IDC ชี้ 88% ของ บริษัท เหมืองแร่ทั่วโลก เริ่มที่จะตระหนักถึงภัย Cyber Security เนื่องจากเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (Operational Technology : OT) ที่ใช้ในการดำเนินงานในไซต์งานของเหมืองแร่เป็นแบบไม่แยกจากกัน…
- 88% ของบริษัทฯ ต่างๆ ที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เริ่มที่ตื่นตัวในการหาทางป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
- 78% ของอุปกรณ์ดำเนินงานที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย ทั้งแบบใช้สาย และไร้สาย ของบริษัทฯ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เริ่มมีการลงทุน และเพิ่มงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันขั้นตอนในการปฏิบัติการ (OT)
- บริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เล็งที่จะลงทุนใน Cloud และ IoT เพื่อรักษาความปลอดภัย OT โดยคิดเป็น 2 ใน 3 อันดับแรก ของเทคโนโลยีที่จะลงทุน
- 33% ของบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ก็มองว่าการเติบโตของของเทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับปรุงความปลอดภัยสำหรับ OT ด้วยเช่นกัน
- 96% ของบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ กำลังอยู่ในขั้นตอนในการบูรณาการระบบไอที และ OT ในเชิงกลยุทธ์ภายในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเติบโต และรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
- 32% ของบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ต่างยืนยันว่าองค์กรของตนเองขาดกลยุทธ์แบบองค์รวมในการรักษาความปลอดภัยด้าน IT และ OT ซึ่งถือเป็น 1 ใน 4 ของอุปสรรคสำคัญในการบรรลุความปลอดภัยในระดับที่สูงที่เกิดขึ้นในระบบ OT
IDC ชี้!! ธุรกิจยังคงเสี่ยงถูกโจมตีทางไซเบอร์สูง
จากผลสำรวจ Operational Security Challenges and Approaches in the Mining Sector ที่ไอดีซี ได้สำรวจอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมื่อช่วงต้นปี 62 ที่ผ่านมา พบว่า กว่า 88% ของบริษัทฯ ต่างๆ ที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เริ่มที่ตื่นตัวในการหาทางป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
เนื่องจากพบว่าในขั้นตอนของการใช้เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) ของธุรกิจ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นแบบเชื่อมโยงกันทำให้องค์กรมีความเสี่ยงอยางมากจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะเมื่อบริษัทฯ ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
มีการใช้เครื่องมือตรวจวัดเชื่อมต่องานภายในบริษัทฯ และไซต์ปฏิบัติการ ผ่านอุปกรณ์อัตโนมัติบนเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และควบคุมจากส่วนกลาง ซึ่งการใช้เทคโนโลยีในการจัดการกระบวนการในเชิงปฏิบัติการเป็นหนึ่งในความท้าทายของการจัดการระบบลดความเสี่ยงของทั้งองค์กร และไซต์งาน
จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ขยายวงในการโจมตีเป็นวงกว้างมากขึ้น ซึ่งพบว่า 78% ของอุปกรณ์ดำเนินงานที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย ทั้งแบบใช้สาย และไร้สาย ของบริษัทฯ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เริ่มมีการลงทุน และเพิ่มงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันขั้นตอนในการปฏิบัติการ (OT)
แต่อย่างไรก็ดีกลับพบว่า บริษัทฯ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ไม่ได้จัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้การเพิ่มมาตราฐานความปลอดภัยให้เป็นทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร และพื้นที่ไซต์งานของอุตสาหกรรมถือสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อธุรกิจสามารถ
มั่นใจว่าจะได้ผลลัพท์ในการดำเนินทางธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และสามารถบริหารจัดการด้านความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการก้าวสู่การทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอันทันสมัย
ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things : IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI), การวิเคราะห์ระดับสูง (Advanced Analytics) และอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัยในอนาคต
ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เล็งที่จะลงทุนในเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud), อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) เพื่อรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นให้แก่ขั้นตอนในการปฏิบัติการ (OT) โดยคิดเป็น 2 ใน 3 อันดับแรก ของเทคโนโลยีที่จะลงทุน
อย่างไรก็ตามในอีกแง่มุม 33% ของบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ก็มองว่าการเติบโตของของเทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับปรุงความปลอดภัยสำหรับระบบปฏิบัติการ (OT) ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการบรูณาการระบบ ต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารขององค์กรด้วย
เพื่อให้สามารถปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงาน และสร้างประสิทธิภาพการผลิต และผลตอบแทนได้ดีขึ้น จากการใช้ข้อมูลเชิงลึก
ความเข้าใจที่ดีขึ้นต้องเพิ่มระดับการรวมข้อมูล OT และ IT Data
Daniel Nimmo ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัยของ IDC Energy Insights และ WW Mining กล่าวว่า 96% ของบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ กำลังอยู่ในขั้นตอนในการบูรณาการระบบไอที และ OT ในเชิงกลยุทธ์ภายในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเติบโต และรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของระบบปฏิบัติการ
ซึ่งในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องมีวิธี ในการประสานงาน เพื่อสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วทั้งองค์กร และการดำเนินงาน ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องวางบรรทัดฐานในเชิงกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย และการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางด้าน IT และ OT
ซึ่งผลสำรวจเรา พบว่า 32% ของบริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ต่างยืนยันว่าองค์กรของตนเองขาดกลยุทธ์แบบองค์รวมในการรักษาความปลอดภัยด้าน IT และ OT ซึ่งถือเป็น 1 ใน 4 ของอุปสรรคสำคัญในการบรรลุความปลอดภัยในระดับที่สูงที่เกิดขึ้นในระบบ OT
วันนี้การจัดการความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาเทคโนโลยี แต่คือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ บริษัทฯ ต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ต้องเผชิญในการปกป้องสภาพแวดล้อมแบบองค์รวม และการจัดการความเสี่ยง
รวมไปถึงการจัดการ สร้างธรรมาภิบาลด้านความปลอดภัยด้าน IT และ OTเพื่อทำให้การจัดการความปลอดภัยเป็นไปอย่างสม่ำเสมอบนพื้นฐานที่สอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร
ที่มาข้อมูล : www.idc.com
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com, www.idc.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่