ตามที่สัญญาไว้เมื่อวานครับว่าจะมาเล่าเกี่ยวกับผลสำรวจของ สวทช. เกี่ยวกับ มูลค่าของตลาดสื่อสาร ในประเทศไทย อะไรไปรอด อะไรเตรียมเปลี่ยน มาดูกันครับ
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย “ผลการสำรวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำปี 2559 และประมาณการปี 2560”
ชี้ตลาดสื่อสารยังแรงไม่ตก ปี 60 มีมูลค่าทะลุเกิน 6 แสนล้านบาท เติบโต 9.5% จากการใช้จ่ายในกลุ่มอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และบริการที่ไม่ใช่เสียง (Nonvoice) ขณะที่บริการเสียง (Voice) ทุกประเภทหดตัวต่อเนื่อง จากความนิยมใช้บริการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยแข่งขันด้านราคา ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ เป็นความเสี่ยงต่อการเติบโตของตลาด
ในปัจจุบันตลาดสื่อสารถือว่าเป็นตลาดที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อีทั้งยังเป็นตลาดที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและการเติบโตของภาคเศรษฐกิจ ฉะนั้น ข้อมูล มูลค่าของตลาดสื่อสาร ของประเทศไทยสามารถ
โดยขอแยกผลสำรวจออกเป็นเรื่องๆ นะครับ
ผลสำรวจเครื่องโทรศัพท์
Fix Line Handset (โทรศัพท์บ้าน)
มีโอกาศติดลบอย่างต่อเนื่อง ถ้านับจากปี 2558-2560 มีแม้ว่าแนวโน้มการใช้งานน้อยลงตามควาต้องการใช้งานทางเสียงผ่านเอข่ายโทรสัพท์ใช้สายลดลง แต่คาดว่าในปี 2560 จะมีความต้องการเครื่อโทรศัพท์ IP Phone มากขึ้นนกลุ่มองค์กร เพื่อการลดค่าใช้จ่าย และการใช้ประโยชน์จากการลงทุนด้านเครือข่ายขององค์กร
Mobile Handset
ตลาดครื่องโทรศัพท์เติบโต 118,812 ล้านบาท หรอ 7.8 % ในครึ่งปีแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่ง Smart phone มีแรงขับเคลื่อนขากกลุ่มตลาดบน มีรอบการเปลี่ยนเครื่องของผู้ใช้ค่อนข้างถี่ ซึ่งน้อยกว่า 18 เดือน และสามารถคงระดับสูงไว้ได้ ผนวกกับมีแนวโน้มผู้ใช้งานตลาดระดับกลางจะเคลื่อนย้ายสู่ตลาดบนมากขึ้น ขณะที่ระดับกลางและร่างมีรอบการเปลี่ยนที่ช้ากว่า
ตลาดด้านอุปกรณ์โครงข่ายหลัก
Core Network Equipment
ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมยังมีการลงด้านอุปกร์โครงข่ายหลัก โดยเติบโต 47,754 ล้านบาทหรือ 1.5% ในครึ่งปีแรก เพื่อรองรับความต้องการการใช้งานและการขยายฐานลูกค้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย. พร้อมทั้งพร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยมีมีโครงการปรับปรุงเครือข่ายหลักขององค์กรให้รองรับระบบ IP
Infrastructure Cabling
ตลาดสายสัญญานโครงข่าย Fiber Optic ขยายตัวในเชิงความต้องการใข้งาน เพื่อการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพด้านเครือข่าย ตลาดจนขยายฐานผู้ใช้งาน FTTX แต่เรื่องจากมีระดับราคาที่ลดจากการเข้ามาทำตลาดของผลิตภัณฑ์ราคาถูกจึงทำให้แนวโน้มการเติบโตในเชิงมูลค่าลดลง
ตลาดอุปกณ์สื่อสารใช้สาย
Access Equipment
ตลาดอุปกรณ์เชื่อมต่อปลายทางขยายตัวตามการใช้งานที่เพิม่ขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 8,743 ล้านบาท หรือ14.5% ในครึ่งปีแรก โดยมีความต้องการกระจายจุดเชื่อมต่อสัญญาณ และการขยายคุณภาพสัญญาณให้ทั่วถึง ทั้งในระดับครัวเรือนและองค์กร
Network Cabling
ตลาดสายสัญญาณเครือข่ายภาพรวมเติบโตขึ้น 7.2% หรือ 6,925 ล้านบาทในครึ่งแรกของปี 60 โดยเฉพาะการขยายตัวของตลาด Data Center การใช้งาน CCTV รวมถึงการปรับเปลี่ยนสายสัญญาณเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่
ตลาดอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย
ในปีนี้ตลาดโตตามการลงทุนตามการลงทุนขยายสถานีฐาน 4G ในปี 2559 และคาดว่าปี 2560 การลงทุนจะขยายตัวถึงแม้ว่าจะมีผู้ลงทุนในคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHZ แต่คาดว่าจะเริ่มมีการใข้เม็ดเงินลงทุนในช่วงปลายปี 2560
ตลาดบริการโทรศัพท์ประจำที่ 2558-2560
ตลาดบริการ Fixed Line หดตัวลงอย่างต่อเนื่องจากฐานลูกค้าที่ลดลง จากการสื่อสารผ่าน OTT/Social Media และการใช้บริการเสียงผ่านเครือข่าย IP มากขึ้น
ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2558-2560
บริการ Mobile Voice มีแนวโ้น้มชะลอตัวลง สวนทางกับ Mobile Nonvioce ซึ่งเติบโตตามการใช้งานสื่อสารข้อมูลผ่าน Social Media และการบริโภค Streaming Content และการทำธุรกรรมทางออนไลน์
ซึ่งผู้บริการแข่งขันกันด้วย Content และความหลากหลายของการบริการดิจิทัล พร้อมทั้งการขยายฐานลูกค้าด้วยกลยุทธ์ “ซื้อเครื่องใหม่ราคาถูกพร้อมเปิดเบอร์” และการจำหน่ายซิมการ์ดเฉพาะกลุ่ม
ตลาดอินเทอร์เน็ต 2558-2560
ตลาดบริการินเทอร์เน็ตใข้สายมีการเติบโตไม่สูงมากนัก แม้ว่าผู้ให้บริการจะคงระดับบริการต่ำสุด โดยเพิ่มระดับความเร็ว แต่ในระดับราคาแพ็คเกจที่สูงขึ้นมีการพ่วงบริการประเภทอื่น เช่น บริการโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Content สำหรับลูกค้าครัวเรือน
และแม้ว่า DSL ยังเป็นประเภทการเชื่อมต่อที่มีสัดส่วนสูงที่สุด แต่ผู้ให้บริการมุ่งปรับเปลี่ยนบริการ FTTX เพื่อทดแทน DSL ในพื้นที่เดิมและกลุ่มลูกค้าใหม่
ปัจจัยกระทบและแนวโน้มเทคโนโลยี
ปี 2559
ปัจจัยบวก คือ
Mobile ยังขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งด้านการขยายโครงข่าย และการใช้บริการ
Social Media เป็นสื่อทั้งยังไดรับความนิยมสูง
ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับลูกค้าผ่านทาง Online
การใช้ระบบ IT เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนองค์กร
การขยายตัวของธุรกิจบริการ IT เช่น Cloud และ Data Center
ความต้องการใข้งาน CCTV ขยายตัว
ปัจจัยลบ คือ
การแข่งขันทางด้านราคา
การลงทุนภาครัฐด้านโทรคมนาคมที่สำคัญมีความล่าช้า เช่น อินเทอร์เน็ตประชารัฐ
สภาพเศรษฐกิจยังคงทรงตัว เอกชนมีการตัดสินใจลงทุนนานขึ้น
การขยายสาขาของธุรกิจมีขนาดเล็กลง ทำให้มูลค่าการลงทุนต่อโครงการมีขนาดเล็กลง
ปี 2560
ปัจจัยบวกคือ
Mobile app ถูกใช้เป็นแพลทฟอร์มทางการตลาดและการขาย
ความคุ้นชินของให้บริการทางออนไลน์มีมากขึ้นทั้ง E-transaction และ e-commerce
ระบบบริการอัติโนมัติ/บริการตนเอง เริ่มถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
IoT เป็นที่น่าสนใจและให้ความสำคัญอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
ความตื่นตัวด้านความปลอดภัย ทั้งด้าน Physical และ cyber
โครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ (อินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน) ที่พร้อมใช้งาน
โครงการด้านการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เกิดการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน
ปัจจัยด้านลบ คือ
การแข่งแข่งกันด้านราคา
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาคครัวเรือน
ประสิทธิภาพการแบกจ่ายงบประมาณภาครัฐในโครงการด้านระบบเครือข่ายและการสื่อสาร
การถูก Disrupt จากเทคโนโลยีดิจิทัล มำฝห้ธุรกิจบางประเภทตต้องลดขนาดหรือลดสาขาลง เช่น ค้าปลีกและธนาคารตึงกระทบต่อผู้ขายอุปกรณ์และให้บริการติดตั้งที่มีฐานจากลูกค้าธุรกิจเหล่านี้