Filter Bubble Effect ปรากฎการณ์ที่ทำให้เห็นข้อมูลบน Social ผิดเพี้ยนจากความจริง เหตุเพราะเราได้มอบข้อมูลให้พวกเขามากจนเกินไป
หลายคนอาจยังไม่ทราบดีว่า การใช้งานโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการใช้งาน “Search Engine” ในการสืบหาข้อมูลนั้น หลายครั้งที่เราค้นหาข้อมูลอะไรบางอย่างจากนั้นในเวลาไม่นานนักกลับมีการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ กลับมาหาเราได้อย่างตรงใจเราเหมือนว่าระบบนั้นรู้ใจเราเป็นพิเศษปรากฎการณ์นี้ เรียกว่า “Filter Bubble Effect” ที่ระบบจะแสดงผลลัพธ์การค้นหาข้อมูล เป็นไปตาม “Digital Lifestyle” ของเรา
ยกตัวอย่าง คนสองคน ค้นหาคำ ๆ เดียวกันแต่ผลลัพธ์อาจจะไม่เหมือนกัน ท่านผู้อ่าน ลองค้นคำว่า “Hotel Bangkok” จากมือถือหรือคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กัน พบว่าระบบจะแสดงผลลัพธ์เสนอโรงแรมมาให้เราเลือกไม่เหมือนกันในเวลาเดียวกัน
ปัญหาจากปรากฏการณ์ “Fitter Bubble Effect” ของโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์และโปรแกรมค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ก็คือ เราจะได้รับข้อมูลที่ต่างจากข้อมูลความเป็นจริงโดยเราจะได้รับข้อมูลที่ตรงกับใจเราเป็นส่วนใหญ่ กล่าวได้ว่าโปรแกรมดังกล่าวก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Echo ChamberEffect” คือผลลัพธ์ที่ระบบแสดงออกมามักจะเป็นไปในทางเดียวกัน เช่น เป็น Commentเชิงบวกจาก Post Social ของเรา โดยเราจะไม่ค่อยเห็น Post หรือ Comment ที่แตกต่างหรือขัดแย้งไปจากความคิดของเรา
ทำให้เราไม่สามารถที่จะรับรู้ความจริงที่อาจจะตรงกันข้ามกับผลลัพธ์ที่เราเห็นในโลกโซเชียลมีเดีย อาจกล่าวได้ว่าโซเชียลมีเดียมีผลต่อการตัดสินใจ ความเชื่อ ความคิด ความต้องการในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ มีผลกับแบรนด์ มีผลกับชื่อเสียงของบุคคลและองค์กร มีผลต่อความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการต่าง ๆ เมื่อกระแสพาไป ทำให้คนส่วนใหญ่หลงเชื่อไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้นการใช้งานโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์จึงจำเป็นต้องใช้งานอย่าง “มีสติ”และ “รู้เท่าทัน” เรียกว่าเราจำเป็นต้องมี “Digital Literacy” (ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล) ที่ดีในระดับหนึ่ง ไม่หลงในกระแสโซเชียล ซึ่งไม่ง่ายนักสำหรับคนรุ่นใหม่ที่จะรู้เท่าทันภัยมืดดังกล่าว
แม้กระทั่งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ บางครั้งยังมีความคิดตามไปกับกระแสโซเชียลอันเชี่ยวกราดเลยด้วยซ้ำไป ประโยชน์จึงไปตกอยู่ในมือผู้ให้บริการโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ และผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการโฆษณาโปรโมตสินค้าและบริการ เราจึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจในสองปรากฏการณ์ดังกล่าวเพื่อที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อความเข้าใจที่เกิดจากการรับรู้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ดังนั้นก่อนจะโพส ก่อนจะคอมเม้นท์ หรือจะใส่ข้อมูลใด ๆ ลงไปในสื่อ Social ต่าง ๆ ควรคำนึงถึง Data Privacy ของตนเอง หรือคิดให้ถี่ถ้วนและคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ถึงแม้ข้อมูลที่ได้จะแค่โพสเที่ยว โพสกิน แต่เชื่อเถอะว่ามันมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่ทางตรงก็ทางใดทางหนึ่ง
สรุปคือปัญหาด้าน “Privacy” กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังคืบคลานเข้ามาแบบเงียบ ๆ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องคอยหมั่นปรับปรุง “DigitalLiteracy” ของเราในการใช้งานโซเชียลมีเดียและสมาร์ตโฟนต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่อย่าแพร่หลายในชีวิตประจำวันให้ “รู้เท่าทัน” เพราะทคโนโลยีนั้นกำลังละเมิดความเป็นส่วนตัวของมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งในมุม“เศรษฐศาสตร์” และ ในมุม “ความมั่นคงของชาติ”
อ่านเรื่อง 6 สิ่งที่ไม่ควรโพสลง Social