Robot

แม้ในปัจจุบันจะมีอุตสาหกรรมการผลิตมากถึง 85% ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Robot อัตโนมัติได้ แต่มีเพียง 50% ที่พร้อมใช้เทคโนโลยีนี้ภายใน 1-3 ปี ข้างหน้า

New Age Industry และ Robot ความลงตัวที่ต้องใส่ใจ

ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยผ่านพ้นปี 2017 ไปได้ด้วยผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ค่อนข้างซบเซา เมื่อเกิดสภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลง และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีอัตราการเติบโตแค่ระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

ทำให้ประเทศไทยต้อง เผชิญกับ การแข่งขันที่สูงขึ้นจากประเทศอุตสาหกรรมคู่แข่งอื่น ๆ อาทิ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และเน้นมูลค่าตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

Robot

รัฐบาลจึงกำหนดให้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในอนาคต แม้ในปัจจุบันจะมีอุตสาหกรรมการผลิตมากถึง 85% ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติได้ แต่มีเพียง 50% ที่พร้อมใช้เทคโนโลยีนี้ ภายใน 1-3 ปี ข้างหน้า

และที่แย่กว่านั้น ผลการสำรวจอุตสาหกิจของธนาคารโลกระบุว่าเพียง 18% ของบริษัทในประเทศไทยที่มีการฝึกอบรมในเรื่องนี้ให้กับพนักงานในองค์กรอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

วันนี้เรื่องของการยกระดับทักษะ และการฝึกอบรมซ้ำให้แก่แรงงาน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับประเทศในการบรรลุถึงอุปสงค์ของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องช่องว่างด้านทักษะ และการขาดแคลนการฝึกอบรมเทคโนโลยี

ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการก้าวสู่ระดับแถวหน้าในการแข่งขัน เมื่อตระหนักถึงความเร่งด่วนในการรักษาสถานะทางการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก

ภาครัฐบาล และเอกชนจึงริเริ่มโครงการเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของแรงงาน และสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมเพื่อการเติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

การอุดช่องว่าง

Robot
เชอร์ไมน์ กอทเฟร็ดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย

เชอร์ไมน์ กอทเฟร็ดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย ได้ให้ความเห็นว่า ในการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดเรื่องทักษะ และแรงงานในเรื่องการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลไทยจึงจับมือเป็นพันธมิตรกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ในการก่อตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy : MARA) โดยมีการดำเนินงาน 3 ระยะตลอดเวลา 10 ปี แผนการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติ และหุ่นยนต์จะให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน

การยกระดับทักษะ และการฝึกอบรมสายอาชีพเพื่อการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเมื่อรัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม บรรดาผู้ผลิตจึงสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ที่หาได้จากภาคเอกชน

ยกตัวอย่างเช่น ในการสนับสนุนให้ธุรกิจก้าวสู่การฝึกอบรมและการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ บริษัทยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ได้นำเสนอหลักสูตรการเรียนรู้ระบบออนไลน์ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรี

การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง

Robot

โคบอท (Cobot) หรือหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ เป็นหุ่นยนต์ที่มีประโยชน์มากจนถือเป็นเครื่องมืออัตโนมัติที่มีคุณค่ามาก ซึ่งนอกเหนือจากการมีขนาดกะทัดรัด ปลอดภัย และสามารถปรับใช้งานได้อย่างหลากหลาย โคบอทยังสามารถตั้งโปรแกรมการทำงานได้ด้วยตนเอง

ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการเรียนรู้ของพนักงานให้สั้นลงได้ ทำให้แม้แต่พนักงานที่มีทักษะน้อยก็ยังสามารถเรียนรู้การใช้งานโคบอทได้อย่างง่ายดาย

การติดตั้งโคบอทให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ในสายการผลิตช่วยให้นุษย์สามารถลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและต้องใช้แรงมาก รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องลงทุนสูงในการบูรณาการระบบ และเนื่องจากโคบอทถูกใช้ในการทำงานที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องทำ

ทำให้พนักงานมีเวลาสำหรับการยกระดับทักษะของตนเองเพื่อรับผิดชอบงานที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งสอดคล่องกกับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง อาทิ การออกแบบและการใช้งานโซลูชั่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจหรือกระบวนการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์

โคบอทจึงช่วยให้ภาคธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ ผ่านการยกระดับทักษะพนักงาน การใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอย่างสะดวกรวดเร็วและซื้อหาได้ง่าย และทำให้สามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ในท้ายที่สุด

การเพิ่มความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์

Robot

เมื่อตระหนักถึงข้อจำกัดการเรียนรู้ในการใช้งานเทคโนดลยีหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ จึงริเริ่มโครงการในวงการอุตสาหกรรม โดยการเปิดตัว UR Academy ในการช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่านการนำเสนอหลักสูตรการเรียนรู้ระบบออนไลน์เกี่ยวกับเทคโยโลยีหุ่นยนต์

ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรี โดยมี 9 หลักสูตรออนไลน์ซึ่งเริ่มตั้งแต่พื้นฐานการตั้งโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ซึ่งครอบคลุมทั้งการเพิ่มส่วนประกอบข้อมือหุ่นยนต์ การเชื่อมต่อการป้อนข้อมูลและการแสดงผล การสร้างโปรแกรมขั้นพื้นฐาน และการตั้งค่าเครื่องมือและโซนปลอดภัย

ซึ่งนอกเหนือจากการถ่ายโอนข้อมูลที่ง่ายดาย หลักสูตรนี้ยังออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการฝึกฝนปฏิบัติด้วยมือตนเองผ่านเครื่องจำลองแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ เพื่อทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมในการทำงานมากที่สุด

โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานหลักสูตรนี้มากกว่า 20,000 รายจาก 132 ประเทศ ที่ลงทะเบียนเพื่อรับการฝึกอบรม โดยหลักสูตรจัดทำทั้งภาษาอังกฤษ สเปน เยอนมัน ฝรั่งเศส และจีน

สถาบันยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ทำงานควบคู่กับ UR+ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ยกระดับระบบนิเวศของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ให้มีความเป็นสากล เพื่อให้นักพัฒนาเทคโนโลยีภายนอกช่วยให้ผู้ผลิตชาวไทยสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการของตนเองได้ นับตั้งแต่ส่วนประกอบข้อมือหุ่นยนต์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

ไปจนถึงกล้องตรวจจับและซอฟต์แวร์ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบและรับรองนี้ มีคุณสมบัติการติดตั้งง่าย การทำงานที่เชื่อถือได้ ประสบการณ์การใช้งานที่ราบลื่น และการตั้งโปรแกรมที่ง่ายดายทั้งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่

การตระหนักถึงนโยบายไทยแลนด์ 4.0

Robot

เมื่อโครงการของรัฐบาล และภาคอุตสาหกรรมเริ่มดำเนินงานเพื่อส่งเสริมภาคแรงงานตามนโยบายไทนแลนด์ 4.0 บรรดาผู้ผลิต และนักธุรกิจย่อมสามารถก้าวสู่สถานะผู้นำในการแข่งขันได้ ผ่านการยกระดับประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่ซื้อหาได้และง่ายต่อการใช้งาน อาทิ เทคโนโลยีโคบอท เป็นต้น

ด้วยการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลใหญ่อย่างสถาบันยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ จะช่วยให้ธุรกิจการผลิตมีความพร้อมมากขึ้นในการเร่งใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และตระหนักถึงศักยภาพที่แท้จริงเพื่อการก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่