ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “AI” นั้นไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งถูกพูดถึง แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานพอสมควรแล้ว เพราะในความเป็นจริงแล้วทุกวันนี้ เราได้ใช้ AI กันแล้วโดยที่ไม่รู้ตัวเลย ว่าไปใช้ตอนไหน เมื่อไร แต่ถ้าจะบอกว่า มันก็คือ โปรแกรมที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ อย่าง เช่น Siri ของ Apple, Google Now ของ Google, Cortana ของ Microsoft หรือฟ้าใส ของ fahsai.in.th ก็คงถึงบางอ้อ!!
แต่ที่กล่าวในข้างต้นนี้ ยังเป็นเพียงผิวๆที่เข้าไปแตะเฉพาะผู้บริโภคเท่านั้น แต่หากมองให้ลึกลงไปการปรับเทคโนโลยีอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ ใช้กับธุรกิจจะหมายถึงการเพิ่มกระบวนการศึกษาข้อมูลที่แท้จริง และนำไปปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของการแข่งขันในปัจจุบัน อธิบายง่ายๆ เอไอ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกเขียนให้มีการพัฒนาในรูปแบบของพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ โดยเมีความสามารถในการเรียนรู้ และความสามารถเลียนแบบ การเรียนรู้ และการตัดสินใจของมนุษย์ได้ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้หลายรูปแบบตามความต้องการใช้งานนั่นเอง
“เรียนรู้ เชื่อมต่อ ประยุกต์” ผ่าน AI สูตรสำเร็จที่ไม่อาจมองข้าม
ปัจจุบันเองก็ได้มีการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจโดยในแนวคิดเรื่องของ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลในเชิงลึก ความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการให้คำตอบโดยอ้างอิงจากหลักฐานต่างๆ จากข้อมูลจำนวนมหาศาล และปรับใช้กับธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น IBM ที่มี ที่ชื่อว่า Watson ที่ทาง IBM ได้พัฒนาจนเกิด เทคโนโลยีค็อกนิทิฟอ (Cognitive) ที่สามารถะทำงานแทนมนุษย์หลายอย่างแล้ว โดยเข้าใจสิ่งที่มนุษย์พูด แล้วเรียนรู้ จดจำ รวมถึงตอบกลับได้ และยังสามารถ เดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก่อนที่ผู้ใช้จะรู้ตัวซะด้วยซ้ำ
โดยปัจจุบันได้มีการนำปัญญาประดิษฐ์ ไปใช้จริง เช่น การเทคโนโลยีค็อกนิทิฟวัตสัน เข้าไปต่อยอดขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในการใช้ส่วนผสมใหม่ๆ และสร้างสรรค์เมนูอาหารที่มีความคิดริเริ่ม ในชื่อ “ระบบค็อกนิทิฟคุกกิ้ง” (Cognitive Cooking) โดย ปัญญาประดิษฐ์ จะเริ่มเก็บรวบรวมเมนูอาหารนับหมื่นรายการที่มีอยู่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจถึงรูปแบบการจับคู่ส่วนผสมต่างๆ
และออกแบบเป็นเมนูใหม่ จากนั้นจึงตรวจสอบเทียบเคียงเพิ่มเติมกับข้อมูลรสชาติของส่วนประกอบเหล่านั้น ร่วมกับข้อมูลทางจิตวิทยาเกี่ยวกับรสชาติที่คนชอบและไม่ชอบ (ทฤษฎีการรับรู้คุณลักษณะที่น่าอภิรมย์หรือ Hedonic Perception) ร่วมถึงความรู้ด้านวัฒนธรรมและท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงทฤษฎีทางสถิติ โมเลกุล และการจับคู่อาหาร มาวิเคราะห์ร่วมกัน และกลั่นกรองเป็นเมนู ที่คาดว่าน่าจะให้รสชาติที่ดีด้วย
โดยไอบีเอ็มยังได้จับมือกับนิตยสารบงอัพเปตี (Bon Appétit) เพื่อขยายขอบเขตความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหารให้แก่วัตสัน จากสูตรอาหารกว่า 10,000 รายการในฐานข้อมูลของบงอัพเปตี พร้อมร่วมพัฒนาแอพที่รวมเอาความเข้าใจในเคมีอาหาร ข้อมูลทางจิตวิทยาเกี่ยวกับรสชาติ
ข้อมูลสไตล์การทำอาหารจากหลากหลายภูมิภาค และชนชาติต่างๆ เพื่อให้วัตสันพร้อมเป็นผู้ช่วยในการทำอาหารสำหรับทุกคน และช่วยให้ผู้ที่มีข้อจำกัดด้านอาหาร อาทิ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ผู้ที่แพ้อาหารบางประเภท ผู้ที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางรสชาติ โดยสามารถออกแบบเมนูที่ตอบโจทย์แต่ยังคงความอร่อย
ขณะที่ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์เองก็มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โต้ตอบกับลูกค้า เช่น บริษัท Vizeum ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Dentsu ได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยในการทำงานในการเพิ่มการขาย Sales และปรับปรุงกระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์ในร้านต่างๆ ของลูกค้า ขณะที่ BMW นั้นยังมีปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อ iGenius
ซึ่งสามารถตอบคำถามลูกค้าตัวเองเกี่ยวกับโมเดลรถรุ่นใหม่ ๆ ผ่าน ข้อความ ทำให้ BMW นั้นประหยัดค่าใช้จ่ายในการเทรนเจ้าหนาที่การขายและการใช้พนักงานต้อนรับต่างๆ ในการรับมือลูกค้าได้ หรือแม้แต่ในวงการแพทย์ก็มีการประยุกต์ใช้ AI ในการ วิเคราะห์องค์ความรู้ และข้อมูลทางการแพทย์จำนวนมหาศาลเพื่อให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลความก้าวหน้าทางการแพทย์ล่าสุด เพื่อเพิ่มความแม่นยำและรวดเร็วในกระบวนการตัดสินใจ
โดยได้ส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมพัฒนาฝึกฝนความสามารถของค็อกนิทิฟคอมพิวติ้งไอบีเอ็มวัตสัน ร่วมกันป้อนข้อมูลเคสมะเร็งในอดีตจำนวนหลายพันเคส เอกสารทางวิชาการกว่า 15 ล้านรายการ ตำราแพทย์กว่า 300 เล่ม ข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง 20 ปี และความรู้จากแพทย์ของศูนย์มะเร็ง MSK ทำให้แพทย์สามารถให้คำแนะนำการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงตรงตามข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละรายได้
จะเห็นว่าแนวโน้มการของปัญญาประดิษฐ์ นั้นกำลังสิ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราการเข้าซื้อกิจการ และพัฒนา เรื่องปัญญาประดิษฐ์ กันมากขึ้น เช่น อินเทลประกาศเข้าซื้อบริษัท Saffron ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อหาความเสี่ยงในธุรกิจ ปรับแต่งประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ และหาแนวโน้มทางธุรกิจ
ด้านเจ้าพ่อโซเชียล เน็ตเวิร์ค อย่าง เฟชบุ๊ก (Facebook) ก็ไม่น้อยหน้า โดยได้ซื้อกิจการ “Wit.ai” ผู้พัฒนาเกี่ยวกับระบบจดจำเสียงพูด และ voice interface คาดว่าคงเอามาช่วยแปลงจากเสียงพูดเป็นตัวอักษร และยังได้สร้างฟังค์ชั่นใหม่ จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งทำให้ระบบสามารถจดจำบุคคลได้ แม้ในภาพจะไม่เห็นใบหน้าเลยก็ตาม
โดยฟังค์ชั่นดังกล่าว จะพิจารณาจากรูปร่าง ทรงผม การใส่เสื้อ และท่าทางจากรูปภาพที่เปิดเผยต่อสาธารณะ (Public) แม้เราจะไม่เห็นหน้าหรือคนๆ นั้นจะหันหลังอยู่ก็ตามแล้วให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล และสามารถระบุตัวตนได้แม่นยำถึง 83% รวมไปถึงเตรียมพัฒนาให้ผู้ใช้สามารถหยิบข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ วิดีโอ เว็บเพจ รวมถึงคอนเทนต์ดิจิตอล มาใช้ได้รวดเร็วทันใจ
เพียงบอกลักษณะภาพที่ต้องการระบบเฟซบุ๊กก็จะทำการค้นหา และแสดงผลขึ้นมาให้ผู้ใช้ได้เอง เช่น ภาพชายหาด หรือข่าวที่มีคำที่ผู้ใช้กำลังสนใจนอกจากนี้เฟสบุ๊กยังได้เตรียมพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อใช้ในการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างภายในบ้าน ตั้งแต่สั่งเปิดเพลง การเปิดปิดประตู ไฟฟ้า และอุณหภูมิภายในบ้านอีกด้วย
ขณะที่ Google ก็ได้จัดการทุ่มเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าซื้อ บริษัท Deep Mind ผู้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในเครือ Google โดยคาดเพื่อที่จะใช้สร้างหุ่นยนต์สำหรับงานด้านอุตสหกรรมการผลิต รวมไปถึงงานด้านโลจิสติกส์
นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยวิเคราะห์ ความนิยมของสินค้าต่างๆ ให้นักช็อปรู้เทรนด์และสามารถครอบครองสินค้าได้ทันก่อนหมดสต็อค โดยไอบีเอ็มได้เปิดตัว วัตสันเทรนด์แอพ วิเคราะห์ข้อมูลบทสนทนาออนไลน์หลายสิบล้านความคิดเห็น จากโซเชียลมีเดีย บล็อก ฟอรัม คอมเมนต์ การจัดลำดับคะแนน และบทรีวิว ร่วมกับข้อมูลบริบทที่เกี่ยวข้องจาก 10,000 แหล่ง
โดยกำหนดคะแนนจาก 0 ถึง 100 ตามสัดส่วนและอัตราการเพิ่มของแต่ละบทสนทนา ทำให้สามารถวิเคราะห์เจาะลึกถึงความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้านั้นๆ ให้เหตุผลว่าทำไมคนถึงเลือกซื้อแบรนด์ต่างๆ พร้อมทั้งใช้อนาไลติกส์เชิงพยากรณ์ในการคาดการณ์ว่าเทรนด์นั้นจะค่อยๆ เงียบหายไป หรือจะยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าเรื่องของ AI จะเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความเห็นไปต่างๆนานาว่า หากเครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตัวเองได้ เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ ในอนาคตอาจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า สมครามเผ่าพันธุ์ได้ หากผู้สร้างไม่สามารถควบคุมได้ แต่แนวคิดดังกล่าวก็ไม่อาจหยุดหยั่งการพัฒนาได้เพราะมนุษย์ยังคงดิ้นรนที่จะทำให้ทุกอย่างง่าย สะดวก และรวดเร็วอยู่เสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เทรนต์แอพ www.ibmwatsontrend.com