2 ใน 3 ของ องค์กร ต่างๆ (64%) กำลังปรับกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี
องค์กร ต่างๆกำลังเผชิญกับความท้าทายจากความไม่แน่นอน
โดยมีองค์กรมากถึง 89% ที่รักษาระดับการลงทุน หรือเร่งลงทุนด้านนวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่
การวางแผนธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวนเป็นเรื่องยากสำหรับหลายธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัลได้แทรกซึมและช่วยต่อยอดธุรกิจทั่วโลกให้ก้าวสู่มิติใหม่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จำนวนธุรกิจที่นำกลยุทธ์ดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กร มีเพิ่มขึ้นถึง 52% ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี
และในธุรกิจเหล่านั้นที่มีจำนวนประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัล (CIO) เพิ่มขึ้นถึง 39% ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัลที่มีความซับซ้อนเป็นไปได้อย่างราบรื่น องค์กรส่วนใหญ่ระบุว่า การออกแบบสถาปัตยกรรม (Enterprise Architect) มีบทบาทสำคัญในการบูรณาการด้านธุรกิจ และเทคโนโลยี
ให้ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของธุรกิจ ส่งผลให้ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะทางด้านนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นถึง 26% เมื่อเทียบกับปี 2559 ขณะที่ช่องโหว่จากความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 1 ใน 3 ของผู้บริหารด้านไอที ซึ่ง 32% ระบุว่า องค์กรของพวกเขาถูกโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 45%
จากปี 2556 และเพียง 1 ใน 5 ของผู้บริหารด้านไอที หรือประมาณ 21% กล่าวว่า ธุรกิจของพวกเขามีการเตรียมความพร้อมรับมือกับการโจมตีไซเบอร์ในระดับที่ดี ซึ่งความเชื่อมั่นดังกล่าวลดลงจาก 29% ในปี2557 และแม้ว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่ได้ตกเป็นข่าวพาดหัวหลายครั้ง
อาทิ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry และ Petya ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้จะได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง แต่แท้จริงแล้วภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นที่สุดเกิดจากการโจมตีโดยคนวงใน จาก 40% เป็น 47% ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
“ความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยี
เป็นความท้าทายมาโดยตลอด และผลการสำรวจในปีนี้เผยว่า กระบวนการดังกล่าวยิ่งทวี ความยากยิ่งขึ้น”
อัลเบิร์ต เอลลิส กรรมการผู้จัดการ ฮาร์วีย์ แนช กรุ๊ป กล่าวว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่
ด้วยการผลักดันให้ธุรกิจของพวกเขาปฏิรูปเป็นดิจิทั
ด้าน ลิซ่า เฮนเนแกน ประธาน ที่ปรึกษาด้านการจัดการ ฝ่ายเทคโนโลยี เคพีเอ็มจี กล่าวว่า ธุรกิจทั้งหลายได้ก้าวข้ามผ่
โดยธุรกิจที่เรายกให้เป็นผู้นำด้
ด้าน ศิราภรณ์ จูฬเศรษฐ์ภักดี กรรมการบริหาร ฝ่ายการสื่อสารโทรคมนาคม สื่อและเทคโนโลยี เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจทีมีการทำงานที่มุ่
และแรงงานดิจิทัลมาใช้ ทั้งยังได้นำหุ่นยนต์
ทั้งนี้ เราจะเห็นบริษัทในภาคธุรกิ
ซึ่งปัจจุบัน หลายธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่
องค์กรจะต้องตื่นตัวอยู่เสมอ เพื่อหาทางรับมือกับภัยคุ
นอกจากนี้ ในผลสำรวจ เรายังได้พบประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติม ดังนี้
ความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลที่เปลี่ยนไป
โดยเกือบ 1 ใน 5 ของ CIO หรือกว่า 18% กล่าวว่า องค์กรของพวกเขามีกลยุทธ์ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ CIO ในองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีแนวโน้มสูงกว่าถึง 2 เท่าที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ทั่วทั้งธุรกิจ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 41% ต่อ 23% และมีการลงทุนมากกว่าถึง 4 เท่า
เมื่อเทียบกับอัตราการลงทุนขององค์กรที่ไม่ใช่ผู้นำด้านเทคโนโลยีการคิดคำนวณเสมือนมนุษย์แบบอัตโนมัติ คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 25% ต่อ 7% ซึ่งในภาพรวม พบว่า เกือบ 2 ใน 3 ของ CIO ในธุรกิจขนาดใหญ่ หรือกว่า 61% กำลังลงทุน หรือมีแผนการลงทุนด้านแรงงานดิจิทัล
CIO มีใจรักในงานที่พวกเขาทำ และมีแนวโน้มที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับคณะกรรมการบริษัท
ซึ่งพบว่า CIO มีความพึงพอใจในหน้าที่การงานมากที่สุด เมื่อเทียบกับ 3 ปี ที่ผ่านมา อยู่ที่ 39% เพิ่มขึ้นจาก 33% ในปี 2558 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ ที่มากกว่า 7 ใน 10 ของ CIO หรือกว่า 71% เชื่อว่า บทบาทของพวกเขามีการบริหารที่เป็นเชิงกลยุทธ์มากยิ่งขึ้นโดย 92% ของ CIO ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริษัทในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ดี ตำแหน่ง CIO มีอายุการทำงานอยู่ที่ 5 ปี หรือน้อยกว่า 59% แม้ว่า ผู้บริหารในตำแหน่งดังกล่าวหลายท่านมีความประสงค์ที่จะอยู่ทำงานต่อมากกว่านั้น
CIO หญิงได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น
ในปีที่ผ่านมา CIO หญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น สูงกว่า CIO ชาย (42% และ 32% ตามลำดับ) ทั้งนี้ จำนวนผู้หญิงที่ทำงานในตำแหน่งผู้นำฝ่ายไอทียังมีจำนวนน้อย หรือคิดเป็น 9% ซึ่งเท่ากับปีที่ผ่านมา
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ยังเป็นทักษะที่มีความต้องการมากที่สุด
ขณะที่ ทักษะด้านเทคโนโลยีที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในปีนี้คือ ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมองค์กร แต่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเชิงกว้างยังเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด คิดเป็น 42% ขึ้นมา 8% จากปีที่ผ่านมา
โปรเจคด้านไอทีที่มีความซับซ้อนมีความเสี่ยงด้านความล้มเหลวสูง
2 ใน 3 ของ CIO หรือกว่า 61% กล่าวว่า โปรเจคไอทีมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจาก 5 ปีที่ผ่านมา และปัจจัยที่ส่งผลให้โปรเจคไอทีไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ซึ่งคิดเป็น 46% ขณะที่การวางแผนการปฏิบัติงานที่ไม่ได้คำนึงถึงปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น คิดเป็น 40% และการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน อยู่ที่ 40%
และมากกว่า 1 ใน 4 ของ CIO หรือประมาณ 27% กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โปรเจคล้มเหลว อย่างไรก็ดี ทักษะด้านการบริหารไม่ได้ติดอันดับในรายการทักษะของ CIO ที่ยังขาดแคลนในปี2560 ซึ่งความต้องการนี้ลดลง 19% ภายใน 1 ปี