ความปลอดภัยและความพร้อมใช้งานทันทีและ SLA ของระบบไอที เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆสำหรับธุรกิจ จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะตัดสินใจเลือกโซลูชั่นเพื่อสนับสนุนเหตุผลดังกล่าว แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณคืออะไร? ในบทความนี้เราได้เปรียบเทียบโซลูชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสองวิธี ซึ่งก็คือ On-premise Data Center และแบบ Colocation Data Center
On-premise Data Center เป็นของเราเอง บริหารจัดการเอง
ต้องยอมรับว่าในอดีตระบบเซิร์ฟเวอร์แบบ On-premise Data Center นั้นได้รับความนิยมมาก ด้วยเหตุผลที่องค์กรสามารถที่จะบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองโดยจะเหมาะกับธุระกิจขนาดเล็กที่ยังยอมรับ downtime ที่เกิดขึ้นได้
ซึ่งข้อได้เปรียบของ On-premise Data Center จะช่วยให้องค์กรต่างๆสามารถควบคุมข้อมูล และผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ โดยสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือข้อมูลลูกค้าที่ละเอียดอ่อนซึ่งต้องได้รับการจัดการตามกฎระเบียบของบริษัท
แต่การสร้าง On-premise Data Center ในปัจจุบันกำลังมีต้นทุนรวมที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเพื่อให้สามารถครอบคลุมเงื่อนไข กฎระเบียบข้อบังคับการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น
- ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Center และ Facility ซึ่งปัจจุบันกำลังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อย่างมาก
- ต้องมีพื้นที่ และโครงสร้างที่เหมาะสม
- ต้องมีเครื่องสำรองไฟ รวมถึงแผนสำรองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- ต้องลงทุนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายเอง
- ต้องมีระบบควบคุมความเย็นที่เหมาะสม
- ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการในการเข้าถึงอุปกรณ์
- ต้องรับความเสี่ยงที่เซิฟเวอร์จะหยุดทำงาน สำหรับ Data Center ที่มี SLA ต่ำ
- จะต้องมีการจัดทำมาตรฐานการรับรองสำหรับธุรกิจบริการเอง
หากบริษัทคุณเป็นธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ การลงทุนในระบบ On-premise Data Center นั้นเป็นสิ่งที่คุณอาจทำมานานแล้ว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงรักษา รวมทั้งความต้องการการใช้งานที่เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นตัวกำหนดให้คุณต้องตัดสินใจลด Cost ในส่วนนี้ออกไป เช่น การหนีไปใช้งาน Cloud หรือใช้บริการ โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ (Colocation Data Center)
Colocation ลดภาระ ลดต้นทุนที่อาจเป็นส่วนเกิน
โคโลเคชั่น หรือ โคโล เป็นศูนย์ข้อมูลที่อนุญาตให้ลูกค้าเช่า rackspace จากผู้ให้บริการ จากนั้นคุณสามารถติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์ของคุณเอง ซึ่งเราสามารถเข้าถึงเซิฟเวอร์นั้นได้อย่างอิสระเพื่อทำการตรวจสอบ บำรุงรักษาหรืออัปเดตเซิฟเวอร์ได้ตลอดเวลา
ซึ่งผู้ให้บริการ โคโลเคชั่น จะจัดการกับเรื่องระบบไฟฟ้า อุณภูมิ แบนด์วิธและความปลอดภัยในการเข้าถึงเซิฟเวอร์ ให้เราเอง หากย้อนกลับไปสักสิบปีก่อน โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก ด้วยราคาที่ค่อนข้างแพงกว่า On-premise มาก และผู้ให้บริการในสมัยนั้นยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน
และมักพบปัญหามากมาย ทั้งการบริการที่ทำไม่ได้เหมือนตอนขาย การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีข้อจำกัดไม่ได้ตามความจริง และอีกหลาย ๆ ปัญหาที่ทำธุรกิจในยุคนั้นตัดสินใจทำระบบเซิฟเวอร์ของตนเอง
แต่ด้วยการแข่งขันของผู้ให้บริการ โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน รวมไปความต้องการโครงสร้างไอทีที่มีความซับซ้อนขึ้น รูปแบบของ โคโลเคชั่น จึงต้องใช้ความชำนาญ และประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญมากขึ้น ทำให้องค์กรธุรกิจเริ่มมองหา โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์
ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจที่มีความสำคัญกว่าเดิมมากขึ้น โดยการวิจัยของการ์ทเนอร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าการใช้จ่ายด้านบริการ โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ ทั่วโลกจะสูงถึง 74.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563
ข้อดีของ โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ คือไม่ต้องทำอะไรที่ On-premise Data Center ต้องทำ ไม่ต้องหาพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์เอง ไม่ต้องมี UPS ของตัวเอง ไม่ต้องทำระบบความเย็นเอง ไม่ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเอง และการันตีการให้บริการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (SLA 100%)
ทั้งนี้ การจะย้ายระบบทั้งหมดไปอยู่ใน โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ พร้อมกันทั้งหมดก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางองค์กรยังจำเป็นต้องมี On-premise Data Center สำหรับใช้งานร่วมกับบางระบบ ควบคู่กับการใช้งาน Colocation สำหรับงานที่ไม่ต้องการความผิดพลาด
หรือการความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบหยุดทำงาน หลายองค์กรเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดังกล่าว หรือที่เรียกว่า Hybrid ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า เมื่อองค์กรดำเนินธุรกิจมาถึงจุดหนึ่ง ผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกว่าจะใช้งานเซิร์ฟเวอร์ในลักษณะใด เพราะธุรกิจที่เติบโตขึ้น ความต้องการใช้งานด้านไอทีก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดทิศทาง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ฉะนั้นแล้ว หากจะต้องลงทุนทำระบบ เดต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ใหม่เรื่อยๆ อาจลองเปลี่ยนมาใช้ในลักษณะ โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ ดูบ้าง เพราะอาจจะช่วยลดทุนการดำเนินงานในระยะยาวได้อย่างไม่น่าเชื่อ
Nextcenter The Global Data Center Service
ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ โคโลเคชั่น ค่อนข้างมาก ทั้งรายเล็กที่ให้บริการกับบุคคลทั่วไป และรายใหญ่ที่ตอบโจทย์การใช้งานในธุรกิจ โดยหนึ่งในผู้บริหาร โคโลเคชั่น เดต้า เซ็นเตอร์ รายใหญ่ในประเทศไทย คือ Nexcenter ของ NTT ซึ่งภายใต้แบรนด์ Nexcenter นี้ในไทยมีด้วยกัน 2 แห่ง ได้แก่ Bangkok 1 Data Center
ที่อยู่ในบริเวณกรุงเทพมหานคร และ Bangkok 2 Data Center ซึ่งเป็น Data Center แห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ห่างจากกรุงเทพมหานครออกไป 70 กิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีการชุมนุมทางการเมืองหรือเกิดเหตุอุทกภัยมาก่อน รวมถึงยังไม่อยู่ในแนวพื้นที่อันตรายจากเหตุแผ่นดินไหว
หากเทียบกับบรรดา Data Center อื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย Nexcenter นั้นอยู่ในระดับของ Premium Data Center เพราะสามารถนำเสนอเทคโนโลยีและการออกแบบที่เหนือชั้นที่สุดให้กับเหล่าลูกค้าองค์กร ไม่ว่าจะเป็น SLA Power ที่ระดับ 100% พร้อมระบบ Fully Redundant
นอกจากนี้ Nexcenter ยังเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการหลากหลายได้อย่างอิสระ (Carrier neutral) รวมถึงยังเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ NTT ออกไปยังต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้สามารถตอบโจทย์ของเหล่าธุรกิจองค์กรที่มีการใช้งานบริการ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ธุรกิจข้ามชาติที่มีสาขากระจายอยู่หลายประเทศได้เป็นอย่างดี
ส่วนมาตรฐานต่างๆ ที่ Nexcenter ได้รับนั้นก็ได้แก่ ISO27001:2013 มาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล, Payment Card Industry Data Security Standard หรือ PCI DSS มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสำหรับธุรกิจที่ต้องจัดการกับข้อมูลบัตรเครดิต, ISAE 3402 Type 2 Report
รายงานเพื่อรับรองถึงการควบคุมการให้บริการภายในองค์กร และล่าสุดนั้นได้รับ ISO50001:2011 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการบริหารจัดการพลังงานอย่างคุ้มค่า
และนอกจากจะเป็นผู้ให้บริการ โคโลเคชั่น แล้ว NTT ยังเป็นผู้ให้บริการ Data Center Outsource ที่รับออกแบบ Data Center ภายในองค์กร สำหรับลูกค้าที่จำเป็นต้องทำ On-premise Data Center เพียงแค่ลูกค้าระบุความต้องการมา
โดย NTT สามารถให้บริการได้ตามความต้องการที่หลากหลาย และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในส่วนของ Bangkok 2 Data Center ของ NTT ได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติมกว่า 500 ล้านบาท เพื่อเปิดโครงการในเฟส 3 ภายใต้แนวคิด High Density Data Center
โดยในเฟส 3 นี้จะมีพื้นที่ 1,200 ตารางเมตร และกำลังไฟฟ้าที่สูงถึง 4,000 กิโลวัตต์ เพื่อรองรับ อุปกรณ์แบบใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องใช้พลังงานสูง พร้อมการบริหารจัดการระบบทำความเย็นแบบใหม่อย่าง Hot Aisle Containment เพื่อใช้เป็นทางไหลกลับของลมร้อนและป้องกันไม่ให้ลมร้อนรั่วออกไปผสมกับลมเย็นหน้าตู้ rack
ทั้งนี้ เฟส 3 ของ Bangkok 2 Data Center นี้เริ่มเปิดให้เหล่าธุรกิจองค์กรที่สนใจได้เข้าไปจับจองพื้นที่สำหรับใช้งานกันแล้ว และมีแผนที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี 2019 นี้ สำหรับผู้ที่สนใจในบริการ Nexcenter สามารถติดต่อทีมงาน NTT เพื่อขอคำปรึกษาได้ทันทีที่ nttct-marketing-gl@ap.ntt.com
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: พิพัฒน์ เพิ่มผัน (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่