รมช. กระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตาม “ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด” (Mini ICT) ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ หวังช่วยหนุนผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ก้าวสู่ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 ตั้งแต่การแปร่รูป ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

รมช.กระทรวงอุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ (จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย) เพื่อให้ความช่วยเหลือ บ่มเพาะ และต่อยอดธุรกิจ SMEs

ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ผลิตระดับชุมชนและผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับนวัตกรรม การแปรรูป การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์

Mini ICT ศูนย์เพื่อการพัฒนา SMEs สู่การใช้นวัตกรรม

Mini ICT

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในจังหวัดภาคเหนือ เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับกลุ่มต่าง ๆ เข้าหากัน โดยเราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเครื่องมือ ทั้งในรูปแบบของเครื่องจักร และเทคโนโลี

รวมไปถึงการสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณผ่านกองทุนต่าง ๆ ซึ่งการการรวมกันเป็นกลุ่มของผู้ประกอบการ จะทำให้ภาครัฐสามารถช่วยสนันสนุนได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการช่วยส่งเสริมตลาดรวมของผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการผลิตจนล้นความต้องการของตลาด

ในอนาคตทางกระทรวงจะเดินหน้าผสานความร่วมมือกับ หน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ไปรษณีย์ไทย (Thailand Post) เพื่อสร้างกระบวนการในการขนส่งที่มีศักยภาพ ร่วมไปถึงการร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Ministry of Commerce)เพื่อสร้างกระบวนการในการที่เป็นประโยชน์แก่ SMEs

ทั้งในส่วนของ การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การเก็บภาษี และสนันสนุนให้เกิดการส่งออก และร่วมไปถึงการสานความร่วมมือกับสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาแปร่รูปผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายได้สะดวกมากขึ้น

เปลี่ยน Data ให้เป้นประโยชน์

ด้าน เกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 กล่าวว่า ปัจจุบันขนาดของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทางภาคเหนือตอนบน (เชียงราย, พะเยา, แพร่ และน่าน) คิดเป็น 6% ของ GRP (ประมาณ 11,582 ล้านบาท)

ขณะผลิตภัณฑ์รวม (GDP) อยู่ที่ 192,111 ล้านบาท โดยมีความโดดเด่นในด้านของเกษตรแปรรูป และอาหาร และมีสถานประกอบการแล้วกว่า 2,785 แห่ง แต่เพื่อให้สามารถผุ้ประกอบการในภาคเหนือสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น เราจำเป้นต้องยกระดับ กระบวนการผลิต

Mini ICT

และสร้างเครือข่ายอย่างบรูณาการ ซึ่งอาจจะเป็นการสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อพัฒนา และยกระดับระดับมาตรฐาน ให้ก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเราคาดว่าจำเป็นต้องพัฒนาให้เกษตรกรให้สามารถเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยี

และพัฒนาระบบฐานข้อมูลในแบบบรูณาการ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทั้งกระบวนการด้วยข้อมูล (Food Supply Chain Big Data) และก้าวสู่การพัฒนาเครือข่ายได้ยั่งยืน และทำให้เชื่อมโยงในสู่การรูปแบบการตลาดรูปแบบออนไลน์

ซึ่งทั้งหมดอาจจำเป็นต้องใช้เวลา 3ปี และใช้งบประมาณกว่า 750 ล้านบาท ซึ่งต้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาดู และร่วมกันพัฒนาร่วมกัน ซึ่งไม่ได้หมายถึงว่าเราต้องทำทีเดียว แต่เป็นโครงการที่จำเป็นต้องค่อย ๆ พัฒนา แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

Mini ICT

ขณะที สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการบริการ
ด้านนวัตกรรม การแปรรูป การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

และยกระดับการบริการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสู่การเป็น “ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด” เพื่อให้ความช่วยเหลือ บ่มเพาะ และต่อยอดธุรกิจ SMEs ไทย สู่ยุค 4.0 ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ผลิตระบบชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs

เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในด้านรูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสินค้าอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

โดยทางกระทรวงอุตฯ มีเป้าหมายในการเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (ITC) ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถช่วยผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) สามารถเชื่อมโยงเข้ากัน และใช้องค์ความรู้ทางวิชาการ นวัตกรรม ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่าง

ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุททั้งจาก ทั้งจากศูนย์ ITC ส่วนกลาง 1 แห่ง, ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค 12 แห่ง และศูนย์ Mini ITC 64 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้บริการศูนย์ Mini ITC อย่างเป็นทางการแล้ว

Mini ICT

ซึ่งการทำงานของศูนย์ Mini ITC จะเน้น การให้บริการเบื้องต้น (FRONT DESK) รับความต้องการจากผู้ประกอบการให้บริการด้านการออกแบบชิ้นงาน โดยมีการให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่

  • ITC Match เป็นศูนย์กลางการจับคู่ธุรกิจ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ
  • ITC Innovation บริการสาธิต อบรม บ่มเพาะ เพื่อให้เกิดนวัตกรรม เปิดมุมมองการปรับเปลี่ยนธุรกิจ
  • ITC Share รวมบริการเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม
  • ITC Fund บริการปรึกษาแนะนำสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจ พร้อมทั้งเชื่อมโยงส่งต่อความต้องการไปยังศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค (FRONT OFFICE) ที่ตั้งอยู่ในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม และศูนย์ ITC ส่วนกลาง (HEAD OFFICE)  

ปัจจุบัน ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด ได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อรองรับการบริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมการผลิตการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและการใช้บริการในศูนย์ ITC ระดับจังหวัด และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์

และการดำเนินธุรกิจในเบื้องต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561
มีผู้ประกอบการได้รับการบริการทั่วประเทศแล้ว 27,619 ราย

ส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการขอศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม ประมาณ 11,121 ราย การบริการในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ 465 ราย การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 240 ราย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 208 ราย การให้บริการเครื่องจักรกลาง 275 ราย

และการแปรรูปการเกษตรและอาหาร 174 ราย และรอรับบริการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และออกแบบผลิตภัณฑ์ 111 ราย ในส่วนการให้บริการ ณ ศูนย์ Mini ITC มีจำนวน 11,730 ราย

เพื่อสร้างการเติบโตที่เข้มแข็งต้องพัฒนาตั้งแต่เริ่ม

Mini ICT

การดำเนินการสร้างศูนย์ย่อยนี้ ก็เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ด้วยการสานความร่วมมือ ทั้ง หน่วยงานรัฐที่วันนี้เราได้ร่วมกับทาง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (Mdes), กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Most)

ในการใช้ทั้งเทคโนโลยีการสื่อสาร และงานวิจัยต่าง ๆ มาช่วยพัฒนาสินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งร่วมไปถึงเอกชน และสถาบันการศึกษา ทั่วประเทศ ทั้งหมดเพิ่อพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่กระบวนการพัฒนา Supply Chain เพื่อไม่ให้ SMEs เกิดการผลิตโอเว่อร์เกินความต้องการของตลาด

โดยผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้อง ลงทุนเงินจำนวนมาก แต่สามารถขอรับความช่วยเหลือในกระบวนการเค้าติดขัด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ หรือการทำตลาด แต่ต้องชี้ได้ว่าความต้องการคืออะไร ตลาดที่จะทำผลิตภัณฑ์ คือตลาดไหน

และด้วยการที่เรามีศูนย์ทั่วประเทศ และศูนย์ประจำภูมิภาค ทำให้สามารถใช้องค์ความรู้ได้หลากหลาย
การนำเอาเทคโนโลยีมาให้ใช้ โดยเราจะให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งในส่วนของการเงิน การตลาด การบริหารจัดการ

และการส่งเสริมให้สามารถใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล ดำเนินธุรกิจ และการทำตลาดแบบออนไลน์ แต่ในเบื้องตันจะเป็นการเข้าไปสอนวิธีการใช้โปรแกรมพื้นฐาน และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ก่อน เพราะยังเป็นส่วนที่ยังต้องพัฒนาอยู่อีกมาย หลาย ๆ อยาง

วันนี้ แม้ว่ามีผลิตภัณฑ์ดี แต่ยังขาดบรรจุภัณฑ์ที่ดี ในการนำไปใช้สร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการขยายตลาดเราก็จัดอบรมในเชิงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าไปช่วยในเพิ่มช่องทางในการสื่อสาร การสร้างศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับจังหวัด

ไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย แต่ยังเป็นการลดภาระในการเดินทางเพื่อพัฒนาผลิตภัฑ์ เพราะสามารถเชื่อมโยงหากันด้วยเทคโนโลยี ได้จากทุกที่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาของตัวผู้ประกอบ ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี 
  หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่