กสทช. (NBTC) และ ITU จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการกำกับดูแลภายในภูมิ
NBTC และ ITU จัดประชุมเร่งทำความเข้าใจ Blockchain
ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการกำกับดูแลภายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ระหว่างสำนักงาน กสทช. และ ITU ภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ WTDC ประจำปี พ.ศ. 2561 (COE2018)
ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) โดยในโครงการความร่วมมือดังกล่าว ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่อง “Distributed Ledger Technologies (Blockchain) Ecosystem and Decentralization” ในระหว่างวันที่ 3 – 6 กันยายน 2561
ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า โครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และ ITU ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือของแต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน
ในยุคดิจิทัล ผลักดันให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศในการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารภายในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อีกทั้งจะเป็นกลไกสำคัญของสำนักงาน กสทช. ในการสร้างความร่วมมือในระดับสากล
เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาภายในภูมิภาค ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
พร้อมทั้งมีความสอดรับการแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยการลดต้นทุน ลดระยะเวลา เพิ่มช่องทางการค้าและก่อให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อนำสังคมไปสู่การเป็นสังคมอัจฉริยะ (Smart City) ต่อไป
นอกจากนี้ การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่อง Distributed Ledger Technologies (Blockchain) Ecosystem and Decentralization ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิด Thailand 4.0 ได้อย่างหลากหลาย
เนื่องจากเทคโนโลยี Blockchain ช่วยในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลและการปลอมแปลงข้อมูลที่ทำได้ยาก มีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ แต่ยังคงมีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบจะต้องอาศัยความ ร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่เสถียรและมีศักยภาพมากพอที่จะรองรับการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้กับงานให้สัมฤทธิ์ผล อนึ่ง สำนักงาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมจึงต้องมีส่วนร่วมในการผลักดันในเรื่องนี้ด้วยไม่มากก็น้อย
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่