ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเป็นมากว่าการแค่หาว่าตลาดที่ต้องการสุ่มไปคือตลาดใด เพื่อให้เกิดรีเทิร์นกลับมาในเรื่องของยอดขาย เพราะการทำธุรกิจในปัจจุบันนั้นหลักใจความสำคัญอยู่ที่ความรวดเร็ว และยืดหยุ่น

สตาร์ทธุรกิจควรเริ่มจากจัดการสร้างความยืดหยุ่น

โดยที่ความรวดเร็วดังกล่าวข้างต้นนั้นหมายรวมไปถึงเรื่องของความรวดเร็วในการบริการ ความรวดเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับเกมให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดในยุคปัจจุบัน แต่ทั้งหมดนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจปราศจากความคล่องของระบบเทคโนโลยีสำหรับใช้การจัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่น และสามารถเรียกใช้งานข้อมูลจากที่ไหนก็ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 ที่ต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้สามารถเกิดเศรษฐกิจใหม่ (New Engines of Growth) ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value–Based Economy) จนสามารถหลุดจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ ดังนั้นองค์กรธุรกิจต่าง ๆ จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่ธุรกิจที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี

แต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืนในอดีตนั้นเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนหนึ่งคือเรื่องของการปรับใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ แต่ยังรวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลและการเรียกใช้ที่ทำได้ยากเพราะการลงทุนในเรื่องของระบบการจัดเก็บข้อมูล นับเป็นปัญหาใหญ่ของทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “การประมวลผลผ่านก้อนเฆม” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยโมเดลของเทคโนโลยีนี้คือเรื่องของการลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

ดังนั้น ทางเลือกที่เหมาะสมคือการปรับรูปแบบของการลงทุนลดลง แต่โฟกัสเรื่องของการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้มากขึ้นแทน โดยธุรกิจสามารถที่จะเช่าเเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ในคลาวด์คอมพิวติ้ง จากผู้ให้บริการและคิดค่าบริการรูปแบบของค่าบริการรายเดือน หรือหน่วยที่มีการใช้งาน

 

cloud eco system

โดยการใช้งานคลาวด์นั้นมีสองรูปแบบให้เลือกงานคือ Private Cloud และ Public Cloud

องค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจตนเอง โดยอาจทำให้รูปแบบของบริการคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ผู้ที่สามารถใช้บริการจะเป็นเพียงพนักงานขององค์กรนั้นเท่านั้น หรือจะเปิดให้หลาย ๆ องค์กรสามารถเข้าใช้งานร่วมกันได้ โดยพนักงานขององค์กรนั้นและพนักงานขององค์กรอื่นที่ได้รับอนุญาต

หรือจะนำมาใช้ในรูปแบบของการสร้างบริการคลาวด์แบบสาธารณะ (Public Cloud) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้ามาใช้ ยกตัวอย่างเช่น บริการคลาวด์ของ Google อย่าง Google App Engine ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนา และการให้บริการพื้นที่แอพพลิเคชันของ Google เปิดให้ผู้พัฒนา Web Application สามารถเขียนโปรแกรมเข้าไปเชื่อมต่อกับโครงสร้างข้อมูลของ Google ได้มากขึ้น

หรือหากต้องความยืดหยุ่นก็สามารถใช้ทั้ง 2 รูปแบบ โดยผสานการทำงานระหว่างคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) กับคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ซึ่งเราเรียกว่า คลาวด์แบบผสม (Hybrid Cloud) เนื่องจากลูกค้าองค์กรบางราย ยังมีความจำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลของตัวเองถูกเก็บอยู่ที่ไหนบนคลาวด์ และต้องการบริหารจัดการระบบความปลอดภัย (Security) ของตนเอง ส่งผลให้เกิดแนวคิด “Cloud On Premise” ซึ่งเป็นการใช้คลาวด์แบบผสมผสาน

โดยผู้ให้บริการคลาวด์จะยกระบบของมาตั้งที่ศูนย์ข้อมูลของลูกค้าโดยตรง เพื่อที่จะช่วยบริหารจัดการระบบข้อมูลให้ทั้งหมด และหมดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล แต่หากมองในแง่ของโอกาสทางธุรกิจแล้วมันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่พัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งด้านความเร็ว ความยืดหยุ่น ประสิทธิภาพ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ขององค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะองค์กรขนาดใหญ่ องค์กรภาครัฐ หน่วยงาน แผนก หรือแม้แต่ธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้นอย่าง ธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs)

เตรียมพร้อมอย่างรอบด้านเพื่อเติบโต

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังตัดสินใจในการนำการบริการคลาวด์ และโครงสร้างพื้นฐานมาใช้เป็นองค์ประกอบของกลยุทธ์ทางธุรกิจ สิ่งที่ต้องมองให้ขาดคือทำอย่างไรถึงจะอำนวยความสะดวกให้พนักงาน และสร้างความพร้อมให้แก่พนักงานได้เร็วที่สุด

ไม่ใช่เพียงแค่หวังแค่ลดต้นทุนทางด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองการใช้คลาวด์เป็นเรื่องของการสร้างข้อได้เปรียบให้แก่ธุรกิจ เช่น ไม่ต้องคอยวุ่นวายกับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการฝึกฝนพนักงานใหม่ทุกครั้ง เมื่อคิดบริการใหม่ ๆ ออกมา เพียงแต่ต้องลงทุนในเครื่องมือที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคและแนวทางการทำงานเฉพาะที่จำเป็น

อย่างไรก็ดี การที่องค์กรธุรกิจจะเก็บข้อมูลไว้ใน Server ขององค์รกรเองหรือไว้ในบริการ Cloud Server ของผู้ให้บริการต่าง ๆ หรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความจำเป็นของธุรกิจของตนเอง โดยพิจารณาว่าแบบใดเหมาะสมที่สุด

หากตัดสินใจจะใช้บริการ Cloud Server สิ่งที่ธุรกิจจะต้องเตรียม คือต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานโดยดูฮาร์ดแวร์ ระบบไอที รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายที่ใช้อยู่ในตอนนี้พร้อมที่ใช้ย้ายไปทำงานบนคลาวด์ และพิจารณาถึงสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดด้วยระบบคลาวด์

และด้วยการที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ จึงควรมองหาตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทั้งหมดที่องค์กรมี ซึ่งรวมไปถึงงานด้านการวิเคราะห์แอพพลิเคชันธุรกิจและกระบวนการทำงานทางธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้นการใช้งานคลาวด์ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการทำงาน ยังสามารถช่วยให้เจ้าของกิจการขนาดเล็กประหยัดต้นทุนได้ด้วยการนำเอาแนวคิด BYOD (Bring Your Own Device) มาปรับใช้ในการทำงานได้ดอีกด้วย