ภายหลังการขายหุ้นของกลุ่มราคูเท็น เมื่อช่วงต้นปี 2016 ด้วยเหตุผลของการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ จาก Shopping เป็น C2C Platform ส่งผลให้ Tarad.com กลับมาอยู่ในการบริหารงานของ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจต่อยอดเพื่อสร้างให้เกิด Efrastructure Group สำหรับผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

หน้า Knowlede update อยากได้แบนเนอร์ที่มีนักเขียนทั้งหมดของเรา ภายใต้ทิศทางดังกล่าว ป้อม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เปิดเผยกับ ELEADER ถึงการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วของธุรกิจ eCommerce และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและผู้ประกอบการเมื่อต้องก้าวสู่ดิจิทัล

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กูรูด้านอีคอมเมิร์ซผู้และผู้ก่อตั้ง Tarad.com กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงของอินเทอร์เน็ตกำลังมีบทบาทอย่างมากกับภาคธุรกิจ การกระจายตัวอย่างรวดเร็วของสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับอินฟราสตรัคเจอร์ ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง

บางธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว เช่น ธุรกิจสื่อได้รับผลกระทบแล้ว สื่อที่ปรับตัวไม่ทันต้องปิดตัวลงไป ขณะที่สื่อส่วนใหญ่กำลังดิ้นรนหาทางออกจากวังวนดิจิทัลเพื่อสร้าง S Curve ใหม่ให้กับธุรกิจ ขณะที่อีกหลายธุรกิจกำลังได้รับผลกระทบตามมา เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยกไปอยู่บนออนไลน์แทบทั้งหมด หรือภาคการเงินที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล รูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิมกำลังถูกท้าทายจากธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และเอาต์ซอร์สงานที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป ทำให้องค์กรมีขนาดเล็ก คล่องตัว พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงดิจิทัล เช่น ระบบบัญชีและการเงิน ปัจจุบันสามารถทำงานได้ผ่านคลาวด์ มีซอฟต์แวร์ช่วยบริหารงานบุคคล และงานแบ็กออฟฟิศ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีดั้งเดิมจึงต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน

คิดอย่างไรจึงจะอยู่รอด

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะอยู่รอดได้จำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง

ขั้นตอนแรก ผู้บริหารต้องเปิดรับเทคโนโลยีมาใช้ภายในองค์กร โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล และหัวหน้างานที่ต้องเริ่มใช้เทคโนโลยีก่อน เพื่อให้เข้าใจ เห็นถึงประโยชน์ และสามารถนำมาจัดการกับธุรกิจได้

ขั้นตอนที่ 2 นำเทคโนโลยีที่ง่าย ๆ มาใช้ในองค์กร เช่น การพูดคุยผ่าน Group LINE หรือแชร์ข้อมูลผ่าน Cloud หรือการพูดคุยผ่านรูปแบบวิดีโอ

ขั้นตอนที่ 3 ผู้ประกอบการเริ่มปรับกระบวนการทำงานแบบเดิม โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย เช่น ใช้งาน Google Doc ในการทำงานเอกสารบนคลาวด์ได้จากทุกที่ผ่านสมาร์ตโฟนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทั้งหมด และผลักดันให้ทีมงานใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 4 ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานหลายอย่างของผู้ประกอบการเป็นดิจิทัล รวมถึงผลักดันพาร์ตเนอร์ให้ใช้งานดิจิทัลด้วย เพราะหลายอย่างจะต้องมีการเชื่อมต่อกับพาร์ตเนอร์ การผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้ทุกคนก้าวสู่ดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

การปรับตัวสู่ดิจิทัลใน 4 ขั้นตอนจะทำให้ผู้ประกอบการก้าวสู่ดิจิทัลได้อย่างแท้จริง และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก Digital Disruption

อย่างไรก็ตาม ในยุคดิจิทัลนี้ ผู้ประกอบการยังจำเป็นจะต้องเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป วันนี้ผู้บริโภคย้ายตัวเองไปอยู่บนออนไลน์ ชอบที่ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียและออนไลน์ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งกระบวนการชำระเงิน และกระบวนการจัดส่งสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง

สร้าง Efrastructure สนับสนุนผู้ประกอบการ

ความเปลี่ยนแปลงของดิจิทัลมีผลกระทบโดยตรง และผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งในมุมของผู้ให้บริการ eCommerce นั้น ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและพยายามปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ

ภาวุธกล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา ตลาดอีคอมเมิร์ซมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มีทั้งโนว์ฮาวและเงินทุน ซึ่งได้เปรียบผู้ประกอบการของไทยค่อนข้างมาก แต่ผู้ประกอบการไทยเองก็มีความได้เปรียบในการเข้าถึงกลุ่มผู้ประกอบการ การสื่อสาร และความไว้วางใจ เรียกว่า eCommerce ไทยยังมีโอกาสอยู่มาก แต่นั่นหมายถึง ผู้ให้บริการ eCommerce ต้องปรับตัว และนำเสนอบริการให้กับผู้ประกอบการได้ตรงกับความต้องการ

ที่ผ่านมาในมุมของ Tarad.com ได้พัฒนาไปสู่การเป็น Facilitator ให้กับผู้ประกอบการ โดยเรานำเสนอบริการทุกอย่างที่ผู้ประกอบการต้องการเพื่อสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น

 

ภาวุธเล่าว่า แต่เดิมผู้ประกอบการของไทยมีความต้องการเพียงแค่ขายสินค้าบนออนไลน์ได้ ขณะที่ยอดขายผ่านออนไลน์เมื่อเทียบกับช่องทางดั้งเดิมยังไม่มาก ผู้ประกอบการจึงให้บริการออนไลน์ในแบบแมนนวล แต่ปัจจุบันภาพรววมของธุรกิจเปลี่ยนไปมาก ยอดขายผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก

ผู้ประกอบการเริ่มมีปัญหาในการจัดการระบบการค้าบนออนไลน์ และต้องการผู้ช่วยมาตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ ผู้ให้บริการ eCommerce จึงพัฒนาบริการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องการเปิดร้านค้าออนไลน์ การทำการตลาดออนไลน์ การจัดการคำสั่งซื้อขาย จัดการสต็อก ตลอดจนถึง การจัดการเรื่องการเงิน และการจัดส่งสินค้า

ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากต้องการผู้ให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้อย่างครบวงจร โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่เพียงจัดหาสินค้า และทำการตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเท่านั้น

ความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ Tarad.com ปรับตัวเข้าสู่ Efrastructure Group เพื่อให้มีความพร้อมในการบริการลูกค้าอย่างครบวงจร โดยให้บริการตั้งแต่  , eMarketplace, eMarketing, ePayment, eLogistic และ eKnowledge

ภายใต้การพัฒนาธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว Efrastructure Group จะตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างครบวงจรแบบ One Stop Services โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่

ภาวุธเล่าว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของอีคอมเมิร์ซในอาเซียน อย่างไรก็ตาม Tarad.com ยังมีแผนขยายธุรกิจไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เมียนมา ซึ่งจะเริ่มต้นในปลายปีนี้

Tarad.com เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซของไทยที่มีการปรับตัวอย่างน่าสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการของไทย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับต่างประเทศได้