ในอีกไม่นาน เทคโนโลยี IoT จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะจะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการปลูกพืชและช่วยผลผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ELEADER ได้มีโอกาศสัมภาษณ์ คุณอโณทัย เวทยากร รองประธาน เดลล์ อีเอ็มซี ภาคพื้นอินโดจีน และ คุณไพโรจน์ เกียรติศิริขจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ถึงแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรของไทย
เชื่อว่าทุกคนเคยทำการเกษตรครับ จะแปลงเล็กหรือใหญ่ หรือจะเป็นแค่กระถางผักสวนครัวนั่นก็คือเกษตรกรรมเหมือนกัน โดยเราอาศัยองค์ความรู้ทีมีทำให้มันออกดออกผล หลายคนต้องทดลอง ลองเชื่อคนอื่น หรือศีกษาจากเว็บไซต์เพื่อที่จะเอามาปรับปรุงให้ผลผลิตออกมานั้นน่าพอใจ
แต่แค่องค์ความรู้จากอดีตไม่สามารถทำให้เกษตรกรเติบโตได้ในปัจจุบัน ด้วยสภาพทางอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อากาศที่ร้อนมากขึ้น หรือโรคและแมลงที่วิวัฒนการตัวเองให้ทนต่อสภาพแวดที่ทรหด ทำให้เราต้องหาตัวอื่น ๆ มาเสริม
หนึ่งในนั้นคือการใช้เทคโนโลนีเข้ามาช่วย โดยความร่วมมือกันระหว่าง Dell EMC และผู้ลิตเมล็ดพันธุ์รายใหญ่อย่างเจียไต๋ ได้เตรียมวิจัยทำแปลงผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีเต็มรูปแบบ โดยจะใช้สูตรการปลูกจากทางเจียไต๋และใช้เทคโนโลยีด้าน IoT จากทาง DellEMC ซึ่งจะทำให้การทำเกษตรนั้นง่ายมากขึ้น
โดยแปลงสาธิตจะประกอบด้วยอุปกรณ์ 4 ส่วน ส่วนแรกคือ Censor ใช้ในการจับสัญญาณต่าง ๆ เช่นสภาพอากาศ ความชื้น แสงสว่าง ความร้อน อุณหภูมิ และส่งต่อมาที่ Gateway คือส่วนที่สอง ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลจาก Censor รวมรวมเสร็จก็ส่งไปที่ Cloud เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อรอการ Process และจากนั้นจึงใช้ Big Data ในการประมวลข้อมูลและส่งกลับไปให้เกษตรกรพร้อมกับคำแนะนำในการดำเนินงาน
“ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้ความชื้นน้อย เราต้องเพิ่มปริมาณน้ำ หรือ วันนี้หรือพรุ่งนี้ฝนจะตก ฉะนั้นไม่ต้องรดน้ำพืช” เป็นต้น
ซึ่งแปลงดังกล่าวมีแผนจะทดลองที่จังหวัดกาญจนบุรี มีชื่อว่า “Green House” โดยจะเป็นศูนย์สำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร โดย DellEMC จะเป็นผู้ถ่ายทอดทางด้านเทคโนโลยี รูปแบบการนำ IoT มาใช้ประโยชน์ และเจียไต๋จะให้ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ โดยถ้าแล้วเสร็จจะเชิญเกษตรมาเรียนรู้และหวังว่าเขาจะสามารถกลับไปพัฒนาต่อยอดได้ในพื้นที่ของตนเอง
คุณอโณทัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญที่ของการเรียนรู้นี้คือคำว่า “เปิดรับ” ซึ่งต้องยอมรับว่าเรายังประสบปัญหาที่เกษตรกรยังไม่เปิดรับในเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยยังใช้องค์ความรู้ที่ถูกส่งผ่านเจนเรชั่นต่าง ๆ มาทำการเกษตร แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การเปิดรับ จะเป็นการเปิดโลกทัศน์ที่จะได้วิธีการใหม่ๆ ไปปรับใช้ให้ดีกว่าเดิมได้
คำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย คือ มันแพงไหม แน่นอนว่าเราลงทุน เราก็ต้องการผลตอบรับที่เห็นชัดเจนจริง ๆ ซึ่งมันอาจจะไม่แพงถ้าหากจะมองถึงผลผลิตประโยชน์ที่ได้ในระยะยาวครับ โดยปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ และเราก็สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมได้
อนึ่ง เกษตรกรสามารถรวมตัวเป็นกลุ่มแล้วลงทุนในลักษณะของ Sharing Ecosystem ได้ ซึ่งจะประหยัดต้นทุนโดยรวมไปได้เยอะมาก และทำให้ขนาดของพื้นที่นั้นยืดหยุ่นได้อีก
ขอเล่าไว้แค่นี้ก่อนครับ เมื่อถ้ามีการอัพเดทเพิ่มเติมแล้วจะเอาเล่าสู่กันฟังต่อ ซึ่งเทคโนโลยีด้านการเกษตรเป็นเรื่องน่าติดตามอย่างมากของบ้านเรา
เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ IoT