Thailand Open Hackathon 2018 by dtac

นิสิต KMUTT โชว์สกิลถอดรหัส คว้าแชมป์!! จากเวที Thailand Open Hackathon 2018 by dtac โดยสามารถถอดรหัสข้อมูล (Data) จากโจทย์สุดหิน และเอาชนะคู่แข่งอีก 21 ทีม ไปได้อย่างสวยงาม…

Thailand Open Hackathon 2018 by dtac

จบลงแล้วอย่างสวยงามสำหรับเวทีการแข่งขัน Thailand Open Hackathon 2018 by dtac ที่ได้ร่วมกับ บริษัท เออารไอพี จำกัด. (มหาชน) ผู้จัดแสดงงานไอทีชั้นนำของประเทศผ่านงาน Commart Work 2018 และพันธิมตรบริษัทฯ ด้านไอทีชั้นนำของประเทศ 

อาทิ บริษัท แมคโคร ซิสเท็ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เนสโก จำกัด และ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ (NCB) โดยมีนิสิตนักศึกษาจาก 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สมัครเข้าร่วมแข่งขันกันมากถึง 22 ทีม 

Thailand Open Hackathon 2018 by dtac

ยุคของการวิเคราะห์ ที่ต้องใช้คนรุ่นใหม่

ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ Vice President Head Customer Inside บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า เรื่องของ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ถือเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นทุกวัน เพราะเราได้ก้าวจากยุคของการประดิษฐ์

ไปสูยุคของการใช้ข้อมูลแล้ว และหากพิจารณาถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ที่เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) จากทุกสิ่งที่สามารถเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตได้

และกลายเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ทุกธุรกิจในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ประสบปัญหา และต้องดิ้นร้นเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็วมากที่สุด และต้องสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งจากภายใน และภายนอก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Thailand Open Hackathon 2018 by dtac
ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ Vice President Head Customer Inside บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

เพื่อให้สามารถที่จะปรับเปลี่ยนกลยทธ์ได้ทันต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ดี การจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้ คือ “พลัง” ของบุคลากร ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการ “ถอดรหัส” ข้อมูล ที่อยู่ในรูปแบบของ “ดิจิทัล ฟอร์แมต” (Digital Format)

มาเป็นตัวเลขพฤติกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่ง ดีแทค ในฐานะ ที่เป็นผู้ให้บริการทางโทรคมนาคม ที่ต้องการส่งมอบคุณภาพในการบริการที่ีสุดให้แก่ลูกค้า ก็มีแนวคิดในการให้ความสำคัญในการสนับสนุน คนรุ่นใหม่ ที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่กำลังก้าวสู่การใช้ข้อมูล

เราไม่ได้อยู่ในยุคของการสร้างคอมพิวเตอร์ แต่เราอยู่ในยุคของการใช้ข้อมูล

ได้มีเวทีในการแสดงขีดความสามารถ เราจึงได้ร่วมสนับสนุนในการจัดแข่งขัน “ไทยแลนด์ โอเฟ่น แฮกกาธอน 2018” ที่ทาง บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด. (มหาชน) ได้จัดขึ้นภายในงาน CommartWork 2018 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

โดยเวทีนี้มีเป้าหมายในการจัดขึ้นเพื่อเป็นการผิดแก้โจทย์การเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) มีการเก็บคะแนนในหลายด้านตลอดการแข่งขัน เพื่อค้นหานักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีทักษะดีที่สุดและทำงานได้รวดเร็วที่สุด

ซึ่งภายในปีนี้มีน้อง ๆ เยาวชน จากสถาบันการศึกษาชั้นนำ สมัครกันมาหลายทีม ซึ่งทางทีมผู้จัดงานได้ตัดเลือกจนเหลือเพียง 22 ทีม และผ่านการแข่งขันที่เข้มข้นตลอดทั้งวัน จนได้ผู้ชนะในท้ายที่สุด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คนยุคใหม่สามารถเข้าใจ

และถอดรหัส ตัวเลขออกมาเป็นข้อมูลทีีแท้จริง ที่ชี้ว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าคืออะไร ซึ่งน้อง ๆ ที่เข้ามาร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ถือเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ และสนใจในเรื่องการถอดรหัส ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ตลาดต้องการอย่างมาก

Thailand Open Hackathon 2018 by dtac

เนื่องจากในการถอดรหัสข้อมูลนั้น ถือเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และใช้ความเข้าใจใน อัลกอริทึม (Algorithm) ของข้อมูลทางดิิจทัลเป็นอย่างมาก โดยต้องสามารถแก้ปัญหา และสามารถอธิบายออกมาได้ชัดเจน

ว่าจะนำข้อมูลส่วนใดมาใช้ และต้องใช้คำสั่ง หรือใช้โค้ดคำสั่ง อย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา แต่น้อง ๆ สามารถถอดรหัสจากข้อมูลจริงของพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าของดีแทค มาตั้งโจทย์ ซึ่งยาก และหินมาก อีกทั้งยังอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด

Thailand Open Hackathon 2018 by dtac
คุณเอื้อมพร ปัญญาใส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เออาร์ไอพี (ARIP) และ ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ Vice President Head Customer Inside บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมแสดงความยินดี และมอบรางวัลให้แก่ทีมผู้ชนะการแข่งขัน

แต่ถึงจะดูว่ายาก แต่ น้อง ๆ นิสิตที่เข้าแข่งขันก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ และหาคำตอบออกมาได้ ซึ่งหลัวจากสิ้นสุดเวลาในการแข่งขันเราก็ได้ทีมชนะเลิศ ซึ่งเป็นนิสิตนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นเพียงนักศึกษาที่กำลังในชั้นปีที่ 2 เท่านั้น

การมีเวทีให้คนรุ่นใหม่ได้แข่งขัน ถือเป็นเรื่องที่ช่วยสร้างทักษะที่จำเป็นในงานวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น

ซึ่งแม้ว่าวันนี้น้องส่วนใหญ่ที่เข้ามาแข่งขัน จะยังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 – 3 แต่ทางดีแทคเห็นว่ากลุ่มคนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะสนับสนุน โดยหากในอนาคต น้อง ๆ เหล่านี้ สนใจที่จะเข้าทำงานใน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ดีแทค เราก็ยินดี ตอนรับ

Thailand Open Hackathon 2018 by dtac

ด้าน พรชัย จันทรศุภแสง ผู้อำนวยการธุรกิจสื่อไอทีและดิจิทัล บมจ.เออาร์ไอพี กล่าวว่า 
สำหรับการจัดงาน ไทยแลนด์ โอเฟ่น แฮกกาธอน ในปีนี้ทาง arip ได้ ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SIIT) จัดขึ้นเป็นปีที่ 2

ในวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้อง Meeting Room 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากน้องๆ นักศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเราถือว่ากิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ได้แสดงความสามารถ

และในปีหน้าเราก็ยังคงเดินหน้าจัดโครงการนี้ต่อไป เพราะเราเชื่อว่า หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของการสร้างอนาคตคือการสนับสนุน ให้ คนรุ่นใหม่ มีเวที ที่จะสามารถแสดงศักยภาพได้ ซึ่งเราพร้อมพันธมิตร ยินดี ที่จัดกิจกรรมดี ๆ สนับสนุน ให้มีกิจกรรมดี ๆ เช่นนีี้ ต่อไป 

ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะเลิศ คือ ทีม “อะไรครับเนี่ย อ่านไม่ออก” จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งได้รับทุนการศึกษาจำนวน 50,000 บาท พร้อมด้วยโน้ตบุ๊กจำนวน 1 เครื่อง และทีมรองชนะเลิศ คือ ทีม “Please Work” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลโน้ตบุ๊กจำนวน 1 เครื่อง

รวมถึงของรางวัลอื่น ๆ จากผู้สนับสนุนอีกมากมาย โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันทุกคนได้รับประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต 

Photo Gallery

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ศุภวาท (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่