หัวเว่ยจัดงาน หัวเว่ย โมบาย คองเกรส ไทยแลนด์ 2018 นำเสนอเทคโนโลยี และโซลูชั่น 5G คลาวด์ และ IoT จัดแสดงผลิิตภัณฑ์ชั้นนำสำหรับธุรกิจเฉพาะด้าน ให้แก่ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมแนวหน้าของไทย
ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ผู่้ให้บริการด้านโทรคมนาคม พยายามพัฒนาข้อจำกัดของตัวเองด้านขีดความสามารถ การเชื่อมต่อ รูปแบบธุรกิจ พร้อมกับยกระดับการใช้งานของผู้ใช้ให้ได้ประสบการณ์ที่ดีพอ โดยหัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านโซลูชั่น คลาวด์และ IoT ระดับโลก ได้นำเสนอบริการต่าง ๆ ในการยกระดับประเทศไทย ลองมาดูบริการของหัวเว่ยกัน
IoT As A Service
บริการแรก หัวเว่ยใช้คำว่า Smart Life โดยจะประกอบไปด้วย Smart Meter ที่คอยวัดระดับการใช้ไฟฟ้าและน้ำ หากมีการเปิดใช้โดยไม่จำเป็น ต่อมาคือ Digital Door Lock (ตรงบานประตู) โดยผู้ใช้สามารถกดเปิดปิดผ่าน Device ต่าง ๆ ได้ และต่อมาคือ Censor ที่ใช้ตรวจับการจอดรถ(ขวาล่าง ) หากที่จอดใดว่างก็จะคอยส่งสัญญาณบอกผู้ใช้
อีกอันที่แอดมินชอบมากคือ Smart Jacket (ขอโทษที ไม่มีรูป) ความสามารถของมันเหมาะกับผู้พิการทางสายตามาก ๆ คือจะเป็นเสื้อที่ติด Censor เอาไว้ เวลาสวมใส่จะคอยส่งสัญญาณเตือน หากมีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า เรียกได้ว่าออกแบบมาเพื่อคนตาบอดโดยเฉพาะ
Smart Bike
งานนี้เป็นลักษณะการใช้จักรยานปกติ แต่ที่เข้ามายกระดับคือการปลดล๊อคด้วยการใช้งานจักรยานด้วย Smart Phoneที่ทำให้การใช้จักรยานสะดวก รวดเร็ว ขึ้นไปอีก โดยหัวเว่ยยกตัวอย่างในประเทศจีนที่มีการใช้จักรยานเยอะมากๆ ทำให้บริการเช่าใช้จักรยานจึงได้รับความนิยมสูง
สำหรับแอดมิน คิดว่าบริการนี้อาจจะไม่ค่อยได้รับความนิยมไนไทยเท่าไหร่ ถึงแม้การขอใช้บริการจะดวกขึ้น แต่ถนนในกรุงเทพยังไม่เหมาะที่จะใช้ปั่นจักรยานสักเท่าไหร่
Drone for anything
โดรนจะถูกใช้งานมากขึ้น ด้วยความแรงของสัญญาณ 5G โดยหัวเว่ยให้ข้อมูลว่า โดรนจะถูกนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Drone for Logistics ใช้เพื่อส่งของตลอด 24 ชั่วโมง หรือใช้เพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร โดยใช้โดรนในการพ่นยา พ่นปุ๋ย ประหยัดเวลา ได้คุณภาพ และลดความเสี่ยงด้านยาฆ่าแมลงกับมนุษย์ด้วย
Huawei Connected Car
Huawei ได้นำเสนอ Connected Car ไม่มีรูปให้ดู แต่ขออธิบายคร่าว ๆ แล้วกัน โดยไอเจ้า Connected Car มีส่วนท่ี่อัพเกรดขึ้นมาจากรถยนต์ธรรมดาคือ มีระบบเชื่อมต่ออิินเทอร์เน็ต และเครือข่ายที่เชื่อมโยงข้อมูลของรถต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
นั่นแปลว่า รถยนต์ต่าง ๆ สามารถคุยกันได้ หากมีแนวโน้มว่าจะเกิดอุบัติเหตุจะส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ขับรู้ พร้อมทั้งการคาดการณ์ปัญหาการจราจร การควบคุมความเร็ว และการเตือนความเหนื่อยล้าของตัวผู้ขับ หากมีการขับในรูปแบบที่ผิดปกติจากเดิม เรียกว่าได้เป็นสูตรสำเร็จของการขับรถยนต์ที่ปลอดภัยไปอีกขั้น
5G wireless for Healthcare (กลาง)
ตัวนี้เป็นสิิ่งที่ท้าท้ายเป็นอย่างมากในการทำวิจัย โดยการใช้สัญญาณ 5G ในการเพิ่มความแม่นยำในการรักษา การใช้ Robot เพื่อการผ่าตัดที่ต้องใช้ความละเอียดเป็นพิเศษ โดยหัวเว่ยกำลังอยู่ในขั้นตอนการทำวิจัยในส่วนนี้อยู่
Smart Navigation ( ขวาสุด )
โดยเป็นการนำระบบ AI และ ระบบ Navigation ย่อส่วนลงมา ยกตัวอย่างเช่น AI Helmet ที่ติดตั้งระบบแล้วคอยส่งสัญญาณให้กับผู้พิการทางสายตา หากจะเดินชนสิ่งกีดขวาง หรือการจะข้ามถนน AI จะคอยไกด์ว่าปลอดภัยแล้ว ข้ามได้ ยกระดับความปลอดภัยมากขึ้น เป็นต้น
Huawei Smart Farm
อันนี้หัวเว่ยเขาได้ใช้งานจริง ๆ แล้วในฟาร์มที่ประเทศจีน โดยเป็นฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ที่มีวัวอยู่นับแสนตัว ทำงานโดยติด Censor ไว้ที่ปลอกคอข้อมูล และข้อมูลต่าง ๆ จะถูกส่งและประมวลผลออกมาว่า วัวตัวไหนพร้อมให้นมหรือยัง หรือวัวตัวไหนพร้อมผสมพันธุ์แล้ว โดยจะระบุเป็นรหัสชัดเจน ทำให้เจ้าหน้าที่ฟาร์ม ทำงานสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ทั้งหมดในกล่าวมาหัวเว่ยให้ข้อมูลว่า เราจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตที่มีความรวดเร็วซะก่อน ถึงจะทำให้โซลูชั่นต่าง ๆ นั้นได้รับประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น นั่นหมายถึงไทยยังต้องโครงพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์อีกขั้น ซึ่งนั่นก็เป็นความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญอยู่
ในงานครั้งนี้ หัวเว่ยได้เชิญผู้บริหารจากทาง กสทช. มาร่วมชมนิทรรศการงานในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ด้านบน โดยเล็งเห็นว่าเป็นหน่วยงานหลักที่จะเป็นตัวตั้งตัวตีที่จะทำให้ประเทศเกิด 5G ได้ ซึ่งหัวเว่ยก็พร้อมที่จะสนับสนุนในทุก ๆ ด้านเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน