HCNA-AI

หัวเว่ย (Huawai) เปิดตัว โครงการอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (HCNA-AI) ภายใต้ธีม “ไม่หยุดเรียนรู้ สร้างอนาคตด้วย AI” หวังสร้างความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม…

Huawai โครงการอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (HCNA-AI) 

หัวเว่ย เปิดตัว โครงการอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (HCNA-AI) ขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ภายใต้ธีม “ไม่หยุดเรียนรู้ สร้างอนาคตด้วย AI” โดยได้ต้อนรับนักการศึกษา นักวิชาการ พันธมิตรด้านการฝึกอบรมของหัวเว่ย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจเทคโนโลยี AI จำนวนกว่า 100 คน

โครงการฝึกอบรมที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ทำงานในสายเทคโนโลยีนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม AI ด้วยการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในองค์กรต่าง ๆ ที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในเศรษฐกิจดิจิทัลได้ง่ายยิ่งขึ้น

HCNA-AI

การสร้างอีโคซิสเต็มด้านการพัฒนาคนในยุคเอไอ

มร.แบรดด์ เฝิง ผู้อำนวยการฝ่ายการฝึกอบรม และการรับรองระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของ หัวเว่ย กล่าวว่า เรากำลังเผชิญกับปัญหาความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นจากการมุ่งเน้นกลยุทธ์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ระดับชาติ

หัวเว่ย จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมหลายแห่งจัดทำรูปแบบการฝึกอบรมบุคลากรที่มีความสามารถแบบใหม่

การฝึกอบรมระดับมืออาชีพแนวใหม่กับหลักสูตรที่ผ่านการปรับปรุงของมหาวิทยาลัยจะช่วยเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้คนทำงานสามารถเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

ด้าน ศาสตราจารย์หวัง ว่านเหลียง คณบดี คณะวิทยาการ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เจ้อเจียง กล่าวว่า การเปิดตัวโครงการฝึกอบรมด้าน AI ของหัวเว่ยถือเป็นการปฏิรูปก้าวสำคัญของการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี AI และในฐานะที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในแวดวงวิชาการ

เราตั้งตารอที่จะได้เห็นหัวเว่ยพัฒนาโครงการฝึกอบรมมืออาชีพด้าน AI และลดช่องว่างระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ด้วยการจัดฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาและผู้ที่ทำงานอยู่ในสายไอทีอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ศาสตราจารย์อู๋ เฟย รองคณบดี คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง และผู้อำนวยการสถาบันปัญญาประดิษฐ์ (Institute of Artificial Intelligence) กล่าวอธิบายในระหว่างการนำเสนอเรื่อง “การฝึกอบรมผู้มีความสามารถด้าน AI ข้ามสาขาวิชา” ว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI 

เป็นสาขาวิชาอิสระ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ครอบคลุมเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสาขาต่าง ๆ ความเป็นสหสาขาวิชาโดยธรรมชาติของมันนี้ต้องการทักษะข้ามสาขา มหาวิทยาลัยทั้งหลายจึงควรร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์และนำคนเก่งในสาขาต่าง ๆ ให้มาทำงานร่วมกัน

การรับรองความรู้ของหัวเว่ยคือการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวไปข้างหน้า

มร. จาง จื้อเฟิง หัวหน้าสถาปนิกด้านการรับรองความรู้สาขา AI ของ หัวเว่ย กล่าวว่า แนวคิดโครงสร้างของหลักสูตรรับรองนี้คือ การฝึกอบรมทักษะทาวด้านวิศวกรรม AI ของหัวเว่ย ซึ่งช่วยจะเพิ่มพูนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ และการใช้งานเฉพาะด้านในอุตสาหกรรม 

กรอบการฝึกอบรมนี้ครอบคลุมทั้งหมดสี่ด้านด้วยกัน คือ

ปูพื้นฐานด้านทฤษฎีและเทคโนโลยีชั้นนำ : เนื้อหาการเรียนรู้ของโครงการนี้จะปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และความรู้ด้านการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ในระดับนี้ นักศึกษาจะได้รับการแนะนำให้ค่อย ๆ เข้าใจถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เชิงลึก

เช่น โครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ (Convolutional Neural Networks) โครงข่ายประสาทเทียมแบบวนซ้ำ (Cyclic Neural Networks) การลดความซ้ำซ้อนของโมเดล (Regularization) การหาค่าโมเดลที่ดีที่สุด (Optimizers) ฯลฯ

และแนะนำการเรียนรู้เชิงลึกในการใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์ การรู้จำเสียงพูด และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ

ขอบเขตที่ชัดเจนและการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง :โครงการนี้ใช้กรอบ TensorFlow หลัก และสนับสนุน Keras ซึ่งเป็น API เครือข่ายประสาทเทียมระดับสูง กรอบการเรียนรู้เชิงลึแบบ Theano/TensorFlow ที่เขียนด้วยภาษาไพธอน (Python) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเข้ากันได้ดีเยี่ยม ทันท่วงที

แพลตฟอร์มที่สะดวก ใช้งานได้ตลอดเวลา : ห้องเรียนที่เน้นการทดลองของคอร์สฝึกอบรม ในโครงการนี้จะสามารถเข้าได้ที่เซิร์ฟเวอร์ Elastic Cloud หรือ ECS บนคลาวด์ของหัวเว่ย และสามารถติดตั้งได้ตามคู่มือแนะนำ

เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จจะมี IP ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านแยกกัน ดังนั้น นักเรียนจึงสามารถล็อกอินเข้าสู่ห้องแล็บ และเรียนรู้ได้ตามเวลาที่สะดวกด้วยการเชื่อมต่อเครือข่าย

ใช้งานง่ายและทันสมัย : โครงการฝึกอบรม จะมีการฝึกหัดเขียนโปรแกรมในแบบต่าง ๆ รวมถึงการแข่งขันด้านการจดจำภาพ การประกวดการรู้จำเสียงพูด และการพูดคุยสนทนาระหว่างคนกับเครื่อง เพื่อให้นักเรียนสามารถฝึกฝนสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

HCNA-AI

การลดช่องว่างทักษะด้านเทคโนโลยีด้วยการสร้างระบบนิเวศสำหรับบุคลากรที่มีความรู้

ปัจจุบันบุคลากรทางด้านปัญญาประดิษฐ์มีความรู้ในระดับที่แตกต่างกันมาก หัวเว่ยเป็นผู้นำเทคโนโลยีที่มีการดำเนินงานอย่างแข็งขันเพื่อดึงผู้มีความสามารถระดับสูงและพัฒนาชุมชนวิชาชีพ ICT ให้เกิดขึ้น โดยสร้างระบบนิเวศสำหรับผู้เรียนทั่วโลก และเพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะเทคโนโลยี

และตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ หัวเว่ยจะเปิดตัวกลยุทธ์การพัฒนา AI ที่สมบูรณ์แบบอย่างเป็นทางการ พร้อมแผนพัฒนาคนในงาน HUAWEI CONNECT ที่จะจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ในเดือนตุลาคมนี้ เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หัวเว่ยจะสร้างระบบนิเวศเพื่อบ่มเพาะผู้ที่มีความรู้ความสามารถ

และผลิตบุคลากรด้านไอซีทีคุณภาพสูงป้อนสู่อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องผ่านระบบการออกใบรับรองด้าน ICT ที่มีคุณภาพระดับโลก กระชับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และองค์กรให้แนบแน่นยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคนที่มีความสามารถและนวัตกรรมโดยร่วมกันสร้าง Huawei ICT Academy ช่วยให้การผลิต

และการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถมีความสอดคล้องตรงกันเพื่อลดช่องว่างระดับความรู้ของบุคลากร โดยจัดการแข่งขัน Huawei ICT Competition และ Huawei ICT Job Fair ทั่วโลก และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

งาน HUAWEI CONNECT 2018 – “Activate Intelligence” จะจัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม Shanghai World Expo ระหว่างวันที่ 10 ถึง 12 ตุลาคม ศกนี้

การประชุม HUAWEI CONNECT ในปีนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรทั้งหมดก้าวข้ามอุปสรรคและมีส่วนร่วมในโลกอัจฉริยะ โดยมีผู้เชี่ยวชาญมากมายในอุตสาหกรรม อาทิ บริษัทผู้นำด้านไอซีทีจากทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และบริษัทคู่ค้าในระบบนิเวศอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดทิศทาง และสำรวจหาโอกาสใหม่ ๆ

*สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.huawei.com/en/press-events/events/huaweiconnect2018

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่