สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (Gistda) ล้ำใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ลดปัญหาเรื่องการถือครองที่ดิน หวังสร้างความไม่เท่าเทียม และทั่วถึง
Gistda เดินหน้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำการถื อครองที่ดิน ด้วย Big Data และ IoT
ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน ปัญหากรรมสิทธิ์ และความขัดแย้งระหว่างราษฎรกับภาครัฐ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในพืนที่สูงของภาคเหนือ นอกเหนือไปประเด็นเรื่องการศึกษา รายได้ การมีงานทำ การเข้าถึงสาธารณสุขที่ดีมีคุณภาพ
ซึ่งทั้งหมดกลายเป็นความความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เท่าเทียมและทั่วถึง จนขาดความสมดุลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การดำเนินการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวนี้จำเป็นต้องทำการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการขับเคลื่อนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวนโยบายของรัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์
และรักษาความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ที่จะทำให้คนไทยทุกคนมีความเท่าเทียม เสมอภาค โดยการที่จะขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับความยากจน ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ไม่ยากเกินกว่าจะไปถึงเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางแนวนโยบายไว้ ภายในอีก 20 ปี ข้างหน้า
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจิสด้าได้ดำเนินการวิเคราะห์และร่วมขับเคลื่อนในระดับพื้นที่สูงภาคเหนือ โดยได้นำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการลงสำรวจและจัดทำพื้นที่รายแปลง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ประกอบด้วย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ GIST North, มูลนิธิรักษ์ไทย
กรมอุทยานฯ, กรมป่าไม้, สภาคริสต์จักร, กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์และโรงเรียนบนพื้นที่สูง และอำเภอแม่แจ่ม โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกันในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า การสำรวจ จัดทำฐานข้อมูลที่ดินทำกินของประชาชน
และได้จัดทำแผนบริหารจัดการที่ดินป่าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย รวมไปถึงมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
บุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่า ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนาในยุคดิจิตอลที่มีแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์ (Big Data) หลั่งไหลมาไม่ขาดสาย พลังแห่งอินเตอร์เน็ต (Internet of thing) มีอิทธิพลต่อคนทุกเพศทุกวัย
และเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาในยุค ไทยแลนด์ 4.0 คนในชุมชนเริ่มมีการปรับตัว และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มยอมรับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ที่นอกเหนือจากภาครัฐมากขึ้น นำไปสู่การปฏิรูปคนในชุมชนให้ทันกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ
ในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนนั้น เกิดจากการดำเนินงานที่มอง “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา ตามหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 รวมไปถึงเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา ความยากจน และการเข้าถึงการรักษาพยาบาล สาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตความอยู่ดีกินดีให้แก่ชุมชนท้องถิ่น บนพื้นฐานของกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับ “ภูมิสังคม ภูมินิเวศน์ ภูมิวัฒนธรรม” ของชุมชนคนแม่ศึก รวมไปถึงประชาชนคนแม่แจ่ม และพื้นที่สูงภาคเหนือทุกคน
สำหรับพื้นที่ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างชุมชน ที่ไม่หยุดการพัฒนา ไม่รั้งรอ ร้องขอ หรือรอคอย พลังชุมชนจากทุกภาคส่วน และเป็นมิติใหม่ของการบูรณาการอย่างแท้แจริงจากผู้บริหารท้องที่ และท้องถิ่น
โดยการนำของ สันติชาติ ยิ่งสินสุวัฒน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก ร่วมผนึกกำลังวางเป้าหมายกับชุมชน และภาคีร่วมหลายฝ่าย โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่ดินทำกินและทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ในระดับพื้นที่
โดยมุ่งหวังการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ป่าของรัฐ ประชาชนมีการใช้ที่ดินอย่างสมดุลและยั่งยืน “คนอยู่ร่วมกับป่า อนุรักษ์ ฟื้นฟู ตามกรอบกติกาที่เป็นธรรม”
ด้าน มิ่งขวัญ กันธา รักษาการหัวหน้าฝ่ายภูมิสังคม สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ กล่าวถึงกุญแจแห่งความสำเร็จต่อการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาบูรณาการกลไกการมีส่วนร่วม เป็นเครื่องเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับรัฐ
สำหรับการวางแผน บริหารจัดการ ประเมินผลและติดตามเชิงพื้นที่ในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการที่ดินทำกินของประชาชนในเขตพื้นที่ของรัฐ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ การจัดการภัยพิบัติ การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจฐานของชุมชน
ทั้งนี้ การสร้างจิตสำนึกและฟื้นฟูป่าต้นน้ำจะเกิดผลไม่ได้ ถ้าไม่มีการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สำหรับพื้นที่ ต.แม่ศึก และประชาชนคนแม่ศึก ที่จะก้าวไปสู่ความมั่นคงในมิติด้านต่าง ๆ ไม่ได้ง่าย แต่จากระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นรูปธรรมตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน โดยเฉพาะระบบคิดของพี่น้องประชาชนคนแม่ศึก จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุล และยั่งยืน สร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน
ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบการจัดการร่วมตามแนวทางการจัดการร่วมหลายฝ่าย หรือที่เรียกว่า “ประชารัฐ”
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่