แจ็ค หม่า ประธานบริหารของ อาลีบาบา กรุ๊ป แนะแนวทางให้ธุรกิจขนาดย่อมหันมาใช้อินเทอร์เน็ตและนวัตกรรม IoT อย่างสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับคุณภาพธุรกิจ
โดย แจ๊ค หม่า ได้คาดการณ์อีกว่าในช่วง 30 ปีข้างหน้า นวัตกรรมอินเทอร์เน็ต Big Data, Cloud และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะพัฒนาศักยภาพไปอย่างรวดเร็วเหนือทุกความคาดหมาย จนกระทั่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องเผชิญกับความ
เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในทศวรรษหน้านี้ โดยที่ผู้บริโภคหรือธุรกิจขนาดเล็กอาจกลายเป็นผู้กำหนดปัจจัยในการผลิตสินค้า หรือแม้แต่แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์แทน ภายใต้โมเดลธุรกิจแบบ C2B (Consumer-to-Business) ที่ขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากลูกค้า
โครงสร้างธุรกิจแบบ C2B และการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในระดับตัวบุคคล คืออนาคตของโลกธุรกิจในยุค ‘Made in Internet’ โดยคุณอาจจะออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ไปเข้าสู่สายการผลิตในเยอรมนีก่อนจะประกอบในจีน และส่งออกไปขายทั่วโลกก็เป็นได้ หม่า กล่าว
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเทรนด์ใหม่นี้ หม่าได้เผยถึงรายละเอียดของกลยุทธ์ “Five News” ที่อาลีบาบา กรุ๊ป ได้นำเสนอเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา โดยครอบคลุมแนวคิดใหม่ทั้งในด้านธุรกิจค้าปลีก ภาคการผลิต การเงิน เทคโนโลยี และพลังงาน ในอนาคตตลาดค้าปลีกจะผสมผสานรูปแบบการทำธุรกิจของโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน
ในขณะที่ภาคการผลิตจะปรับรูปแบบการทำงานมาเป็นโมเดล C2B ส่วนภาคการเงินจะเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเงินทุนได้อย่างเท่าเทียมกัน ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบการสามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจไว้ได้ด้วย Big Data และ Cloud และข้อมูลในโลกดิจิทัลจะกลายเป็นพลังงานรูปแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกให้สามารถส่งมอบสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วกว่าที่เคย
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะไม่จำกัดอยู่แต่ในโลกออนไลน์เท่านั้น ปัจจุบันธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีมูลค่าคิดเป็นอัตราส่วน 15% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศจีน แต่เราต้องมุ่งเป้าไปที่การเสริมศักยภาพให้กับตลาดค้าปลีกออฟไลน์อีก 85% ที่เหลืออยู่ด้วยเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้
สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับ “Netrepreneur” หรือผู้ประกอบการในโลกออนไลน์นั้น เป็นผลงานการริเริ่มของ แจ็ค หม่า ในปี 2547 โดยนับจากนั้นเป็นต้นมา ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ก็ได้กลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญเบื้องหลังการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในโลกธุรกิจมากมาย
ผู้ประกอบการกลุ่ม ‘Netrepreneur’ นี้ มีรูปแบบการทำงานที่หลากหลายมาก โดยบางคนก็เลือกที่จะทำงานครอบคลุมกระบวนการในฝั่งต้นน้ำ เพื่อปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมในโลกออนไลน์ของผู้บริโภคเป็นปัจจัยในการพิจารณา
ธุรกิจในกลุ่มนี้ต่างนำศักยภาพของอินเทอร์เน็ตและช่องทางการพัฒนาสินค้า ทำตลาด และเสนอขายสินค้าออนไลน์ของเรามาผสมผสานกันอย่างลงตัว จนไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างกระแสใหม่ ๆ ในตลาดได้อีกด้วย
ดังนั้น