได้นำความรู้ด้านธุรกิจเข้ามาช่วยชุมชนเพียงอย่างเดียวแต่เรายังรวมถึงการส่งเสริมวิถีชีวิตของชุมชน ชุมชนจะต้องดำเนินธุรกิจต่อได้ด้วยตัวเอง
ในฐานะผู้นำชุมชนบ้านบึงหล่ม หมู่ที่ 10 ตำบลถาวรวัฒนา อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร ขอขอบคุณ ชมรม Student in Free Enterprise (SIFE) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการ EISA และโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยการนำความรู้ในทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการด้านธุรกิจ การจัดทำบัญชี และการแนะนำช่องทางการตลาด ซึ่งจะทำให้กลุ่มพริกแกงบ้านหล่มเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและให้ประชาชนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น