ICareU แอพเตือนภัยที่ถูกออกแบบมาเพื่อการกำหนดจุดเพื่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน
ICareU แอพเพื่อสังคมไทย
ในปีที่ผ่านมาการสร้างเทรนด์ของโลกธุรกิจ เห็นจะหนีไปพ้นเรื่องของการสร้างแอพลิเคชันเพื่อทางธุรกิจ แต่ก็มีนักสร้างแอพลิเคชันที่เป็นกลุ่มนักศึกษาหลาย ๆ สถาบัน สร้างแอพขึ้นมา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและต่อส่วนรวมและสามารถต่อยอดทางความคิดใหม่ ๆ ให้กับสังคมได้เป็นอย่างดี
ดี หนึ่งในนั้นเป็นกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประกอบด้วย นายมานิต ฉลภิญโญ ,นายธีรพงศ์ ภักดีคุณากรและนายเกรียงไกร เซี่ยงวงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยได้ที่ปรึกษาอย่างอาจารย์ชนินทร เฉลิมสุข และอาจารย์อภิชาต คำปลิว ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานที่เรียกว่า “โปรแกรมเตือนภัย (ICareU)” ขึ้น
เพื่อแจ้งเหตุในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยที่ผู้ใช้บริการแอพ สามารถกำหนดจุดบนแผนที่ พร้อมทั้งใส่รายละเอียดของเหตุและส่งข้อความขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานโดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานศูนย์กลาง
หน่วยงานที่ได้รับแจ้งเหตุจะได้รับข้อมูลของเหตุที่แจ้งมาอย่างชัดเจน ทั้งประเภทของเหตุ ตำแหน่ง รายละเอียดของเหตุ รูปภาพ และข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้อย่างถูกต้อง อีกทั้งผู้ใช้ทั่วไป สามารถรับทราบจุดเกิดเหตุที่มีบนแผนที่ได้อีกด้วย
“จุดเด่นของแอพลิเคชันเตือนภัย เป็นการร่วมด้วยช่วยกันของคนในสังคม เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เพียงแต่จะได้ความสามัคคีของหมู่คณะแล้ว สังคมของเราก็จะเป็นสังคมแห่งผู้ให้ด้วย เพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคมแล้ว เราทุกคนสามารถเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคมที่ดีขึ้นได้
โดยไม่ต้องเสียเวลาบอกสถานที่อีกต่อไป เพียงแค่มีแอพลิเคชันนี้ เราก็สามารถกำหนดจุดพิกัดได้ด้วยตนเองและมีความแม่นยำที่แน่นอน ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน เพียงแค่เปิดแอพลิเคชันนี้ เราสามารถรับรู้ได้ว่าเส้นทางข้างหน้านั้นมีจุดเกิดเหตุใดบ้าง และควรหลีกเลี่ยงไปทางใด เพื่อความสะดวกสบาย” นายธีรพงศ์หัวหน้าทีมผู้ออกแบบแอพกล่าว
ธีรพงศ์ ภักดีคุณากร หัวหน้าทีมผู้ออกแบบแอพลิเคชันดังกล่าว ให้ความเห็ว่าโปรแกรมเตือนภัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้บน 2 แพลตฟอร์มระหว่างเว็บแอพลิเคชันและอุปกรณ์โทรศัพท์สมาร์ทโฟน บนระบบปฏิบัติการ Android ร่วมกับ Library ของ Google เช่น Google Map ,Google Distance, Google Firebase และระบบฐานข้อมูล MySql
โดยออกมาในรูปแบบของการกำหนดจุดเพื่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน สำหรับการกำหนดระยะทางระหว่างหน่วยงานกับผู้ใช้โดยจะมีการคำนวณระยะทางที่ใกล้ที่สุดของหน่วยงานโดยเปรียบเทียบจากระยะของถนน (Google Distance) ระหว่างการขอความช่วยเหลือผู้ใช้ยังสามารถติดต่อไปยังหน่วยงานโดยผ่านทางเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดตามคำร้องขอที่ส่งไปได้
ประเด็นสำคัญ คือ 1 เพื่อให้ทราบถึงเหตุร้ายใกล้ตัวเรา และช่วยให้มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิตในสังคมมากขึ้น 2.เพื่อเพิ่มช่องทางให้สามารถขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ไปให้เจ้าหน้าที่ ที่เราต้องการขอความช่วยเหลือ ได้ทันท่วงทีและแสดงสถานที่อยู่ของเราใหม่ทางเจ้าหน้าที่รับทราบเพื่อที่จะมาช่วยเหลือได้ทันที 3.เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความหวาดระแวงต่อปัญหาอาชญากรรม
อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดด้วยการสร้างความตระหนักรูปถึงพื้นที่ที่ควรเพิ่มความระมัดระวังโดยประชาชนเป็นช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่อง 4.เพื่อเจ้าหน้าที่ได้ทราบประวัติของผู้แจ้ง ตำแหน่งผู้แจ้งชื่อ ข้อมูลที่จำเป็นบางส่วนได้รวดเร็วและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น และไปยังที่เกิดเหตุได้อย่างทันท่วงที
เป้าหมายของแอพเตือนภัยเพื่อสังคมไทย นี้ เพื่อให้มีช่องทางในการแจ้งข้อมูลเตือนภัยหรือขอความช่วยเหลือต่าง ๆ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปและมีการตอบรับ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาจากข้อมูลที่ ได้แจ้งอย่าางรวดเร็ว โดยไม่ต้องผ่านศูนย์กลางของหน่วยงานใด ๆ …ถือเป็นความภาคภูมิใจของเยาวชนไทยจากรั้วมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ที่ฝากเอาไว้อีกผลงานหนึ่งที่น่าประทับใจ