2 บริษัทยักษ์ใหญ่ตอกย้ำความสำคัญ Big Data Analytics และ AI โดยคว้ารางวัล Enterprise Innovation Awards จากงาน Asia IoT Business Platform หรือ AIBP สุดยอดเทคโนโลยีตัวช่วยดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการปฏิรูประบบดิจิทัลภายในองค์กร
2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คว้ารางวัล จากงาน Asia IoT Business Platform ครั้งที่ 24
อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ บริษัทนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับการใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการบริหารจัดการการก่อสร้าง การตรวจสอบ และการจัดตารางเวลา
ทำให้ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยหัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบดิจิทัล (digital transformation) ภายในองค์กรของอนันดา คือการสร้างการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ในหมู่พนักงานภายในองค์กร
ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวต่อต้านการป้องกันตามธรรมชาติการหยุดชะงักของแรงงานในอนาคต (future workforce) โดยเทคโนโลยี
ด้าน กรุงศรี คอนซูเมอร์ หนึ่งในบริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้พัฒนาระบบที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยีด้านการระบุตำแหน่งของผู้ส่งข้อมูล (Geo-Location Technology) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics)
ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายและบริบทข้อความทางการตลาดไปยังลูกค้าได้อย่างแม่นยำ โดยปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ กรุงศรี คอนซูเมอร์ ได้รับรางวัลดังกล่าว
สำหรับงาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ได้รับการสนับสนุนโดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Thailand’s Ministry of Digital Economy and Society) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency) หรือ depa และ ไมโครซอฟท์
ประเทศไทย (Microsoft Thailand) โดยงาน AIBP จะมุ่งเน้นไปที่นโยบายประเทศไทย 4.0 และให้ความสำคัญบนความท้าทายที่องค์กรในท้องถิ่นและองค์กรด้านบริการสาธารณะต้องเผชิญในการนำโครงการ IoT ไปใช้งาน รวมถึงการพัฒนาล่าสุดในอุตสาหกรรม IoT และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย
จากผลการสำรวจของ AIBP เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า โครงการ IoT กำลังมีการดำเนินการอยู่ในหลายภาคธุรกิจในประเทศไทย และมีระดับความสำเร็จที่แตกต่างกันไป โดยบริษัทในภาคอุตสาหกรรมได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานโครงการ IoT มากที่สุดถึง 10.7%
ขณะที่ธุรกิจด้านบริการทางการเงิน (Financial Services) 8.2%, ธุรกิจการค้าปลีก (Retail) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) และธุรกิจบริการ (Hospitality) 6.8%
ธุรกิจการกระจายสินค้า (Distribution) ธุรกิจขนส่ง (Transportation) ธุรกิจการจัดการการส่งสินค้า (Logistics) และธุรกิจบริการขนส่งระหว่างประเทศ (Freight) 5.9%
ทั้งนี้ โครงการ IoT นั้นต้องการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งเซนเซอร์ (installing sensors) การเลือกตัวเลือกการเชื่อมต่อ (selecting connectivity options) และการใช้ซอฟต์แวร์ในการรวม / วิเคราะห์ข้อมูล (using software to aggregate / analyse the data)
โดย 51% ของพนักงานองค์กรที่ได้รับการสำรวจรายงานว่า ทุ่มเทให้กับการปฏิรูประบบดิจิทัล (digital transformation) ส่วน 66.5% เห็นว่า การใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล / ธุรกิจอัจฉริยะ (data analytics / business intelligence) จะส่งผลดีต่อองค์กรของตนมากที่สุด
โดยส่วนที่เล็กที่สุด 9.2% ของผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังไม่คุ้นเคยกับแนวคิดเรื่อง Enterprise IoT technology
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยบริษัทจดทะเบียนมักเป็นจุดสนใจ แต่ DEPA ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมของงาน AIBP ได้ชี้แจงความตั้งใจที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในท้องถิ่น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในประเทศและ ในภูมิภาค
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ depa กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจขององค์กรเราคือ การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศในอุตสาหกรรมของตน และการช่วยพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการเหล่านั้น
การทำงานร่วมกับ Asia IoT Business Platform จะช่วยให้ผู้ประกอบการภายในประเทศเหล่านี้มีโอกาสมากขึ้นในการเปิดตลาดใหม่ในระดับภูมิภาค การทำงานร่วมกันจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาภารกิจหลักของเรา ปัจจุบันเรามีโครงการที่มุ่งช่วยเหลือกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ SME
ในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะใช้ช่องทางนี้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมทั้งพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย”\
ด้าน เออร์ซ่า สุปรับโต ซีอีโอของ Asia IoT Business Platform กล่าวว่า มีความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการภายในประเทศไทย ที่จะดำเนินโครงการกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ IoT ไป ปรับใช้ในองค์กร ความต้องการนี้สร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมในประเทศไทย
เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและผู้ให้บริการด้านการปรับใช้เทคโนโลยีในประเทศ และทวีความเข้มข้นขึ้นเมื่อ depa จะจัดตั้งสถาบัน IoT ขึ้นตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)
ขณะที่ สมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตรของบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “IoT เป็นเทคโนโลยีที่รวบรวมหลากหลายนวัตกรรมมาผสานกันเป็นหนึ่งเดียว
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับระบบคลาวด์ การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมไปถึงระบบที่รองรับด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การรวมกันของเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
ควบคู่ไปกับการเสริมศักยภาพขององค์กรและลูกค้าให้สูงขึ้นอย่างควบคู่กันไป ทั้งนี้ รายงานวิจัยของไมโครซอฟท์และไอดีซีเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาคาดการณ์ว่ากระบวนการปฏิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัลจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เติบโตขึ้นได้เป็นมูลค่าถึง 3.87 แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2564
และผู้นำในภาคธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคดังกล่าว รวมถึงในประเทศไทยด้วย ต่างมองว่า IoT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการนำพาองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จบนเส้นทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่