เอไอ

หัวเว่ย เร่งทดสอบ “เอไอ” เพิ่มขีดเพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลให้แก่ Fiber Optic หวังสร้างการบำรุงรักษาอันชาญฉลาดด้วย AI รองรับการเติบโตของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นทุกปี…

highlight

  • โครงการนำร่องทดลองใช้งานความยาวคลื่น 400G และการทดสอบ Optical Intelligence (OI) เป็นการทดสอบโซลูชัน Optical Networking 2.0 ของ หัวเว่ย ที่ตั้งใจที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย ด้วยการดำเนินงาน และสร้างกระบวนการบำรุงรักษาด้วย AI รองรับการการเติบโตของทราฟฟิคที่เพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงรองรับการใช้งานของข้อมูลบน 5G

หัวเว่ย ลุยทดสอบ “เอไอ” (AI) บน 400G เพิ่มขีดความสามารถให้เครือข่ายไฟเบอร์ออปติก

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Orange Spain ร่วมกับหัวเว่ยประกาศโครงการนำร่องการทดลองใช้งาน WDM Link ความยาวคลื่น 400G ในเครือข่ายของ Orange ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นการทดลองใช้งานความยาวคลื่น 400G ครั้งแรกของสเปน และกลุ่ม Orange

นอกจากนี้ Orange Spain ยังเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรก ๆ ที่ดำเนินการทดสอบเครื่องมือที่ใช้นวัตกรรม AI ใหม่ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการและการบำรุงรักษาด้านไฟเบอร์ออพติค ในขณะเดียวกันก็เป็นการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครือข่ายโทรคมนาคมของ Orange ในการก้าวไปสู่ระบบอัตโนมัติ

ซึ่งความร่วมมือกับหัวเว่ยในการสร้างระบบเครือข่าย North-East Ring 200G หรือโครงการติดตั้งใช้งานความยาวคลื่น 400G นำร่อง และการทดสอบ AI นี้ขึ้นเพื่อคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานของสายไฟเบอร์ออพติคสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการและนวัตกรรมในด้านเครือข่ายออพติคัล

 

เอไอ

มร. มานูเอล ซานเชซ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเครือข่ายของ Orange Spain กล่าวว่า การทดสอบร่วมกันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับ Orange เราได้มองหานวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายของเราให้มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้มากขึ้น เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าของเรา

ด้วยเทคโนโลยีความยาวคลื่น 400G รวมถึงเทคโนโลยีการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอันชาญฉลาดด้วย AI เราจึงมีความมั่นใจในการจัดหาการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อรองรับการเติบโตของทราฟฟิคที่เพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นการเตรียมความพร้อมของเครือข่ายสำหรับวิวัฒนาการในอนาคต เช่น 5G

อนึ่ง Orange Spain คือผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของสเปน โดยให้บริการการสื่อสารคุณภาพสูงทั้งแบบติดตั้งอยู่กับที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ลูกค้า โดยปัจจุบันเครือข่ายไฟเบอร์ออพติคของ Orange Spain ให้บริการลูกค้า 14 ล้านครัวเรือน ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการ FTTH

โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Orange Spain ยังมีผู้ใช้บริการ 4G มากที่สุดในสเปนตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการเครือข่าย 4G โดยมีลูกค้าเลือกใช้เครือข่าย 4G ของ Orange Spain ถึง 10 ล้านคนสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ด้าน มร.ริชาร์ด จิน ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ Transmission & Access ของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยมีการค้นคว้านวัตกรรมเทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายออพติค และผลักดันให้อุตสาหกรรมเครือข่ายออพติคก้าวไปสู่ยุค Optical Network 2.0

ซึ่งโครงการนำร่องทดลองใช้งานความยาวคลื่น 400G และการทดสอบ Optical Intelligence (OI) เป็นการทดสอบโซลูชัน Optical Networking 2.0 ของหัวเว่ยอย่างเต็มรูปแบบ  ในอนาคตเราจะยังให้การสนับสนุน Orange Spain ในการรับมือกับความท้าทายด้านบริการในยุค 5G ต่อไป เพื่อบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจ

What is DWDM Technology?

เอไอ

DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing)  เป็นเทคนิคการส่งข้อมูลบนเส้นไฟเบอร์ออปติกโดยใช้วิธีส่งข้อมูลไปบนหลาย ๆ ช่วงความยาวคลื่นของเส้นไฟเบอร์ ออปติก 1 เส้น DWDM จึงเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลให้แก่เครือข่ายไฟเบอร์ออปติก
โดย DWDM พัฒนามาจากเทคโนโลยี WDM (Wavelength Division Multiplexing) (ซึ่งเดิมสามารถรองรับการส่งข้อมูลที่อัตรา 2.5 Gbps ถึง 10 Gbps ที่ 32 ถึง 64 ช่องสัญญาณ) โดยการเพิ่มจำนวน ช่องสัญญาณเป็น 160 ช่องสัญญาณ
โดยที่กำหนดให้ระยะห่างระหว่างช่องสัญญาณถี่ขึ้น คืออยู่คืออยู่ที่ 25 ถึง 50 GHz และรองรับอัตราการส่งข้อมูลที่ 1 Terabit/s ซึ่งการเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านระบบสายส่งสัญญาณไปเป็นระยะทางไกลจำเป็นต้องใช้สายส่งที่เป็นเส้นใยนำแสง โดยเทคนิคที่สำคัญในการเพิ่มความเร็วมีวิธีการหลักอยู่ 2 วิธี คือ
เพิ่มอัตราเร็วจากระบบเดิมที่ใช้อยู่ ระบบ SDH/SONET เป็นระบบสื่อสารเชิงแสงที่มีความเร็วสูงการเพิ่มความเร็วของข้อมูลจากระดับต่ำ เช่น จาก STM-16 ที่มีความเร็ว 2.5 กิกะบิตต่อวินาที ไปเป็นระดับที่สูงขึ้น เช่น STM-64 มีความเร็ว 10 กิกะบิตต่อวินาที จะทำให้ระบบมีความเร็วเพิ่มมากขึ้นซึ่งระบบ SDH/SONET
เดิมยังคงสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 10 หรือมากกว่า 100 กิกะบิตต่อวินาที อย่างไรก็ตาม การพัฒนาไปสู่ความเร็วที่ยิ่งสูงขึ้นอาจทำได้ยากขึ้น เนื่องจากถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ โดยเฉพาะความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ฃทำให้ระบบมีราคาแพง
เพิ่มจำนวนความยาวคลื่นแสงในเส้นใยนำแสงเส้นเดิม เทคนิคนี้สามารถกระทำได้โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม อีกทั้งเส้นใยนำแสงเดิมในระบบยังพอสามารถรองรับขีดการทำงานนี้ได้ซึ่งจากแนวคิดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบสื่อสัญญาณแบบ WDM หรือ Wavelength Division Multiplexing ซึ่งพัฒนามาเป็น DWDM นั่นเอง
ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ดร.อธิคม ฤกษบุตร,“เทคโนโลยี DWDM : เส้นทางขนานสําหรับการเพิ่ม Bit Rate”,
    วารสารสื่อสารของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ,2546
**** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่